spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

CPR คือ ทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

Cardiopulmonary Resuscitation

การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอๆ รู้หรือไม่ว่าคนไทยเราเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน แต่ถ้าหากช่วงจังหวะที่เราอยู่ในสถานการณ์ที่มีคนเกิดเหตุการณ์ที่หัวใจหยุดเต้นกระทันหัน หรือการหายใจไม่ปกติ เทคนิกการปฐมพยาบาลที่เรียกว่า CPR คือ สิ่งที่จะช่วยชีวิตคนอื่นและลดสถิติดังกล่าวได้ ในบทความนี้ Jorportoday จะมาอธิบายถึง CPR ว่าคืออะไร ขั้นตอนในการทำ ความสำคัญและเหตุผลที่คุณเองควรได้รับการฝึกฝนเช่นกันครับ

CPR คือ

Cardiopulmonary Resuscitation หรือ CPR คือ เทคนิกการปฐมพยาบาลที่สามารถใช้ได้ในกรณีที่มีคนหายใจไม่ปกติหรือหัวใจหยุดเต้น จากสาเหตุต่างๆ เช่น  หัวใจวายหรือจมน้ำ เมื่อผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้นร่างกายจะไม่ได้รับเลือดใหม่ที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกาย การขาดเลือดที่มีออกซิเจนในช่วงเวลาไม่กี่นาทีอาจทำให้สมองเกิดความเสียหายได้ การทำ CPR จะช่วยทำให้เลือดที่มีออกซิเจนไหลเวียนไปยังสมองและอวัยวะส่วนอื่นๆ เพื่อรอการรักษาอย่างถูกต้องจากแพษย์ต่อไป

สำหรับคนที่ไม่เคยได้เรียนเกี่ยวกับการ CPR หรือไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรให้ถูกต้อง โปรดทราบว่าเมื่อเกิดเหตุมีคนหัวใจหยุดเต้นอยู่ตรงหน้าให้พยายามปั้มหัวใจโดยการกดหน้าอกอย่างแรงและเร็ว ถือเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เช่นกัน บางครั้งการทำ CPR ในช่วงเวลาสั้นๆ อาจหมายถึงความเป็นและความตายเลยทีเดียว

จากการรายงานสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 พบว่า

“กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคนี้ประมาณ 17.9 ล้านคน และจากสถิติข้อมูลการเสียชีวิตของคนไทย ในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่า ร้อยละ 80 เสียชีวิตด้วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อีกทั้งข้อมูลจากกรมการแพทย์ ปี 2557 พบว่า ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคหัวใจถึง 6,906 ล้านบาทต่อปี ”

คำแนะนำจาก American Heart Association :

  • สำหรับคนที่ไม่ยังเคยได้รับการฝึกฝน : หากคุณไม่ได้รับการฝึกทำ CPR หรือกังวลเกี่ยวกับการช่วยหายใจ ให้ทำการ CPR ด้วยมือเท่านั้น โดยทำการกดหน้าอกอย่างต่อเนื่อง 100 ถึง 120 ครั้งต่อนาทีจนกว่าแพทย์จะมาถึง (ส่วนนี้มีอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไปครับ) โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องพยายามช่วยหายใจ (ฝายปอด)
  • อบรมแล้วพร้อมลุย : หากคุณได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีและมั่นใจในความสามารถของคุณ ให้ตรวจดูว่ามีชีพจรและการหายใจหรือไม่ หากไม่มีชีพจรหรือการหายใจภายใน 10 วินาที ให้เริ่มกดหน้าอก เริ่ม CPR ด้วยการกดหน้าอก 30 ครั้ง ก่อนเป่าลมหายใจเพื่อช่วยชีวิตสองครั้ง
  • หากเคยฝึกหัดแต่ขึ้นสนิมไปแล้ว : หากคุณเคยได้รับการฝึก CRP มาแล้วแต่ไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเอง ให้กดหน้าอกในอัตรา 100 ถึง 120 นาทีต่อนาที (รายละเอียดอธิบายด้านล่าง) คล้ายกับคนที่ยังไม่เคยผ่านการฝึก!!

คำแนะนำดังกล่าวสามารถใช้ได้กับสถานการณ์ที่เป็นผู้ใหญ่ เด็ก และทารก ที่ต้องการทำ CPR แต่ไม่ใช่ทารกแรกเกิด (ทารกอายุไม่เกิน 4 สัปดาห์)

ก่อนการเริ่มทำ CPR ควรปฏิบัติตามแนวทาง “ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต” (Chain of Survival) เพื่อเป็นหลักการช่วยฟื้นคืนชีพแนวทางเดียวกันทั่วโลกและเป็นข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ ประกอบด้วย

  1. การประเมินผู้ป่วยว่ายังรู้สึกตัวอยู่หรือไม่ หากไม่มีสติ คลำหาชีพจรไม่พบ ควรเรียกขอความช่วยเหลือหรือเรียกบริการการแพทย์ฉุกเฉินจากหน่วยงานต่าง ๆ ทันที เช่น ศูนย์เอราวัณ (เฉพาะในพื้นที่ กทม.) โทร. 1646, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669 (ทั่วประเทศ)
  2. การกดหน้าอกอย่างถูกต้องและทันท่วงที (ทำ CPR)
  3. การทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจ (AED) ภายใน 3-5 นาที เมื่อมีข้อบ่งชี้
  4. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. การดูแลภายหลังการช่วยฟื้นคืนชีพ

สำหรับอาการของผู้บาดเจ็บที่ควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนด้วยการทำ CPR สามารถสังเกตได้ดังนี้

  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
  2. ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก
  3. หัวใจหยุดเต้น

ขั้นตอนการทำ CPR

การทำ CPR หรือการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่สำคัญ คือ A B C

  • A – Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
  • B – Breathing : การช่วยให้หายใจ
  • C – Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง

ในปี 2010 คู่มือการช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้นนั้นได้มีการจัดลำดับขั้นตอนในการช่วยชีวิตใหม่ ในปัจจุบันแทนที่จะใช้ A-B-C ซึ่งมาจากทางเดินหายใจและการหายใจแล้วค่อยกดหน้าอกนั้น American Heart Association ได้สอนให้ผู้ช่วยเหลือทำตามขั้นตอน C-A-B แทน คือกดหน้าอกก่อนแล้วค่อยช่วยทางเดินหายใจและการหายใจ

ในบทสรุปของการเปลี่ยนแปลงนี้ American Heart Association ได้อธิบายไว้ว่า

“การใช้ลำดับการช่วยชีวิตแบบ A-B-C นั้นมักทำให้การกดหน้าอกนั้นเกิดขึ้นช้าในขณะที่ผู้ช่วยเหลือต้องการเปิดทางเดินหายใจ และช่วยหายใจหรือมองหาอุปกรณ์สำหรับการช่วยหายใจ การเปลี่ยนลำดับการช่วยเหลือมาเป็น C-A-B นั้นจะทำให้มีการเริ่มกดหน้าอกได้เร็วขึ้นและการช่วยหายใจก็เกิดขึ้นช้ากว่าเล็กน้อย คือหลังจากจบการกดหน้าอกรอบแรก (การกดหน้าอก 30 ครั้งสามารถทำได้ภายในประมาณ 18 วินาที)”

ในการเริ่มทำ CPR ให้ทำตามขั้นตอน  C – A B

C – Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง

ปั๊มหัวใจช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีการไหลเวียนของเลือดในร่างกายอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้หลักในการปั๊มหัวใจ คือ ต้องกดให้กระดูกหน้าอก (Sternum) ลงไปชิดกับกระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้หัวใจที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้งสองอันถูกกดไปด้วย ทำให้มีการบีบเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย เสมือนการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งมีขั้นตอนในการปั๊มหัวใจตามนี้

1. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ บนพื้นแข็ง ถ้าพื้นอ่อนนุ่มให้สอดไม้กระดานแข็งใต้ลำตัว

2. วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางข้างที่ถนัด วาดจากขอบชายโครงล่างของผู้ป่วยขึ้นไป จนถึง ปลายกระดูกหน้าอก วัดเหนือปลายกระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้วมือ แล้วใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวางบนตำแหน่งดังกล่าว และใช้สันมือข้างที่ถนัดวางทับลงไป และเกี่ยวนิ้วมือให้นิ้วมือที่วางทับแนบชิดในร่องนิ้วมือของมือข้างล่าง (interlocked fingers) ยกปลายนิ้วขึ้นจากหน้าอก

3. ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อยน้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่ลำแขนทั้งสองและลงไปสู่กระดูกหน้าอกในแนวตั้งฉากกับลำตัวของผู้เจ็บป่วยในผู้ใหญ่และเด็กโต กดลงไปลึกประมาณ 1.5 – 2 นิ้ว ให้กดลงไปในแนวดิ่ง และอย่ากระแทก

4. ผ่อนมือที่กดขึ้นให้เต็มที่เพื่อให้ทรวงอกมีการขยายตัว และหัวใจได้รับเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน ขณะที่ผ่อนมือไม่จำเป็นต้องยกมือขึ้นสูง มือยังคงสัมผัสอยู่ที่กระดูกหน้าอก อย่ายกมือออกจากหน้าอก จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย และมีเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้มีการไหลเวียนเลือดในร่างกาย

5. การกดนวดหัวใจจะนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที ถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ได้ผล

A – Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง

การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง เพราะโดยมากผู้บาดเจ็บที่หมดสติจะมีภาวะโคนลิ้นและกล่องเสียงตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบน ดังนั้นจึงต้องเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยพิจารณาจาก

  • หากผู้ป่วยไม่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ จะใช้วิธีการแหงนหน้าและเชยคาง (Head tilt – Chin lift)
  • หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บของไขสันหลัง ให้ใช้วิธี Manual Spinal Motion Restriction โดยการวางมือสองข้างบริเวณด้านข้างของศีรษะ เพื่อป้องกันการเคลื่อนของศีรษะ
  • หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังบริเวณคอให้เปิดทางเดินหายใจด้วยวิธียกขากรรไกร (Jaw Thrust) คือ ดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปด้านบน โดยผู้ช่วยเหลือจะอยู่เหนือศีรษะของผู้ป่วย

 

B – Breathing : การช่วยให้หายใจ

การช่วยหายใจ เนื่องจากการหายใจหยุด ร่างกายจะมีออกซิเจนคงอยู่ในปอดและกระแสเลือด แต่ไม่มีสำรองไว้ใช้ดังนั้น เมื่อหยุดหายใจ จึงต้องช่วยหายใจ เป็นวิธีที่จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดผู้ป่วยได้ ซึ่งออกซิเจนที่เป่าออกไปนั้นมีออกซิเจนประมาณ 16-17 % ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในร่างกาย สามารถทำได้หลายวิธี คือ ด้วยการเป่าปาก (mouth to mouth) เป่าจมูก (mouth to nose) และวิธีการกดหลังยกแขนของโฮลเกอร์ – นิลสัน (back pressure arm lift or Holger – Nielson method) ทำได้ดังนี้

  • กรณีเป่าปาก บีบจมูกของผู้ป่วย ผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าปอดลึก ๆ ซัก 2-3 ครั้ง หายใจ เข้าเต็มที่แล้วประกบปากให้แนบสนิทกับปากของผู้ป่วย แล้วเป่าลมหายใจเข้าไปในปอดให้เต็มที่
  • กรณีเป่าจมูก ใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บในปาก หรือในเด็กเล็ก ต้องปิดปากของผู้ป่วยก่อน และเป่าลมหายใจเข้าทางจมูกแทน

ขณะที่เป่าให้เหลือบมองยอดอกของผู้รับบริการด้วยว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ การเป่าลมหายใจของผู้ช่วยเหลือผ่านทางปากหรือจมูก จะต้องทำอย่างช้าๆ ปล่อยปากหรือผู้ช่วยเหลือออกจากปากหรือจมูกของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจออก ให้ ผายปอด 2 ครั้ง ๆ ละ 1-1.5 วินาที (แต่ละครั้งได้ออกซิเจน 16 %) อัตราเร็วในการเป่า คือ 12 -15 ครั้ง / นาที ใกล้เคียงกับการหายใจปกติ

CPR คือ

4 เหตุผลที่คุณควรผ่านการฝึกและได้รับใบรับรองการทำ CPR

ในหัวข้อก่อนหน้าผมได้อธิบายถึงขั้นตอนการทำ CPR คร่าวๆ เพื่อนให้เพื่อนๆ ได้ทราบแต่อย่างไรก็ตามข้อความในบทความนี้เป็นเพียงไกด์ไลน์เท่านั้น การไปฝึกอบรมกับผู้เชี่ยวชาญจะทำให้คุณได้ทั้งความรู้ ประสบการณ์จริง

การฝึกอบรมเพื่อได้ใบรับรองการทำ CPR อาจดูเป็นเรื่องใหญ่ในการเสียเงินเสียเวลาไปเรียนโดยเพาะคนที่มีเวลาและทรัพยากรจำกัด แต่เชื่อหรือไม่ว่าเวลาในการเรียนทำ CPR ในไม่กี่ชั่วโมงนั้นคุณสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้มหาศาลและนี้คือ 4 เหตุผลที่ผมอยากแนะนำครับ

1.คุณสามารถช่วยชีวิตใครบางคนได้

เพื่อให้ทุกคนเข้าใจผลกระทบของการทำ CPR ในกรณีฉุกเฉินได้ดีขึ้น ผมขออนุญาตนำสถิติจาก American Heart Association (AHA)

  • 70% ของชาวอเมริกันรู้สึกหมดหวังไร้สิ้นหนทางที่จะตอบสนองต่อกรณีฉุกเฉินเกี่ยวกับเหตุการด้านการหยุดหายใจหรืออัตราการเต้นของหัวใจผลิตปกติ เนื่องจากไม่เคยได้รับการฝึกทำ CPR มาก่อน
  • มีเพียง 32% ของผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเท่านั้นที่ได้รับการช่วยเหลือโดยการ CPR จากผู้ที่ยืนดูอยู่ข้างๆ
  • 4/5 ของเหตุหัวใจหยุดเต้นเกิดขึ้นที่บ้าน หมายความว่าผู้ป่วยที่มีโอกาสหัวใจหยุดเต้นนั้นอาจจะเป็นคนที่คุณรัก
  • ทุกๆ นาทีที่ผ่านไปโดยไม่ได้ทำ CPR และกระตุ้นหัวใจ โอกาศรอดของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นจะลดลง 7-10%

ด้วยความรู้ของการเข้ารับการอบรมและฝึกฝนการทำ CPR โดยบุคคลที่สามาถรับรอง CPR สามารถช่วยลดการสูญเสียชีวิตในกรณีฉุกเฉินได้

2.การสร้างความแตกต่างระหว่างความเป็นและความตาย

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (SCA) เป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจากเมื่อมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเกิดขึ้นเลือดจะหยุดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองและอวัยะส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย ดังนั้นผู้ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการดูแลภายใน 2-3 นาทีหลังเกิดเหตุมีโอกาศเสียชีวิตสูง

จากสถิติของ American Heart Association อีกเช่นเคยได้ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันประมาณ 92% เสียชีวิตก่อนถึงโรคพยาบาล อย่างไรก็ตามถ้าผู้ป่วยได้รับการทำ CPR ทันทีสามารถเพิ่มโอกาศรอดชีวิตได้มากขึ้น สองหรือสามเท่า

3.เป็นบุคคลที่มีค่าในองค์กร

ลองจินตนาการว่าหากคุณกำลังทำงานแล้วจู่ๆ เพื่อนร่วมงานของคุณเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น แต่ถ้าคุณได้รับการฝึกอบรมมาแล้วคุณสามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันที

การเรียนรู้การทำ CPR จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณอยู่ในหน่วยงานด้านความปลอดภัยด้วยแล้วการเรียนทำ CPR คือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

4.เป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นให้บุคคลรอบข้างเข้ารับการอบรมทำ CPR

สิ่งที่ดีที่สุดประการหนึ่งเกี่ยวกับการทำ CPR คือ ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน หรือบุคคลอื่น การทำ CPR จะช่วยให้แต่ละคนมีทักษะ ในการช่วยชีวิตที่จำเป็นและเมื่อคุณรู้ว่าจำเป็นต่อทั้งสุขภาพของคุณเองและคนรอบข้าง การแนะนำให้คนรอบตัวสามารถทำ CPR ได้จึงเป็นเรื่องที่ดี

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular