การปฐมพยาบาลตามคำนิยามคือการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบอาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่จะทำให้ผู้ประสบเหตุรอดชีวิต การปฐมพยาบาลอาจเป็นอะไรก็ได้ ตั้งแต่การพันผ้าพันแผลไปจนถึงการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)
ในวันนี้เราจะพาคุณไปดูกันว่าการ อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น นั้นมีอะไรบ้างที่ต้องรู้ และมีอะไรบ้างที่สำคัญ
วิธีการปฐมพยาบาล
1.ประเมินสถานการณ์
- ปลอดภัยไว้ก่อน: ตรวจสอบอันตรายอยู่เสมอ เช่น หากมีคนถูกไฟฟ้าช็อต ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปิดไฟฟ้าก่อนสัมผัสบุคคลนั้น
- จำนวนผู้เสียชีวิต: ข้อมูลนี้ช่วยในการตัดสินใจว่าจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น หากพบว่าไม่มีผู้รอดชีวิตเลยอาจจะเปลี่ยนจากการปฐมพยาบาลเป็นเรียกหน่วยกู้ภัยแทน
- ประเภทของการบาดเจ็บ: ช่วยในการตัดสินใจขั้นตอนเร่งด่วน ตรวจเช็คว่าการบาดเจ็บเป็นแบบไหน กระดูกหัก แผลบาด จมน้ำ ฯลฯ
แต่ถ้าหากคุณเชื่อว่าสถานการณ์เลวร้ายหรือเกินความสามารถของคุณ ให้โทรหาหน่วยฉุกเฉินทันที แต่หากมั่นใจว่าสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ให้ไปยังขั้นตอนต่อไป
2.ตรวจเช็คผู้บาดเจ็บ
- เปิดทางเดินหายใจ: ตรวจสอบว่าทางเดินหายใจของบุคคลนั้นชัดเจนหรือไม่ เช่น สังเกตว่ามีอะไรทับตัวพวกเขาอยู่ไหม เสื้อผ่าแน่นไปรึเปล่า
- การหายใจ: สังเกตการหายใจว่าหายใจสม่ำเสมอไหม หรือหายใจติดขัดไหม
- การไหลเวียน: ตรวจสอบชีพจร ด้วยการแตะบริเวณข้อมือหรือต้นคอ
- ใช้ชุดปฐมพยาบาล: หากคุณมีชุดปฐมพยาบาลอยู่กับตัวให้รีบใช้ทันที อาจมีตั้งแต่ผ้าพันแผลไปจนถึงผ้าเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อ เครื่องมือทุกชิ้นมีวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่สามารถช่วยได้ในกรณีฉุกเฉิน
ในกรณีที่ไม่พบสัญญาณการหายใจ คุณอาจจำเป็นต้องทำ CPR หากมีเลือดออก คุณอาจต้องหยุดเลือดโดยใช้แรงกดหรือใช้ผ้าพันแผลไว้
3.สิ่งที่ต้องระวังในการปฐมพยาบาล
- การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ: เว้นแต่บุคคลนั้นจะอยู่ในขีดอันตราย พยายามอย่าเคลื่อนย้ายพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสงสัยว่าได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหรือกระดูก
- การสำลัก: สังเกตอาการอย่างเช่น คอดูบีบผิดปกติ สามารถใช้ Heimlich maneuver เพื่อเคลียร์ทางเดินหายใจที่อุดตันได้ก่อนปฐมพยาบาลอย่างอื่น
- แผลไหม้: อย่าทำให้แผลพุพองแตกหรือติดพลาสเตอร์ปิดแผลโดยตรงกับแผลไหม้ ควรใช้น้ำเย็นเพื่อรักษาแผลไหม้ก่อนส่งโรงพยาบาล
- ปฏิกิริยาการแพ้: สังเกตอาการต่างๆ เช่น หายใจลำบาก บวม หรือมีผื่น หากพบว่าผู้ป่วยกำลังประสบอาการแพ้ควรรีบพบแพทย์
- การวางยาพิษ: หากมีใครสงสัยว่าถูกวางยาพิษ ให้ลองค้นหาสิ่งที่พวกเขากินเข้าไป แล้วพกสิ่งนั้นไปด้วยเพื่อให้แพทย์ตรวจเช็ค หากทราบว่าเป็นยาพิษประเภทไหนจะสามารถรักษาได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
4.ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล
- “เอียงศีรษะไปด้านหลังเพื่อหยุดเลือดกำเดาไหล”: การทำแบบนี้อาจทำให้เลือดไหลลงลำคอได้ ไปผสมกับเสมหะและอาจจะอ้วก พออ้วกแล้วก็อาจจะทำให้เลือดไหลเยอะกว่าเดิม ให้โน้มตัวไปข้างหน้าแล้วบีบจมูกแทน
- “ใช้เนยหรือยาสีฟันกับแผลไหม้”: อาจทำให้เกิดสิ่งปนเปื้อนและทำให้แสบแผลได้ การรักษาทันทีที่ดีที่สุดคือน้ำเย็น
- “CPR ช่วยชีวิตเสมอ”: แม้ว่า CPR จะมีความสำคัญและสามารถช่วยชีวิตได้ แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าจะรอดทุกครั้ง แต่เป็นขั้นตอนการรักษาฉุกเฉินที่ช่วยยื้อลมหายใจของผู้ป่วยจนกว่าจะถึงมือหมอหรือหน่วยฉุกเฉิน
- “คุณไม่ควรให้น้ำแก่คนที่กำลังจะเป็นลม”: หากบุคคลนั้นยังมีสติอยู่และรู้สึกเหมือนจะเป็นลม น้ำก็สามารถช่วยได้ เพราะภาวะขาดน้ำเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเป็นลม
- “ชุดปฐมพยาบาลส่วนใหญ่เหมือนกันหมด”: ชุดอุปกรณ์จะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น อุปกรณ์สำหรับใช้ในบ้าน ในรถยนต์ หรือในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งการเลือกซื้อหรือเลือกใช้ก็ต้องเลือกให้ถูกด้วย
สุดท้ายนี้ การปฐมพยาบาลนั้นอาจจะไม่ได้มีสอนในโรงเรียน แต่การฝึกและเข้าร่วมการ อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไว้เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีความรู้ติดตัวก็มีประโยชน์มาก เพราะนั่นอาจจะแปลว่าคุณมีโอกาสช่วยชีวิตคนได้ 1 คน