spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ป้ายหนีไฟ : ข้อมูลการติดตั้ง และ ตรวจสอบโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

ป้ายทางออกฉุกเฉิน

โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit Sign Luminaire Standard)

ป้ายทางออกและไฟฉุกเฉินช่วยในการอพยพอย่างปลอดภัยจากอาคารที่ซับซ้อนเมื่อเกิดอัคคีภัยหรือภัยธรรมชาติทำให้อาคารที่ไม่มีไฟฟ้าในขณะนั้นสามารถมีแสงสว่างและนำผู้ที่อยู่ภายในอาคารออกมาสู่ภายนอกได้อย่างปลอดภัย 

ป้ายทางออกฉุกเฉิน  คืออะไร

ป้ายทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit Sign) หมายถึง ป้ายที่ใช้แสดงทางออกฉุกเฉิน หรือทางหนีภัย เพื่อให้สามารถนำผู้ที่อยู่ภายในอาคาร ออกมาสู่ภายนอกได้อย่างปลอดภัย

ทำไมต้องติดตั้งป้ายทางหนีไฟ

การติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงทางออกจากภายในอาคารไปยังทางออกสุดท้ายของอาคาร เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในสามารถออกไปสู่ภายนอกได้อย่างปลอดภัย และนอกจากเพื่อความปลอดภัยแล้วการติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉิน ยังเป็นข้อกำหนดของกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555

ป้ายที่ใช้แสดงทางออกฉุกเฉิน

ข้อ 11 ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายบอกทางหนีไฟที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  1. ขนาดของตัวหนังสือต้องสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร และเห็นได้อย่างชัดเจน
  2. ป้ายบอกทางหนีไฟต้องมีแสงสว่างในตัวเองหรือใช้ไฟส่องให้เห็นได้อย่างชัดเจนตลอดเวลา ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้สี หรือรูปร่างที่กลมกลืนไปกับการตกแต่งหรือป้ายอื่นๆ ที่ติดไว้ใกล้เคียง หรือโดยประการใดที่ทำให้เห็นป้ายไม่ชัดเจนนายจ้างอาจใช้รูปภาพบอกทางหนีไฟตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทั้งนี้ ต้องให้เห็นเอย่างชัดเจน และ ต่อมาได้ออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยแก้ไขในส่วนของข้อ (1) ตัวอักษรต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าสิบเซนติเมตร และ มองเห็นได้อย่างชัดเจน

มาตรฐานป้ายทางออกฉุกเฉิน

  • กรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.)
    มยผ.8301 : มาตรฐานการออกแบบเส้นทางหนีไฟ ได้กำหนด ไว้ในข้อ 3.1.8.4 รูปแบบป้ายทางออกหนีไฟ โดยกำหนดรายละเอียดของป้ายเอาไว้อย่างชัดเจน
  • วิศวกรรมศถานแห่งประเทศไทย (วสท.)
    มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน V.4-2018 โดยระบุรายละเอียดของป้ายทางออกฉุกเฉินเอาไว้เช่นกัน ปัจจุบันอาคารที่สร้างใหม่มักจะใช้เป็นรูปแบบตามมาตรฐานของวสท. เนื่องจากมีความทันสมัยและสวยงามแต่รูปแบบของมยส. ยังคงพบเห็นอยู่ในสถานที่ที่ถูกสร้างมานานแล้ว

การเลือกใช้โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินตามมาตรฐาน วสท.

องค์ประกอบภาพ และ รูปร่าง

  • ต้องมีองค์ประกอบภาพ 1 ชิ้น หรือ 2 ชิ้น ประกอบร่วมกัน ให้เป็นไปตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตามนี้เท่านั้นตัวอย่าง ป้ายทางออกฉุกเฉินตามมาตรฐาน วสท.
  • โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินต้องมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส
  • ป้ายตัวอักษร ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นป้ายโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน แต่สามารถใช้เสริมประกอบได้ โดยให้ทำเป็นป้ายแยกอิสระออกจากกัน

ตำแหน่งขององค์ประกอบภาพ

  • กรณีใช้องค์ประกอบภาพ 1 ชิ้น ให้วางที่ตำแหน่งศูนย์กลางของป้ายทางออก
  • กรณ๊ใช้องค์ประกอบภาพ 2 ชิ้น ให้วางองค์ประกอบภาพชิดกันโดยคั่นด้วยช่องแบ่งกลาง โดยให้องค์ประกอบภาพรวมทั้งหมดอยู่ที่ตำแหน่งศูนย์กลางของโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

พื้นที่ป้ายเพิ่มเติม

พื้นที่ป้ายเพิ่มเติมต้องมีสีเดียวกับสีขององค์ประกอบภาพ

  • กรณีใช้องค์ประกอบภาพ 1 ชิ้น ต้องมีพื้นที่ป้ายเพิ่มเติมไม่น้อยกว่าพื้นที่ขององค์ประกอบภาพ
  • กรณีใช้องค์ประกอบภาพ 2 ชิ้น ต้องมีพื้นที่ป้ายเพิ่มเติมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่รวมขององค์ประกอบภาพ

ตัวอย่างมาตรฐาน ป้ายหนีไฟ

ขอบป้าย (ถ้ามี)

ขอบป้ายต้องเป็นสีขาวโปร่งแสง ที่เป็นไปตามข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  • เป็นขอบต่อเนื่องทั้ง 4 ด้านของโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน
  • เป็นขอบบนและขอบล่างของโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน
  • เป็นขอบซ้ายและขอบขวาของโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน
  • มีขนาดพื้นที่รวมไม่เกินร้อยละ 20 ของขนาดโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินที่ไม่รวมพื้นที่ของขอบป้าย

มาตรฐาน สี ป้ายหนีไฟ

สัญลักษณ์ลูกศร และประตูขององค์ประกอบภาพต้องเป็นสีขาว ฉากหลังขององค์ประกอบภาพและพื้นที่เพิ่มเติมต้องเป็นสีเขียว

ขนาดขององค์ประกอบภาพ

องค์ประกอบภาพที่ปรากฎบนโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินใดๆ ต้องมีขนาด 10 เซนติเมตร 15 เซนติเมตร 20 เซนติเมตร หรือใหญ่กว่า และต้องมีขนาดเป็นสัดส่วนโดยตรงที่สมนัยกับองค์ประกอบภาพ

ขนาดของโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

องค์ประกอบภาพป้ายทางออก

 

ขนาดของโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

ชนิดของแบตเตอรี่

แบตเตอรี่ที่ใช้ต้องเป็นแบบหุ้มปิดมิดชิดและไม่ต้องมีการบำรุงรักษา เช่น แบตเตอรี่ชนิดนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์แบบหุ้มปิดมิดชิด (sealed nickel-metal hydride) หรือแบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรดแบบหุ้มปิดมิดชิด (sealed lead acid) เป็นต้น

ความจุของแบตเตอรี่

แบตเตอรี่ต้องจ่ายไฟได้นานไม่น้อยกว่า 120 นาที โดยมีแรงดีนไฟฟ้าต่ำสุดไม่นน้อยกว่าร้อยละ 80 ของแรงดันพิกัดปกติ และมีระยะเวลาอัดประจุ (recharge time) นานไม่เกิน 24 ชั่วโมง

สัญญาณแสดงความล้มเหลวของแบตเตอรี่

โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน ต้องมีอุปกรณ์เพื่อแสดงความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟปกติ ต้องส่องสว่างนานไม่น้อยกว่า 60 นาที และกลับสู่สภาพปกติโดยอัตโนมัติ ในกรณีที่แบตเตอรี่ไม่สามารถจ่ายไฟได้นานถึง 60 นาที ในระหว่างการทดสอบ ระบบต้องมีสัญญาณแสดงความล้มเหลวของแบตเตอรี่

ป้ายหนีไฟ แบบแขวนลอย

ป้ายหนีไฟแบบฝังฝ้าเพดาน

การติดตั้งตามมาตรฐาน วสท.

ความสูงของการติดตั้งป้ายหนีไฟ

โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินให้ติดตั้งด้านบนเพื่อสังเกตเห็นได้ง่าย กรณีที่คาดว่าควันมีปัญหาทำให้มองเห็นป้ายทางออกไม่ชัดเจน อาจเพิ่มโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินติดตั้งที่ด้านล่าง กรณีที่ติดตั้งตามที่กำหนดไม่ได้ให้ปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้อง

ป้ายทางออกด้านบน

ขอบล่างของป้ายสูงจากพื้นประมาณ 2 – 2.7 เมตร ความสูงนอกเหนือจากนี้ สามารถทำได้ตามที่กำหนดในแผนและคู่มือการป้องกันเพลิงไหม้ (Fire procedure)

ป้ายทางออกด้านล่าง

ป้ายทางออกด้านล่างให้ใช้เป็นป้ายเสริมเท่านั้น โดยขอบล่างของป้ายสูงจากพื้นระหว่าง 15 เซนติเมตร กับ 20 เซนติเมตร และขอบของป้ายอยู่ห่างจากขอบประตูไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร

ป้ายทางออกฝังพื้น 

ป้ายทางออกฝังพื้นให้ใช้เป็นป้ายเสริมเท่านั้น ต้องเป็นชนิดกันน้ำที่มีความแข็งแรง เหมาะสำหรับใช้ในเส้นทางหนีภัย โดยไม่ก่อให้เกิดการสะดุดหรือเป็นอุปสรรคในขณะหนีภัย

ตัวอย่าง บันไดหนีไฟ

ระยะห่างระหว่างป้ายทางออก

ระยะห่างระหว่างป้ายทางออกด้านบนสำหรับสัญลักษณ์ที่มีความสูง 10 เซนติเมตร ต้องมีระยะไม่เกิน 24 เมตร โดยติดตั้งตามเส้นทางที่นำไปสู่ทางออก และให้ติดตั้งป้ายทางออกด้านบนเพิ่มเติมที่จุดทางเลี้ยว ทางแยก และเหนือประตูทางออกสุดท้าย (Final Exit) หารด้วย 240

ระยะห่างระหว่างป้ายสูงสุด

ระยะห่างระหว่างป้ายสูงสุดของโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินให้เป็นไปตามตารางดังต่อไปนี้
ขนาดขององค์ประกอบภาพ (a) ระยะห่างระหว่างป้ายสูงสุดไม่เกิน (เมตร)
10 เซนติเมตร 24
15 เซนติเมตร 36
20 เซนติเมตร 48
> 20 เซนติเมตร 2.4a

 

การตรวจสอบป้ายทางออกฉุกเฉิน

ความล้มเหลวของระบบไฟฟ้าแสงสว่างปกติเกิดขึ้นได้ทุกเวลา จึงต้องมีการตรวจสอบและทดสอบโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินตามระยะเวลาที่กำหนด โดยแบ่งเป็นดังนี้

การติดตั้งใหม่

โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินต้องได้รับการตรวจสอบและทดสอบ โดยจำลองความล้มเหลวของระบบจ่ายไฟฟ้าปกติ ต้องส่องสว่างได้ตามพิกัดที่กำหนดและไม่น้อยกว่า 120 นาที ถ้าโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินมีสวิตช์ถ่ายโอนเมื่อโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินติดตั้งใช้งานในระบบแล้วต้องทดสอบโดยการตัดหรือยกเลิกการทำงานของสวิตช์ไฟฟ้าเพื่อแสดงว่าโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินยังคงส่องสว่าง

การตรวจสอบราย 3 เดือน

โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินต้องได้รับการตรวจสอบและทดสอบ โดยจำลองความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ ต้องส่องสว่างได้ตามพิกัดที่กำหนดและไม่น้อยกว่า 60 นาที กรณีแบตเตอรี่ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้นานถึง 60 นาที ในระหว่างการทดสอบ ระบบต้องมีสัญญาณแสดงความล้มเหลวของแบตเตอรี่ และต้องทำทุก 3 เดือน 

การตรวจสอบรายปี

โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินต้องได้รับการตรวจสอบและทดสอบ โดยจำลองความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ ต้องส่องสว่างได้ตามพิกัดที่กำหนดและไม่น้อยกว่า 90 นาที โดยต้องทำทุก 1 ปี 

ป้ายทางออกฉุกเฉินมาตรฐาน OSHA

กำหนดให้นายจ้างติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉินที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนที่บริเวณทางออกทั้งหมด และ นายจ้างต้องจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอตามเส้นทางออกเพื่อให้มองเห็นได้ตลอดเวลา ป้ายทางออกจะต้องมีสีที่โดดเด่น และ มีไฟส่องสว่างตลอดเวลา และ ต้องไม่มีของตกแต่งที่ทำให้ประสิทธิภาพการมองเห็นป้ายทางออกลดลง

ป้ายทางออกฉุกเฉินมาตรฐาน NFPA

กำหนดค่าการส่องสว่างที่สามารถมองเห็นได้สำหรับป้ายทางออก และ ไฟสัญญาณในข้อกำหนด NFPA : 101 Lift Safety Code และ ข้อกำหนดของ OSHA และ NFPA ที่เหมือนกันคือต้องการให้ป้ายทางออกที่ส่องสว่างเท่ากับ 5 ฟุตแคนเดิล เพื่อรักษาสภาพการมองเห็นอย่างต่อเนื่อง

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular