spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ปั้นจั่น คืออะไร : เรียนรู้ปั้นจั่น หรือ เครน เครื่องจักรสำหรับยกเคลื่อนย้ายสิ่งของหนัก

ปั้นจั่น คืออะไร

ว่าด้วยอุปกรณ์การก่อสร้างในเขตก่อสร้างทั่วไปแล้ว ก็เรียกได้ว่ามีทั้งของใหญ่และของเล็ก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนใช่วยในการก่อสร้างให้เป็นไปอย่างสำเร็จลุล่วงทั้งสิ้น โดยสิ่งของพวกนี้ล้วนแล้วแต่จะถูกใช้ในหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป โดยในส่วนของเล็กนั้นอาจจะเป็นงานซ่อมแซมหรือก่อสร้างสิ่งที่ไม่ใหญ่มากในบ้าน และในส่วนของของใหญ่ อันนี้จะเป็นงานที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเช่น การสร้างบ้าน หรือสร้างคอนโดที่มีจำนวนชั้นของอาคารที่สูงลิบลิ่ว จึงจำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ในการช่วยก่อสร้าง และหนึ่งในนั่นก็คือ ปั้นจั่น

ปั้นจั่น หรือ เครน คือเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการยกสิ่งของหรือวัสดุตามแนวดิ่งและแขวนสิ่งของในลักษณะแนวราบโดยปั้นจั่นนั้นมีองค์ประกอบหลักอยู่ที่ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็นเสาตั้งซึ่งจะต่อด้วยเสาเหล็กขึ้นไปทีละส่วนเพื่อที่จะทำให้มันทำหน้าที่ยกขึ้นไปนั่นเองและอีกส่วนก็คือส่วนที่เป็นแนวนอนที่จำเป็นจะต้องติดตั้งด้วยเครนและชิ้นส่วนของปั้นจั่นยังมีด้วยกัน 6 ชิ้นส่วนนั่นก็คือ

  • แขนบูม เป็นแขนโลหะซ้อนกัน ซึ่งสามารยืด-หดได้ด้วยระบบไฮดรอลิคในตัวมัน มีความสามารถในการช่วยยกน้ำหนักและยิ่งยืดออกไปเท่าไหร่ ก็ยังทำให้ตัวปั้นจั่นไม่ล้มเท่านั้น
  • กว้าน จะช่วยในการควบคุมลวดสลิงของั้นจั่นในการยกสิ่งของขึ้นมา โดยจะมีระบบของรอกชุดและสวดสลิงในการช่วยผ่อนแรงอยู่นั่นเอง
  • ขายันพื้น ซึ่งจะช่วยทำให้ตัวปั้นจั่นไม่เอียงไปเอียงมาขณะกำลังยกสิ่งของอยู่
  • น้ำหนักถ่วง จะช่วยทำให้ปั้นจั่นสมดุล
  • ลวดสลิงปั้นจั่น มีลักษณะเป็นเกลียวละเอียด 
  • ตะขอ เป็นส่วนที่จะช่วยในการยกสิ่งของ ด้วยการเกี่ยวของขึ้นมานั่นเอง

ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวนี้สามารถใช้งานได้ในพื้นที่จำกัด ซึ่งสาเหตุนั้นมันเกิดมาจากข้อจำกัดของโครงสร้างซึ่งมันทำให้สามารถเคลื่อนย้ายไปในทิศทางของอุปกรณ์ชิ้นนี้เท่านั้น ซึ่งปั้นจั่นนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ที่ได้ยึดเกณฑ์ในการเคลื่อนที่ ได้แก่

1. ปั้นจั่นแบบอยู่กับที่หมายถึงปั้นจั่นที่ต้องติดอยู่กับอุปกรณ์ใดๆก็ตามที่มีการเคลื่อนที่จำกัดเช่นติดอยู่กับล้อเลื่อนซึ่งจะเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมหรือการก่อสร้างอาคารที่มีความสูงหลายเมตรเป็นต้นซึ่งในส่วนของปั้นจั่นแบบอยู่กับที่ยังแบ่งออกมาเป็นประเภทย่อยๆ อีก 2 ประเภทคือ

1.1 ปั้นจั่นแบบเหนือศีรษะ มีลักษณะเป็นสะพานที่เคลื่อนที่ได้
1.2 ปั้นจั่นแบบขาสูง มีลักษณะที่คล้ายกับปั้นจั่นแบบเหนือศีรษะ แต่จะมีตัวสะพายที่วางอยู่บนขาของปั้นจั่นนั่นเอง

ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ ปจ.2

2. ปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่หมายถึงปั้นจั่นที่ต้องติดตั้งกับอุปกรณ์ใดๆที่สามารถเคลื่อนที่ได้เช่นติดกับรถยนต์เป็นต้นซึ่งในปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่นี้ก็ยังมีการแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆอีก 4 ประเภทคือ

2.1 รถเครนตีนตะขาบคือปั้นจั่นที่ถูกติดตั้งกับตัวรถที่มีการเคลื่อนที่ด้วยตีนตะขาบและส่วนใหญ่มีบูมเป็นแบบบูมสานซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่กำลังจะเริ่มก่อสร้าง
2.2 รถเครนล้อยางซึ่งเป็นตัวรถติดปั้นจั่นที่ขับเคลื่อนไปด้วยล้อยางสามารถวิ่งได้เร็วเหมือนรถบรรทุกเหมาะแก่การทำงานในพื้นที่ที่ขรุขระ
2.3 รถเครนสี่ล้อเป็นรถติดปั้นจั่นที่เหมาะแก่การทำงานในพื้นที่ขรุขระแต่ไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องเดินทางไกล
2.4 ปั้นจั่นติดรถบรรทุกเป็นรถบรรทุกที่ติดตั้งปั้นจั่นเอาไว้ซึ่งเหมาะแก่การใช้ยกของขึ้นไว้บนหลังรถบรรทุก

การใช้ปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัย

หลังจากที่เราได้เรียนรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะของปั้นจั่นแล้วอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราควรจะเรียนรู้ก็คือการใช้ปั้นจั่นให้ถูกต้องและปลอดภัยนั่นเองโดยมีวิธีการดังนี้

  1. ผู้ควบคุมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมปั้นจั่น หรือจะเป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายวัสดุ ควรมีความรู้ในกฎในการใช้ที่ความปลอดภัยและสัญญาณมือในขณะเคลื่อนย้ายสิ่งของ และต้องสวมชุดปฏิบัติงานและสวมอุปกรณ์นิรภัยอย่างรัดกุม
  2. หากห้องควบคุมปั้นจั่นอยู่สูงจากพื้น ขั้นบันได้จะต้องแข็งแรงและมีกรอบครอบบันไดไว้เพื่อป้องกันการตกลงไป
  3. ก่อนเปิดสวิตซ์ใหญ่ที่ควบคุมการทำงาน ควรตรวจปุ่มควบคุมการทำงานว่ายังปิดอยู่ และเมื่อเปิดสวิสตช์แล้ว ให้ลองทดสอบระบบการทำงานต่าง ๆ หลังจากนั้น
  4. ควรรู้น้ำหนักของสิ่งของที่จะยก รวมถึงคุณสมบัติในการยกน้ำหนักของตัวรถที่จะใช้ยกสิ่งของนั้น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการชำรุดขึ้น
  5. ควรดำเนินการอย่างค่อยเป็นคอยไปในการใช้ครั้งแรก โดยควรยกขึ้นนิดหน่อยเพื่อตรวจสอบในการยกและความสมดุลของปั้นจั่น
  6. ในขณะที่มีการเคลื่อนย้ายหรือยกสิ่งของ สิ่งที่เราต้องระมัดระวังก็คือ

6.1 ไม่สัมผัสสิ่งกีดขวาง
6.2 ผู้ปฏิบัติงานห้ามเกาะบนสิ่งของที่ยก
6.4 หากจำเป็นต้องล็อคเครื่อง ในขณะที่กำลังแขวนสิ่งของกลางอาศ สิ่งที่เราควรทำ คือห้ามใช้เบรกเพียงอย่างเดียวในขณะปฏิบัติการเด็ดขาด
6.5 หากมีลมแรงจนทำให้สิ่งของแกว่งไปมา ต้องรีบวางทันที
6.6 ถ้าหากเราจำเป็นที่จะต้องวางของในระดับที่ต่ำมาก ๆ เราควรจะเหลือลวดสลิงไว้มากกว่า 2 รอบบนดรัม

7. หากต้องใช้ปั้นจั่นตั้งแต่ 2 เครื่องเป็นต้นไป ควรให้สัญญาณมือผู้ควบคุมการเคลื่อนย้ายเพียงคนเดียว

8. หากต้องปฏิบัติการใกล้สายไฟ ควรจะห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ควรจะต้องมีผู้คอยดูและให้สัญญาณเตือน

9. ถ้าจะมีการใช้ปั้นจั่นประเภทที่มีการถ่วงน้ำหนักด้านท้าย ต้องห้ามถ่วงเพิ่มจากที่กำหนดไว้

10. ควรมีแสงไฟในสถานที่ก่อสร้าง โดยแสงไฟนั้นจะต้องไม่รบกวนผู้ควบคุมปั้นจั่น

11. กรณีที่ใช้ปั้นจั่นบนอาคารสูง ต้องมีสัญญาณไฟหรือสัญญาณบอกตำแหน่งให้เครื่องบินทราบ

12. ในการยกสิ่งของในแนวดดิ่งนั้น รอกตะขอควรจะต้องตรงกับศูนย์กลางของน้ำหนักที่ยก และควรอยู่ตรงกึ่งกลางแขนของปั้นจั่น ซึ่งจะช่วยทำให้ปั้นจั่นมีเสถียรภาพมากขึ้น

13. เมื่อเราจะหยุดการใช้ปั้นจั่นแล้ว สิ่งที่เราควรทำมีดังนี้

13.1 ให้วางสิ่งของที่ยกอยู่ลงกับพื้น

13.2 เก็บอุปกรณ์ที่ถอดได้เข้าที่

13.3 ใส่อุปกรณ์ล็อคในชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้

13.4 ปลดสวิตซ์ใหญ่ให้ปั้นจั่น

14. ห้ามใครก็ตามที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับห้องปั้นจั่นเข้าไปข้างนาง

15. ไม่ควรมีเครื่องมือที่ไม่เกี่ยวข้องเก็บไว้ในห้องปั้นจั่น ยกเว้นถังดับเพลิง

16. ต้องบำรุงรักษาอุปกรณ์ทุกชิ้น โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องมีการเสียดสี

ดังนั้นปั้นจั่นจึงเป็นเครื่องจักรที่มีประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างเพราะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยในการยกสิ่งของหนักที่จำเป็นจะต้องใช้การยกลอยหรือต้องใช้ในอาคารสถานที่ที่มีความสูงควรตรวจเครนและบำรุงรักษาตามคู่มืออยู่เสมอเพื่อให้ปั้นจั่นสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular