spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบปั้นจั่น คืออะไร

ขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ผู้ตรวจสอบปั้นจั่น

ประกาศใช้และเปิดให้ขึ้นทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยสำหรับผู้ที่ให้บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้า และ ผู้ให้บริการทดสอบปั้นจั่นตาม กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564

สาระสำคัญ

ผู้ใดที่ให้บริการทดสอบเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ ตามกฎกระทรวง 2564 ข้อ 121 และ ตรวจสอบรับรองความปลอดภัย ระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า กฎหมาย เกี่ยวกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้า (กระทรวงแรงงาน) กฎกระทรวง “กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558”

กรณีนายจ้างได้ดําเนินการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยมีวิศวกรไฟฟ้าเป็นผู้บันทึกผลการตรวจสอบ ให้ถือว่าเป็นการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามประกาศฉบับนี้

ทั้งนี้ ผู้จัดทํา บันทึกผลการตรวจสอบ และ รับรองต้องเป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือ เป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางาน พ.ศ. 2554

ข้อ 12 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบํารุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และให้บุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 แห่ง พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี เป็นผู้จัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองไว้ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

การขึ้นทะเบียนจะแยกออกเป็น 2 แบบดังนี้

  1. แบบขึ้นทะเบียนผู้ตรวจและรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้า ตามมาตรา 9
  2. แบบขึ้นทะเบียนผู้ตรวจและรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้า ตามมาตรา 11

หากถามว่า 2 แบบนี้แตกต่างกันอย่างไร คำตอบคือ มาตรา 9 จะเป็นการชึ้นทะเบียนแบบบุคคล แต่มาตรา 11 จะเป็นการขึ้นทะเบียนแบบนิติบุคคล

โดยส่วนใหญ่แล้วแบบบุคคลมาตรา 9 องค์กรทั่วไปมักจะนิยมให้วิศวกรของตนเองขึ้นทะเบียนไว้เพื่อสามารถตรวจรับรองระบบไฟฟ้า หรือ รับรองปั้นจั่นภายในบริษัทตนเองมีความสะดวกคล่องตัว ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่การที่วิศวกรจะรับรองอะไรนั้นย่อมแลกมาด้วยความเสี่ยงผูกพันธ์ตามมาที่จะต้องรับผิดชอบ

ดังนั้นเพื่อความชัวร์ และ ปลอดภัยต่อตนเอง วิศวกรในองค์กรส่วนใหญ่ก็เลยหลีกเลี่ยงที่จะเซ็นต์รับรองระบบไฟฟ้า หรือ ปั้นจั่นให้กับบริษัทตนเองยกเว้นมีค่าตอบแทนและตกลงกันเพิ่มขึ้น ความยุ่งยากอีกอย่างคือการตรวจรับรองนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ในการตรวจอีกมากมายจำเป็นต้องลงทุนซื้อเข้ามา ยังไม่รวมถึงการส่งอุปกรณ์สอบเทียบทุกๆปี ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย

การตรวจรับรองแบบนิติบุคคลมาตรา 11 หรือ บริษัทที่ให้บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้า และ ตรวจเครน จึงเป็นทางเลือกที่นิยมในปัจจุบันเนื่องจากเป็นบริษัทที่รับจ้างงานในลักษณะนี้อยู่แล้วเครื่องมือต่างๆก็ย่อมจะมีความพร้อมกว่า รวมไปถึงประสบการณ์และความชำนาญของวิศซกรที่เข้ามาตรวจที่มีมากกว่า ที่สำคัญหากเกิดความผิดพลาดสามารถฟ้องร้องได้อย่างเต็มที่

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน

หากใครสนใจที่จะขึ้นทะเบียน ตามมาตร 9 สามารถ ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ผู้ใดให้บริการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดฝึกอบรม หรือให้คำปรึกษา กรอกข้อมูลยื่นหลักฐานกับกรมสวัสดิการฯ หากถ้าเป็นบริษัทใดที่ให้บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าก็จะต้องเป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ให้บริการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2564 ตามข้อ 12 ถึงจะสามารถให้บริการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

รายชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการ ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ตรวจปั้นจั่น

จะตรวจสอบเลขทะเบียนผู้ที่ได้รับอนุญาตได้จากที่ไหน ?

เราสามารถตรวจสอบได้จากเว็ปกรมสวัสดิการฯ ว่าใครที่ได้รับอนุญาตถูกต้องไม่ว่าจะเป็นแบบบุคคลตามมาตรา 9 หรือ แบบนิติบุคคลตามมาตรา 11 คลิกดูที่นี้ได้เลย

สรุป:

ใครที่ใช้บริการนิติบุคคลจากภายนอกให้เข้ามาตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี หรือ ทดสอบปั้นจั่นจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่านิติบุคคลดังกล่าวนั้น ได้ทำการขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการอย่างถูกต้องแล้วมีเลขใบอนุญาต เมื่อกฎหมายบังคับใช้ไปแล้วแน่นอนว่าเราจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงองค์กรที่มีการทำระบบ ISO ต่างๆ ทาง Auditor จะต้องทำการ Audit อย่างแน่นอน เพื่อความปลอดภัย และ เป็นไปตามกฎหมาย หลีกเลี่ยงการโดน CAR/PAR ในระบบ ISO ก็อย่าลืมตรวจสอบให้มั่นใจ

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular