spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

SDS คือ ทุกเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet)

ข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี MSDS

การทำงานในสถานที่ทำงานไม่ทางใดก็ทางหนึ่งพนักงานต้องพบเจอการใช้งานสารเคมีทั้งสิ้น ตั้งแต่โรงงานสารเคมีที่ผลิตและรับรองสารเคมีหลายร้อยชนิดต่อวัน จนถึงร้านเสริมสวยที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับสารเคมี แต่ก็ต้องสัมผัสกับสารเคมีจาก น้ำยาย้อมผม ยากัดสีผม ด้วยเหตุนี้เองความปลอดภัยของการใช้สารเคมีจึงเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่กังวล ซึ่งในบทความนี้ Jorportoday จะมาพูดถึงเอกสารข้อมูลความปลอดภัย SDS คือ วิธีอ่านค่าเบื้องต้น รวมถึงแนวทางปฏิบัติเมื่อได้รับ SDS มาใช้งาน

SDS คือ

SDS คือ เอกสารสรุปที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของผลิตภัณฑ์และคำแนะนำเกี่ยวกับข้อควรระวังด้านความปลอดภัย เป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลเฉพาะของสารเคมีแต่ละตัวเกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำ จัด และการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย

  • SDS ย่อมาจาก Safety Data Sheet
  • MSDS ย่อมาจาก Material Safety Data Sheet

ความแตกต่างระหว่าง MSDS และ SDS คือ

เอกสารทั้ง 2 ตัวมีเป้าหมายเดียวกันคือให้ข้อมูลของสารเคมีเพื่อประโยชน์ในการประกอบการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นได้อย่างปลอดภัย

  • MSDS เป็นชื่อที่เรียกมาแต่เก่าก่อน ซึ่งแต่ละประเทศต่างคนต่างทำ ยังไม่มีการกำหนดหัวข้อ  เกณฑ์ต่าง ๆ เป็นระบบเดียวกัน จึงเกิดปัญหาสื่อสารไม่ตรงกัน จึงนำมาสู่การพัฒนาระบบ GHS ขึ้นมาใช้ให้เหมือนกันทั่วโลก
  • SDS คือเอกสารที่แสดงข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี ที่ระบบ GHS กำหนดขึ้นให้ทำแบบเดียวกัน โดยต้องมีหัวข้อ 16 หัวข้อ เรียงตามลำดับ
  •  e-SDS (extended Safety Data Sheet) ในสหภาพยุโรปและประเทศพัฒนาแล้วหลายๆ ประเทศจะร้องขอให้ทำ e-SDS ซึ่งเป็นเอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่อยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง  (Risk-based Document) ส่วนในประเทศไทยยังไม่บังคับ

 

วัตถุประสงค์ของเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS)

โดยปกติเอกสารข้อมูลความปลอดภัยจะใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของตัวผลิตภัณฑ์ รวมถึงอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และมีไว้เพื่อรวบรวมคำแนะนำเกี่ยวกับข้อควรระวังด้านความปลอดภัยจากการใช้งานตัวผลิตภัณฑ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ SDS จึงจำเป็นสำหรับนายจ้างที่ต้องการวางแผนงานด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สามารถพัฒนาแผนการเชิงรุกเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน รวมถึงแผนงานด้านการฝึกอบรมที่เจาะจงสำหรับองค์กร และช่วยให้พิจารณามาตรการที่จำเป็นในการปกป้องสิ่งแวดล้อม

ใครบ้างที่จำเป็นต้องมี Safety Data Sheet (SDS)

  • องค์กรที่ใช้แนวทางปฏิบัติบของ OSHA’s Hazard Communication Standard หรือภาษาไทย “มาตรฐานการสื่อสารความเป็นอันตรายของ OSHA” ที่ ระบุไว้ว่า “นายจ้างต้องเก็บรักษาสำเนาเอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับสารเคมีอันตรายแต่ละชนิดไว้ในที่ทำงาน และต้องแน่ใจว่าสามารถเข้าถึงได้ง่ายระหว่างกะการทำงานแต่ละครั้งสำหรับพนักงานเมื่อ พวกเขาอยู่ในพื้นที่ทำงาน (การเข้าถึงทางอิเล็กทรอนิกส์และทางเลือกอื่นในการเก็บรักษาสำเนาเอกสารของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยจะได้รับอนุญาต ตราบใดที่ไม่มีการสร้างอุปสรรคในการเข้าถึงพนักงานทันทีในสถานที่ทำงานแต่ละแห่งโดยตัวเลือกดังกล่าว)”
  • ห้องปฏิบัติการ หรือร้านค้าที่ใช้สารเคมี ต้องได้รับเอกสารความปลอดภัย (SDS) เฉพาะสำหรับสารเคมีแต่ละชนิด

safety data sheets

วิธีการอ่านเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS)

เอกสารข้อมูลความปลอดภัย SDS เป็นเอกสารที่จัดทำโดยผู้ผลิตสารเคมีสำหรับสารเคมีใดๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ในเอกสารจะแบ่งออกเป็น 16 ส่วนมีรายละเอียดดังนี้

 

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเป็นส่วนของการระบุสารเคมีใน SDS เช่น เดียวกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลการติดต่อที่สำคัญของซัพพลายเออร์

ส่วนที่ 2 สรุปความเป็นอันตรายของสารเคมีและข้อมูลคำเตือนที่เหมาะสม

ส่วนที่ 3 ระบุส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เคมี รวมถึงสิ่งเจือปนและสารเพิ่มความเสถียร

ส่วนที่ 4 ของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยจะอธิบายขั้นตอนการรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่อาจสัมผัสสารเคมีโดยไม่ได้รับการฝึกอบรม

ส่วนที่ 5 ให้คำแนะนำในการดับไฟที่เกิดจากสารเคมี

ส่วนที่ 6 ให้รายละเอียดการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อเหตุการรั่วไหลของสารเคมี รวมถึงการกักกัน และการทำความสะอาด เพื่อป้องกันหรือลดการสัมผัสต่อบุคคล ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม

ส่วนที่ 7 ของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติและเงื่อนไขในการจัดการสำหรับการจัดเก็บสารเคมีอย่างไรให้ปลอดภัย

ส่วนที่ 8 แสดงรายการขีดจำกัดการสัมผัสกับสารเคมี การควบคุมทางวิศวกรรม และมาตรการป้องกันส่วนบุคคลที่สามารถใช้เพื่อลดการสัมผัสของผู้ปฏิบัติงาน

ส่วนที่ 9 ระบุคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์

ส่วนที่ 10 อธิบายอันตรายต่อการเกิดปฏิกิริยาความคงตัวทางเคมี ส่วนนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน: การเกิดปฏิกิริยา ความเสถียรทางเคมี และอื่นๆ

ส่วนที่ 11 ระบุข้อมูลด้านพิษวิทยาและผลกระทบต่อสุขภาพ หากมี

ส่วนที่ 12 อธิบายถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสารเคมีหากปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม

ส่วนที่ 13 ครอบคลุมถึงการกำจัด การรีไซเคิล หรือการนำสารเคมีหรือภาชนะบรรจุกลับมาใช้ใหม่อย่างเหมาะสม และวิธีปฏิบัติในการจัดการอย่างปลอดภัย

ส่วนที่ 14 อธิบายข้อมูลการจำแนกประเภทสำหรับการขนส่งสารเคมีอันตรายทางถนน ทางอากาศ ทางรถไฟ หรือทางทะเล

ส่วนที่ 15 ของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยระบุถึงข้อบังคับด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมเฉพาะของผลิตภัณฑ์

ส่วนที่ 16 จะบอกคุณเมื่อ SDS ถูกจัดทำขึ้นในตอนแรกหรือวันที่แก้ไขล่าสุดที่ทราบ ส่วนนี้ของ SDS อาจระบุตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงในเวอร์ชันก่อนหน้า

***เอกสารข้อมูลความปลอดภัยบางรายการอาจมีขนาด 15 หน้าขึ้นไป! ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของสารเคมีหรือสารในนั้น แต่ละส่วนอาจมีช่องคำอธิบายหลายช่องพร้อมรายละเอียดเพิ่มเติม

Safety Data Sheet (SDS)

ควรทำอย่างไรเมื่อได้รับ SDS

เมื่อคุณได้รับเอกสารความปลอดภัย (SDS) คุณควรตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานจะเป็นไปตามระเบียนข้อบังคับและขั้นตอนที่คุณปฏิบัติในองค์กร โดยสิ่งที่ควรตรวจสอบมีดังนี้ :

  • เอกสารมีครบทั้ง 16 ส่วนหรือไม่
  • ตรวจสอบว่าภาษานั้นถูกต้องสำหรับคุณหรือไม่ เช่น ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทย ที่ชัดเจนและถูกต้อง
  • ตรวจสอบวันที่ ว่ามีการระบุวันที่แก้ไขและรายละเอียดของการแก้ไขหรือไม่?
  • เอกสารความปลอดภัยต้องได้รับการตรวจสอบ วิเคราะห์ และระบุข้อมูลสำคัญ ส่วนที่สำคัญที่สุดที่ควรจัดลำดับความสำคัญคือส่วนที่ 1, 2, 3, 8, 9, 14 ข้อมูล SDS จะช่วยในการประเมินความเสี่ยงทางเคมี การตัดสินใจเลือกชุด PPE และนโยบายฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางเคมี
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารายละเอียดบนฉลากของสารเคมีตรงตามที่ระบุในหัวข้อ 1 และ 2 ของ SDS
  • SDS ต้องเป็นพื้นฐานสำหรับข้อมูลเพื่อเตรียมการประเมินความเสี่ยงทางเคมี แจ้งให้พนักงานทราบถึงอันตรายของสารเคมี ร่างมาตรการป้องกันที่จะดำเนินการเมื่อใช้สารเคมีและมาตรการที่จะดำเนินการในกรณีฉุกเฉิน
  • พนักงานทุกคนต้องสามารถเข้าถึงเอกสารข้อมูลความปลอดภัยและรู้วิธีทำความเข้าใจเพื่อการตัดสินใจในยามฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย
  • ควรตรวจสอบ SDS อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงเวอร์ชันที่ถูกต้องและทันสมัยที่สุด

การอบรมเกี่ยวกับการใช้งาน Safety Data Sheet (SDS)

หลักสูตรอบรมเกี่ยวกับ Safety Data Sheet : SDS คือ หลักสูตรการทำความเข้าใจเนื้อหาของ SDS เพื่อเพิ่มความเข้าใจเนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่ไม่มีพื้นฐานด้านเคมี รวมถึงอาจไม่เข้าใจหลักการนำข้อมูลจาก SDS ไปใช้อย่างถูกต้องการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นเรื่องจำเป็น

พนักงานทุกคนควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการอ่าน ทำความเข้าใจ และเข้าถึงเอกสารข้อมูลความปลอดภัย หากห้องปฏิบัติการใช้ทั้งวิธีการหลักในการเข้าถึง SDS และวิธีสำรองในการเข้าถึงข้อมูล

หัวข้อการอบรมที่คอร์ส SDS ส่วนใหญ่จะพูดถึง :

  •  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
  • การจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมี
  • การประเมินข้อมูลจาก SDSs ของซัพพลายเออร์
  • การใช้ฐานข้อมูลสาธารณะเพื่อเพิ่มความมั่นใจในข้อมูลซัพพลายเออร์
  • ประเด็นที่เป็นไปได้ของการตีความข้อมูลของสารผสมสำหรับพิษวิทยาและส่วนนิเวศวิทยา
  • การจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตราย
  • วิธีการจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตราย
  • วิธีการจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย / มาตรการการป้องกัน
  • การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  • อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
  • เครื่องหมายความปลอดภัย
  • การเคลื่อนย้ายสารเคมีและวัตถุอันตราย
  • การจัดการเมื่อเกิดการหก รั่วไหลและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

สรุป

Safety Data Sheet หรือ SDS คือเอกสารที่ช่วยให้องค์กรของคุณมีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี รวมถึงการนำเอกสารเหล่านี้ไปวางแผนดูแลและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ยิ่งองค์กรสามารถศึกษาและวางแนวปฏิบัติด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้ดีเท่าไหร่ความปลอดภัยก็จะมาขึ้นเท่านั้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับ SDS มากยิ่งขึ้นครับ

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular