spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แนวทางการจัดอบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ (Confined Spaces) ในองค์กรเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

อบรมที่อับอากาศ

การทำงานในที่อับอากาศ Confined Spaces เป็นงานที่มีความเสี่ยงอันตรายจาก

  • การขาดอากาศหายใจเนื่องจากพื้นที่การทำงานมักมีอากาศน้อย มีปริมาณออกซิเจน (Oxygen) ต่ำกว่า 19.5% หรือมากกว่า 23.5% อาจจะทำให้คนทำงานหมดสติจากการขาดอากาศหายใจ
  • บริเวณที่ทำงานมีก๊าซพิษชนิดต่างๆ เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า H2S
  • มีอันตรายจากสารเคมีไวไฟ (flammable) หรือ สารระเบิด (Explosives)
  • และ อันตราย อื่นๆ เช่น ไฟฟ้าช๊อต ตกจากที่สูง ลื่น เสียงดัง ฯลฯ

การจัดอบรมที่อับอากาศ แบบนายจ้างจัดเอง

อบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ คืออะไร

บ่อยครั้งเรามักจะได้ยินข่าวการเสียชีวิตจากการทำงานในที่ที่อับอากาศเนื่องจากนายจ้าง และ ผู้ปฏิบัติงานยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย กฎหมายไทยจึงได้มีการประกาศกำหนดให้สถานประกอบกิจการไหนมีสถานที่อับอากาศที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปนายจ้างจะต้องจัดให้มีมาตรการความปลอดภัยและการฝึกอบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ ได้แก่ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงานในงานอับอากาศ วันนี้เราจะมาแนะนำแนวทางการจัดฝึกอบรมการทำงานในที่อับอากาศว่ามีขั้นตอนอย่างไร และ มีกี่รูปแบบ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศจะมีทั้งหมด 4 เรื่องดังนี้

  1. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ (15 กุมภาพันธ์ 2562)
  2. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ
    (11 มีนาคม 2564)
  3. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครอง ความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือ และ ช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ (21 ตุลาคม 2548)
  4. ประกาศกรมสวัสดิการ และ คุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล  (27 กันยายน 2554)

การฝึกอบรมหลักสูตรการทำงานในสถานที่อับอากาศ 4 ผู้ได้ถูกกำหนดให้มีการจัดอบรมตามหลักเกณฑ์วิธีการ ตามกฎหมายตามข้อ 2 ด้านบนนายจ้างจะต้องให้ให้ลูกจ้างที่มีหน้าที่รับผิดชอบอบรมที่อับอากาศ 4 ผู้

  • หลักสูตรผู้อนุญาต
  • ผู้ควบคุมงาน
  • ผู้ช่วยเหลือ
  • ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ รวมกันทั้งหมด 4 ผู้

รวมไปถึงจัดให้มีการอบรมทบทวนการทำงานในสถานที่อับอากาศตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายก่อนลูกจ้างเริ่มทำงาน หรือมีการเปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานในที่อับอากาศ

อบรมที่อับอากาศมีทั้งหมดกี่แบบ อะไรบ้าง ?

การจัดฝึกอบรมสามารถทำได้ 2 แบบ

  1. จัดฝึกอบรมที่อับอากาศแบบหน่วยฝึกอบรมนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 11
  2. จัดฝึกอบรมที่อับอากาศแบบนายจ้างจัดอบรมเอง (In-House Training)

ข้อดีข้อเสียการจัดอบรมที่อับอากาศในแต่ละแบบ

ข้อดีข้อเสีย อบรมอับอากาศ มาตรา 11

ข้อดีข้อเสีย อบรมอับอากาศ นายจ้างจัดเอง

คุณสมบัติผู้เข้าอบรมที่อับอากาศมีอะไรบ้าง

  1. มีอายุไม่ต่ากว่า 18 ปีบริบูรณ์
  2. มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคเก่ียวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ
  3. ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องผ่านการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นมาแล้ว

5 ขั้นตอนการจัดอบรมที่อับอากาศ แบบนายจ้างจัดอบรมเอง (In-House Training)

  1. หาวิทยากรสอนหลักสูตรที่อับอากาศที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด
  2. แจ้งราชการก่อนจัดอบรมจะต้องแจ้งก่อน 7 วัน นับจากวันอบรมจริง
  3. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการฝึกภาคปฏิบัติ 5 รายการตามที่กฎหมายกำหนด (ส่วนใหญ่วิทยากรที่บริการฝึกอบรมจะเป็นผู้เตรียมมาด้วยให้แบบเบ็ดเสร็จ)
  4. เตรียมห้องอบรมภาคทฤษฎี 1 ห้อง เข้าอบรมได้ไม่เกิน 30 คน
  5. เตรียมสารประกอบการฝึกอบรม และ เตรียมข้อสอบต่างๆ
  6. เตรียมสถานที่สำหรับการฝึกภาคปฏิบัติ สามารถปฏิบัติในสถานที่จริง หรือ มีลักษณะเหมือนสถานที่จริงได้

ตัวอย่างการจัดอบรมที่อับอากาศ แบบนายจ้างจัดเอง (อินเฮ้าส์)

เครดิตภาพจาก
ศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัย เซฟสิริ และ CPF

สรุป :

การอบรมที่อับอากาศแบบนายจ้างจัดอบรมเอง (In-House Training) มีความเหมาะสมกับสถานประกอบการที่พนักงานทำงานในพื้นที่ของตนเองไม่ออกไปทำงานภายนอกบริษัท การจัดอบรมแบบอินเฮ้าส์ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง ช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องให้พนักงานเดินทางออกไปภายนอกบริษัท ไม่ต้องเสียค่าที่พักกรณีอยู่ไกล

แต่.. การจัดอบรมแบบอินเฮ้าส์นี้ไม่เหมาะกับบริษัทผู้รับเหมาที่มีการทำงานแบบเปลี่ยนสถานที่ทำงานบ่อยๆ แนะนำให้อบรมแบบนิติบุคคลดีกว่าเพราะสามารถทำงานได้ทุกที่ ใครสะดวกแบบไหนก็ลองพิจาณาตามความเหมาะสม

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular