spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

PPE คือ ทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

ในบางสาขาอาชีพที่ต้องอยู่กับอันตรายในสถานที่ทำงาน เช่น เชื้อโรค เชื้อไวรัส สารเคมี หรือ อันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เช่น การกระเด็นของโลหะ ของมีคม การป้องกันตัวจากการบาดเจ็บโดยการสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลหรือชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “PPE” เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ในบทความนี้ Jorportoday จะมาอธิบายว่า PPE คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงาน และ อุปกรณ์แต่ป้องกันตัวแต่ละอย่างมีอะไรบ้าง 

Personal Protective Equipment : PPE คือ

Personal Protective Equipment : PPE คือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เป็นอปุกรณ์สวมใส่เพื่อลดการสัมผัสกับอันตรายที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยในที่ทำงานอย่างร้ายแรง การบาดเจ็บและการเจ็บป่วยเหล่านี้อาจเกิดจากการสัมผัสกับสารเคมี รังสี กระแสไฟฟ้า เครื่องกล หรืออันตรายอื่นๆ ในที่ทำงาน อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลอาจรวมถึงสิ่งของต่างๆ เช่น ถุงมือ แว่นตาและรองเท้า ที่อุดหูหรือที่ครอบหู หมวกนิรภัย เครื่องช่วยหายใจ หรือเสื้อคลุม เสื้อกั๊ก และชุดคลุมทั้งตัว

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่สวมใส่ควรได้รับการออกแบบ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับความปลอดภัยอย่างแท้จริง (ของมีคุณภาพเพียงพอ) และควรได้รับการบำรุงรักษาในลักษณะที่สะอาดและเชื่อถือได้ ที่สำคัญชุดควรพอดีกับผู้สวมใส่ไม่ใหญ่หรือแน่นจนเกินไป 

สำหรับการดูแลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กร นายจ้างมีหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานและทำให้แน่ใจว่ามีการใช้งานอย่างเหมาะสม อีกทั้งนายจ้างยังต้องฝึกอบรมพนักงานแต่ละคนให้สามารถใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

มีอะไรบ้างที่ไม่ใช่ชุด PPE

  • ชุดหรือเครื่องแบบการทำงานทั่วไป ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนงาน
  • เสื้อผ้าที่จัดเตรียมไว้สำหรับสุขอนามัยของอาหาร (เอี้ยม)
  • อุปกรณ์สำหรับป้องกันขณะเดินทาง เช่น หมวดกันน็อก
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งกีฬา (แต่ชุด PPE จะรวมถึงอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่ครูสอนกีฬาใช้ เช่น เสื้อชูชีพสำหรับกีฬาทางน้ำ)
  • อุปกรณ์สำหรับตรวจจับและส่งสัญญาณเสียง 

PPE คือ

ประเภทของชุด PPE

การเลือกชุด PPE ที่เหมาะสมในการปฎิบัติงานมีความสำคัญไม่แพ้การปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำงาน อย่างที่ผมได้กล่าวไปตอนก่อนหน้านี้ว่านายจ้างมีหน้าที่จัดหาทรัพยากรที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม ตาม พรบ ความปลอดภัย ปี 2554 โดยในหัวข้อนี้ผมจะพูดถึงชุด PEE ประเภทต่างๆ ที่เหมาะสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน

1.อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและใบหน้า (Eye and Face Protection)

การป้องกันดวงตาทำได้โดยการสวมแว่นที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อลดความเสี่ยงจากการโดนสารเคมีกระเด็นใส่ ป้องกันรังสี แสงเลเซอร์ และ/หรือ เศษวัสดุที่ลอยกระเด็นจากการทำงาน สำหรับอุปกรณ์ป้องกันดวงตาสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก (แต่ละชนิดมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ผู้ใช่ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน)

แว่นตานิรภัยทั่วไป
  • แว่นตานิรภัยรูปแบบนี้ต้องมีชิลด์ด้านข้างหรือลักษณะของเลนส์เป็นแบบชิ้นเดียวรอบดวงตา
  • เป็นการป้องกันดวงตาระดับต่ำสุด ที่ผู้ปฏิบัติงานควรสวมใส่ขณะทำงาน
  • ไม่มีประสิทธิภาพป้องกันดวงตาจากกระเด็นของเศษวัสดุต่างๆ แนะนำให้ใช้กับสารละลายที่ไม่ทำลายดวงตาเท่านั้น
แว่นตานิรภัยชนิดกันแสงเลเซอร์
  • ในการเลือกจะขึ้นอยู่กับกำลังและความยาวคลื่นของแสงเลเซอร์
  • คุณสมบัติการป้องกันจะอยู่ที่เลนส์ของแว่นในการป้องกันแสงกระทบดวงตา
แว่นตากันสารเคมี
  • มีหน้าที่ป้องกันสารเคมีหรือสารติดเชื้อกระเด็นเข้าสู่ดวงตา
  • ด้วยความที่ลักษณะของแว่นครอบปิดมิดชิด จึงสามารถช่วยในการป้องกันไม่ให้เศษต่างๆ กระเด็นเข้าสู่ดวงตาได้ดี
  • ควรพิจารณาเลือกซื้อตามที่ หน่วยงานด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (EH&S) แนะนำ
แว่นตากันกระแทก
  • แว่นตานิรภัยชนิดนี้ช่วยป้องกันการกระแทกจากเศษชิ้นส่วนที่มีโอกาสกระเด็นเข้าสู่ดวงตาเท่านั้น
  • ถ้าหากไม่มีแว่นตากันกระแทก สามารถใช้แว่นตาป้องกันสารเคมีทดแทนได้

2.อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection)

การเลือกถุงมือที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องมือของคุณ ถุงมือป้องกันสารเคมีเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการลดการสัมผัสสารเคมีทางผิวหนังในห้องปฏิบัติงาน (ดังที่คุณเห็นในข่าวว่าหมอและพยาบาลต้องการถุงมือยางเป็นจำนวนมาก จากการแพร่ระบาดของโควิท 19) ผู้ปฏิบัติงานควรใช้ถุงมือในสภาวะเฉพาะที่เหมาะสมเท่านั้น เนื่องจากคุณสมบัติของถุงมือมีหลายชนิดและแตกต่างกันเป็นอย่างมาก

อีกเรื่องที่สำคัญคือ ผู้ใช้งานต้องทราบด้วยว่าถุงมือมีการเสื่อมสภาพเมื่อใช้งานไปสักระยะ ดังนั้นควรเปลี่ยนตามความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่ามีการป้องกันอย่างเพียงพอ โดยรูปแบบของถุงมือมีดังต่อไปนี้

ถุงมือยางชนิดอ่อน หรือถุงมือยางไนไตร
  • ถุงมือยางใช้แล้วทิ้ง (มีแบบมีผง และไม่มีผง) : ใช้สำหรับการทำงานกับอันตรายทางชีวภาพ เช่น เลือดมนุษย์ ของเหลวในร่างกาย เนื้อเยื้อ เชื้อโรคในเลือดเป็นต้น (Covid 19 ใช้ถุงมือชนิดนี้เป็นส่วนใหญ่)
  • ถุงมือไนไตรล์แบบใช้แล้วทิ้ง (ทนการเจาะและการฉีกขาด) : ใช้สำหรับการทำงานกับอันตรายทางชีวภาพและอันตรายจากการกระเซ็นของสารเคมี
ถุงมือทนสารเคมีชนิดเบา
  • ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ (ทนสารเคมีและของเหลว) : สามารถใช้กับการทำงานที่ต้องสัมผัสกับของเหลวชนิดกัดกร่อน ตัวทำละลายอินทรีย์ สารประกอบไวไฟในปริมาณเล็กน้อย
ถุงมือทนสารเคมีเบาถึงหนัก
  • ถุงมือไนไตรล์  (ทนต่อสารเคมี การรั่วหรือฉีกขาด) : เหมาะกับการใช้งานภายใต้แรงดันอากาศ หรือ สารเคมีที่ทำปฎิกิริยากับน้ำ
ถุงมือทนสารเคมีหนัก
  • Butyl Rubber หรือ ยางบิวทิล (ทนทานต่อการซึมผ่านของสารเคมีส่วนใหญ่ได้สูง) : สามารถใช้งานกับการทำงานที่ต้องสัมผัสกับตัวทำละลายอินทรีย์ปริมาณน้อยถึงมาก และสารพิษเฉียบพลันหรือวัสดุอันตราย
  • Viton® II  (ทนทานต่อการซึมผ่านของสารเคมีส่วนใหญ่) : คุณสมบัติคล้ายกับถึงมือบิวทิล ป้องกันสารอันตรายที่หกรั่วไหล
  • Silver shield (ป้องกันสารเคมี) : คุณสมบัติเช่นเดียวกับ ถุงมือบิวทิลและ Viton® II แต่เพิ่มการป้องกันทางชีวภาพ
ถุงมือฉนวน
  • Terrycloth autoclave (ถุงมือชนิดทนความร้อน) : ใช้สำหรับการทำงานกับของเหลว หรือ อุปกรณ์ที่มีความร้อน เช่น เปลวไฟ อ่างน้ำร้อน อ่างน้ำมัน
  • Cryogen (กันน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นจัด) : ใช้สำหรับการทำงานที่มีอุณหภูมิต่ำ

9 PPE มาตรฐานสากล

3.อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย (Body Protection)

PPE สำหรับป้องกันร่างกายทั้งหมดมีอยู่หลายชนิดควรเลือกตามความเหมาะสมของรูปแบบการปฏิบัติงาน

  • Traditional : ชุดรูปแบบดั่งเดิม (วัสดุทำงานผ้าฝ้าย หรือ ผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์) : ใช้สำหรับปกป้องผิวหนังและเสื้อผ้าจากสิ่งสกปรก หมึกพิมส์ สารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย
  • Flame resistant : ชุดป้องกันชนิดทรการติดไฟ (วัสดุทำจาก Normex ที่เนื้อวัสดุเป็นเส้นใย Aramid มีโครงสร้างโมเลกุลลักษณะพิเศษซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานเปลวไฟในตัวเอง) : ใช้สำหรับทำงานกับสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับน้ำและอากาศ ตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีความเข้มข้น และสารเคมีที่อาจระเบิดได้
  • Barrier Suits (วัสดุส่วนใหย่ทำมาจากโพลีเอสเตอร์ ช่วยป้องกันน้ำกระเด็ดโดนผิวหนัง) : ใช้สำหรับการทำงานกับวัสดุติดเชื้อ

4.การป้องกันระบบการได้ยิน

บุคลากรที่ทำงานให้ห้องปฏิบัติการรวมถึงไลน์การผลิตทุกคนต้องติดต่อกับหน่วยงานด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (EH&S) เพื่อตรวจสอบเสียงในสภาพแวดล้อมการทำงานว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ ถ้ามีเสียงดังเกินค่ามาตรฐาน ทีมงาน ด้านความปลอดภัยจะมีหน้าที่จัดหน้าและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้เครื่องป้องกันเสียงโดยเฉพาะ

ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานในสถานที่ที่เกินกว่าระดับ 85 dBA ในระยะเวลาเฉลี่ยมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวัน จะได้รับการลงทะเบียนในข้อมูลของหน่วยงานที่ดูแลด้านความปลอดภัย บุคคลเหล่านี้ควรจะได้รับการทดสอบวัดเสียงประจำปี และจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ผู้บังคับบัญชาจัดเตรียมไว้ให้ รวมถึงจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการติดตั้ง ใช้งาน และดูแลอุปกรณ์เหล่านี้

  • ที่อุดหูแบบใช้แล้วทิ้ง : วัสดุผลิตจาก โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) หรือโพลียูรีเทนโฟม ออกแบบมาสำหรับใช้ครั้งเดียว (ไม่ต้องทำความสะอาด) มีขนาดมาตรฐานสามารถใช้ได้กับทุกขนาดของรูหู มีน้ำหนักเบา ราคาประหยัด ช่วยในการบล็อกเสียงทั้งหมด ใช้สำหรับการทำงานในพื้นที่ที่มีระดับเสียงเฉลี่ยมากกว่า 85 dBa
  • ที่อุดหูแบบใช้ซ้ำได้ : ผลิตจากซิลิโคนมีลักษณะเรียว สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (ต้องทำความสะอาด) มีทั้งแบบมีสายหรือไม่มีสาย มีน้ำหนักเบา ทนทานกว่าที่อุดหูแบบใช้แล้วทิ้ง ใช้สำหรับการทำงานในพื้นที่ที่มีระดับเสียงเฉลี่ยมากกว่า 85 dBa

ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Protection)

5.ระบบป้องกันระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Protection)

ระบบป้องกันระบบทางเดินหายใจส่วนใหญ่มักใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือเรียกว่าเป็น “แนวป้องกันสุดท้าย” ดังนั้นผู้ใช้งานจึงต้องมีการฝึกอบรมเป็นรายบุคคลและมีการประเมินโดยหน่วยงานที่ดูแลด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (EH&S) ก่อนการใช้งานเพื่อความถูกต้องและถูกหลักในการดูแลความปลอดภัยของพนักงาน

  • หน้ากากอนามัย (ป้องกันละอองน้ำได้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่) : ใช้สำหรับการทำงานกับสัตว์ที่มีชีวิต ทำงานกับวัสดุติดเชื้อในห้องปฏิบัติการระดับ BSL-2+
  • หน้ากากชนิด N-95 (ป้องกันฝุ่น ควัน ละออง จุลินทรีย์) : ใช้สำหรับการทำงานกับสัตว์ที่มีชีวิตหรือวัสดุติดเชื้อในห้องปฏิบัติการระดับ BSL-2 หรือ ใช้สำหรับกรณีมีโรคติดต่อทางอากาศ เช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ และ สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยฝุ่น (อย่างช่วงฤดูหนาวที่ฝุ่นหนาแน่นของประเทศไทยเรา)
  • หน้ากากครึ่งหน้า (ช่วยในการฟอกอากาศ ป้องกันอนุภาคต่างๆ เช่น ไอละเหย ฝุ่น หมอกควัน ความละเอียดขึ้นอยู่กับตัวกรองที่ใช้) : ใช้สำหรับกรณีที่มีไอละเหยของสารเคมี อนุภาคต่างๆ สถานที่ที่มีโรคติดต่อทางอากาศ สภาพแวดล้อมที่มีฝุ่น
  • หน้ากากแบบเต็มหน้า (ช่วยในการป้องกันเช่นเดียวกับหน้ากากแบบครึ่งหน้า แต่สามารถป้องกันได้มากกว่าโดยสามารถป้องกันในส่วนของใบหน้า และดวงตา) : ใช้สำหรับกรณีที่มีไอละเหยของสารเคมี อนุภาคต่างๆ สถานที่ที่มีโรคติดต่อทางอากาศ สภาพแวดล้อมที่มีฝุ่น

 ลงทะเบียนด่วนเลยใครสนใจงานแสดงสินค้า PPE วันที่ 5-7 มิถุนายน 2024 

มาตรฐาน PPE ที่กฎหมายไทยยอมรับ

  1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม – สัญลักษณ์คือ มอก. หรือ TIS
  2. มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization) – สัญลักษณ์ ISO
  3. มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards) – สัญลักษณ์คือ EN หรือ CE 
  4. มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards) – สัญลักษณ์คือ AS/NZS
  5. มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute) – สัญลักษณ์คือ ANSI
  6. มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards) – สัญลักษณ์คือ JIS
  7. มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทํางานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health) – สัญลักษณ์คือ NIOSH
  8. มาตรฐานสํานักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติ กรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration) – สัญลักษณ์คือ OSHA
  9. มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association) – สัญลักษณ์คือ NFPA

 

PPE หมวกนิรภัย

6. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ

ชนิดของหมวกนิรภัย ชนิด I เป็นหมวกช่วยลดแรงกระแทก บริเวณศีรษะเท่านั้น ชนิด II เป็นหมวกที่ช่วยลดแรงกระแทก บริเวณตรงกลางหรือด้านบนศีรษะ ประเภทของหมวกนิรภัย

1.หมวกนิรภัย ชนิด Class G ลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงต่ำ

  • ต้องต้านทานแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 2,200โวลต์ ที่ความถี่ 50 Hz เป็นเวลา 1 นาที
  • ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
  • ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
  • ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม. ใช้ในการก่อสร้าง งานทั่วไป

2.หมวกนิรภัย ชนิด Class E ลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง

  • ต้องต้านทานแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับได้ 20,000 โวลต์ ที่ความถี่ 50 Hzเป็นเวลา3นาที
  • ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
  • ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
  • ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม. ใช้ในงานกันไฟฟ้าแรงสูง

3.หมวกนิรภัย ชนิด Class C มวกนิรภัยที่ไม่สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ เนื่องจากเป็นโลหะ

  • ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
  • ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
  • ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม. ใช้ในงานขุดเจาะน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน แก๊ส

4.หมวกนิรภัย ชนิด Class D หมวกนิรภัยที่สามารถทนความร้อนสูงได้

  • ทำด้วยพลาสติกหรือไฟเบอร์กลาส เม่อติดไฟแล้วต้องดับได้เอง
  • ค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน
  • ค่าเฉลี่ยกระแทกที่ส่งผ่านติ้งไม่เกิน 3,781 นิวตัน
  • ความต้านทานแรงเจาะ รอบเจาะที่เกิดขึ้นต้องลึกไม่เกิน 10 มม. ใช้ในงานดับเพลิง งานเหมือง

PPE อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

4 เหตุผลสำคัญที่คุณควรใส่ชุด PPE ในที่ทำงาน

คำถามสำคัญว่า ทำไมจึงจำเป็นต้องสวมชุด PPE ในที่ทำงาน? อุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิและการก่อสร้าง ล้วนเต็มไปด้วยอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงาน แม้ว่าคุณจะระมัดระวังตัวเองแล้วแต่เหตุไม่คาดฝันเกินขึ้นได้เสมอ 

คุณอาจคุ้นชินกับการพบว่าตัวเองอยูในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยในการทำงาน แต่คุณไม่ควรรู้สึกว่าร่างกายของคุณมีแนวโน้มจะได้รับอันตราย นี้คือเหตุผล 4 ประการที่บ่งชี้ว่าทำไมการใช้ PPE ในที่ทำงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

1.ป้องกันไม่ให้คุณต้องรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บของตัวคุณเอง

สำหรับพนักงานระดับปฏิบัติงานคุณควรทราบถึงกฎความปลอดภัยของบริษัทที่ส่งผลต่อการได้รับการชดเชยค่าเสียหายในกรณีที่เกิดเหตุร้ายแรง โดยปกติบริษัทจะมอบหมายให้ จป หัวหน้างาน หรือ จป บริหาร ในการออกนโยบายและตรวจสอบในแน่ใจว่าพนักงานปฏิบัติตามนโยบายด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด แต่ถ้าหากว่าคุณเองเป็นฝ่ายละเลยกฎนี้ การบาดเจ็บที่คุณได้รับอาจอยู่นอกเหนือความคุ้มครองของบริษัท และคุณอาจะต้องเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้นด้วยตนเอง!! 

แต่ในกรณีที่คุณปฏิบัติตามกฎของบริษัท สวมชุด PEE ปฏิบัติงานได้เคร่งครัดตลาดระยะเวลาการทำงาน คุณจะมั่นใจได้ว่า หากเกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยที่ส่งผลโดยตรงจากการทำงาน นายจ้างของคุณจะต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ ไม่เว้นแม้แต่งานที่คุณใช้เวลา  “เพียงไม่กี่วินาที” คุณก็ควรสวมชุด PPE ป้องกันเช่นกัน

2.โรคภัยระยะยาวที่มาพร้อมกับการละเลยการป้องกันตัวเองในระยะสั้น

สำหรับพนักงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับสารเคมีและสารประกอบต่างๆ สามารถส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพของคุณได้

 ผมขอยกเคสตัวอย่างของงานวิจัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 

ในปี 2560  ชาวอเมริกันกว่า 3,000 คน/ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น  Mesothelioma หรือ มะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มอื่น ระหว่าง 70-80% ของเคสที่ถูกวินิจฉัยเหล่านี้ถ้าสืบถึงประวัติการทำงานพบว่ามีการสัมผัสกับ เส้นใยหินที่ใช้ในการผลิตวัสดุสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ แต่อย่างที่คุณคงทราบกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในปัจจุบันกำหนดให้ผู้ที่ปฏิบัติงานกับแร่ใยหินต้องสวมชุด PPE และต้องอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนออกจากที่ทำงาน ในกรณีของโรค Mesothelioma ส่วนใหญ่เกิดขึ้นก่อนที่เราจะรู้ความเชื่อมโยงระหว่างโรคกับปัจจัยเสี่ยงนี้

เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากกรณีศึกษานี้ถ้าคุณทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี สารละเหย น้ำมัน แร่ใยหิน หรืออื่นๆ ชุด PPE คือเครื่องมือที่จะปกป้องคุณจากโรคร้ายที่อาจติดตัวและทำลายสุขภาพของคุณในระยะยาว

3.ดวงตาของคุณมีคู่เดียว

แว่นตานิรภัยเป็นหนึ่งในชุด PPE ที่พบได้บ่อยที่สุดและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยในการป้องกันสารใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสารกัดกร่อนหรือไม่ รวมถึงวัสดุทั้งแหลมและไม่แหล่ม ที่จะส่งผลอันตรายต่อดวงตาของคุณ

จากข้อมูลของ American Academy of Ophthalmology (AAO)  รายงานว่าทุกปีมีการบาดเจ็บที่ดวงตาประมาณ 2.4 ล้านครั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งระหว่างการทำงานและการทำกิจกรรมยามว่าง โดยการบาดเจ็บเหล่านี้ประมาณ 50,000 รายสูญเสียการมองเห็น โดย 90% ของอาการบาดเจ็บเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการสวมแว่นตานิรภัย

สำหรับการทำงานของคุณควรศึกษาชนิดของแว่นตานิรภัยให้ดี เลือกชนิดที่เหมาะสมกับประเภทของงานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะถ้าคุณทำงานงานอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเกินการบาดเจ็บได้ง่านเช่น อุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้าง

4.ช่วยเพิ่มคุณภาพการทำงานของคุณ

สำหรับการทำงานให้คิดเสียว่าชุด PPE คือ ระบบสนับสนุนสำหรับง่านที่คุณต้องรับผิดชอบ คุณอาจรู้สึกว่างานที่ได้รับอาจจะไม่ได้รับอันตรายใดๆ แต่อย่างไรก็ตามการมีอุปกรณ์ไว้ป้องกันตัวช่วยให้ความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุที่ส่งผลถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพและร่างกายให้น้อยที่สุด

สรุป

ชุด PPE คือ อุปกรณ์ที่จะช่วยให้การทำงานของคุณห่างไกลจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุขภาพและร่างกายของคุณ การตระหนักถึงการป้องกันระวังภัยนอกจากบริษัทและหน่วยงานด้านความปลอดภัยจะต้องดูแลแล้ว สำคัญที่สุดคือตัวของคุณเอง และหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณสามรถเลือกอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้เหมาะกับการทำงานได้อย่างเหมาะสมครับ

 

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular