spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ไซยาไนด์ (Cyanide) คืออะไร ข้อควรรู้ของสารเคมี ไซยาไนด์

ไซยาไนด์ Cyanide

นาทีนี้คงไม่พูดถึงไม่ได้สำหรับข่าวที่กำลังโด่งดังในตอนนี้นั่นคือข่าวการฆาตกรรมผู้คนจำนวนมากด้วยยาพิษที่มีชื่อว่าไซยาไนด์ซึ่งไซยาไนด์เป็นสารพิษที่มีความเป็นอันตรายสูงถูกใช้เป็นยาพิษในการฆาตรกรรมและถูกพูดถึงในการ์ตูนญี่ปุ่นชื่อดังอย่างเช่นนักสืบจิ๋วโคนันวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับไซยาไนด์ว่าเป็นสารอะไรทำไมถึงใช้ในการมาตรกรรมคนจำนวนมากได้อย่างง่ายดาย

ไซยาไนด์ (Cyanide) คืออะไร

ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารเคมีอันตรายที่มีความเป็นพิษสูง อยู่ในรูปของของแข็ง ของเหลว แก๊ส เช่น Hydrogen Cyanide, Potassium Cyanide, Sodium Cyanide ซึ่งไซยาไนด์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น

  • การสกัดแร่
  • ผลิตกระดาษ
  • พลาสติก
  • หนังเทียม

ไซยาไนด์ Cyanide พบได้ในแหล่งธรรมชาติ

ไซยาไนด์ Cyanide พบได้ในแหล่งธรรมชาติ เช่น อัลมอนด์ แอปเปิล มันสำปะหลังดิบ หน่อไม้สด และถั่วบางชนิดอีกด้วยสามารถปนเปื้อนได้ทั้งในอากาศ ดิน น้ำ และอาหาร แต่หากมีปริมาณไซยาไนด์เพียงเล็กน้อยที่พบในพืชและกระบวนการเผาผลาญไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และ นอกจากนี้สารเคมีหลายชนิดที่มีไซยาไนด์เป็นสารประกอบเช่นไฮโดรเจนไซยาไนด์โซเดียมไซยาไนด์โพแทสเซียมไซยาไนด์ยังจัดเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อีกด้วย

ไซยาไนด์มีอันตรายอย่างไร

ในทางการแพทย์รู้กันดีว่าไซยาไนด์เป็นสารพิษ ที่มีความเป็นอันตรายสูงมาก สามารถใช้เป็นอาวุธสังหารได้ ซึ่งไซยาไนด์สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส การสูดดม หรือแม้แต่การรับประทานเข้าไป โดยอาการหลังจากได้รับไซยาไนด์เข้าสู่ร่ายกายจะมีอาการที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีการรับสัมผัสซึ่งหากเพียงแค่สัมผัสทางตาหรือผิวหนังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณที่รับสัมผัส

แต่หากได้รับไซยาไนด์ทางการหายใจหรือรับประทานเข้าไป อาการก็จะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เช่น ร่างกายอ่อนแรง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น ซึ่งความรุนแรงของอาการหลังจากได้รับสัมผัสอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณ ชนิด และระยะเวลาในการรับสัมผัสด้วย

ไซยาไนด์ยังเป็นสารพิษที่ยับยั้งการหายใจในระดับเซลล์ทำให้เซลล์ไม่สามารถใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงานส่งผลให้อวัยวะที่ใช้ออกซิเจนและพลังงานสูงเช่นสมองและหัวใจไม่สามารถทำงานได้ซึ่งหากได้รับในปริมาณความเข้มข้นสูงอาจทำให้เสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้

อาการเมื่อได้รับสัมผัส ไซยาไนด์ Cyanide

อาการเมื่อได้รับสัมผัสไซยาไนด์

อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ไซยาไนด์เป็นสารพิษที่มีความเป็นอันตรายสูง เมื่อร่างกายได้รับสัมผัสย่อมไม่ส่งผลดีอย่างแน่นอน เรามาดูกันว่าอาการของผู้ที่ได้รับสัมผัสจะเป็นอย่างไร

  • แบบเฉียบพลัน : หากได้รับสัมผัสไซยาไนด์ในปริมาณและความเข้มข้นสูงอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นแบบเฉียบพลันคือเกิดขึ้นแบบทันที มีความเป็นอันตรายร้ายแรงมาก เช่น หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ หัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก หมดสติ และนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด
  • แบบเรื้อรัง : เป็นการได้รับสัมผัสในปริมาณน้อยแบบต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะไม่ได้ทำให้เสียชีวิตในทันทีแต่จะมีอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง และอาจมีอาการอื่นๆ เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งหากได้รับสัมผัสไซยาไนด์เป็นระยะเวลานานจะทำให้ผิวหนังบริเวณใบหน้าและแขนขากลายเป็นสีม่วง

การปฐมพยาบาล ไซยาไนด์ Cyanide

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และ การรักษา

ไซยาไนด์เป็นสารพิษที่มีอันตรายสูง การช่วยเหลือเบื้องต้นคงทำได้กับผู้ที่ได้รับสัมผัสทางดวงตาหรือผิวหนังเท่านั้น โดยการให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออก ล้างด้วยน้ำและสบู่ หากได้รับสัมผัสโดยการกลืนกินห้ามล้วงคอให้อาเจียนเพราะไซยาไนด์ดูดซึมได้เร็ว และห้ามฝายปอดเด็ดขาด การรักษาทำได้โดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น

สรุป

ไซยาไนด์เป็นสารพิษที่มีความเป็นอันตรายสูงหากได้รับสัมผัสเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะในปริมาณความเข้มข้นน้อยหรือมากย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายซึ่งหากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ในทันทีหรือหากได้รับในปริมาณน้อยแต่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกันแต่อาจจะใช้ระยะเวลานานโดยทั่วไปแล้วจะไม่มีการใช้สารพิษชนิดนี้ยกเว้นว่าใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการผลิต

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular