spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ทุกเรื่องเกี่ยวกับ : มาตรฐานถังดับเพลิงประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

fire extinguisher ถังดับเพลิง

ประมาณ 80% ของการเกิดเพลิงไหม้เราสามารถใช้ถังดับเพลิงก็เพียงพอแล้วสำหรับการดับไฟขั้นต้น ดังนั้นต้องมั่นใจว่าความสูง และ ตำแหน่งของการติดตั้งถังดับเพลิงมีความเหมาะสม ทำให้สามารถช่วยชีวิตได้ในหลายกรณีและนี่คือเหตุผลที่องค์กรสากลอย่างเช่น NFPA หรือ OSHA ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับเครื่องดับเพลิงไว้

เครื่องดับเพลิงคืออะไร

เครื่องดับเพลิง หรือที่เราเรียกกันว่า ถังดับเพลิง

ตามกฎหมายกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ได้ให้ความหมายของเครื่องดับเพลิงไว้ว่า

เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้  หมายความว่า เครื่องดับเพลิงที่มีลักษณะเป็นอุปกรณ์เคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก และใช้งานด้วยมือ ภายในบรรจุสารดับเพลิงซึ่งสามารถขับออกโดยใช้แรงดัน

เครื่องดับเพลิงมีกี่ชนิด

เครื่องดับเพลิงมีหลายประเภท ถูกออกแบบมาเพื่อดับไฟตามประเภทของเพลิงที่แตกต่างกัน การเลือกเครื่อง

ดับเพลิงที่เหมาะสม คือข้อควรพิจารณาที่สำคัญ เพราะหากใช้เครื่องดับเพลิงผิดประเภท อาจทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม โดยสามารถแบ่งประเภทของเครื่องดับเพลิงได้ ดังต่อไปนี้

 

เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง

  • เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Extinguishers) เหมาะกับการดับเพลิงหลายชนิด ทั้งประเภท A , B และ C หรือ B และ C ขึ้นอยู่กับผงเคมีแห้งที่บรรจุไว้

 

เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย

  • เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย HCFC-123 (Halotron EXtinguisher) เป็นสารเคมีเหลวที่มีความเย็นจัดไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ไม่ทิ้งคราบสกปรก ดับได้ทั้งประเภท A , B , C หรือ B , C ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องดับเพลิง เหมาะกับห้องคอมพิวเตอร์ หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์

 

เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำยาโฟม

  • เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำยาโฟม (Foam Extinguishers) ใช้ดับเพลิงประเภท A และ B แต่ไม่สามารถใช้ดับเพลิงประเภท C ได้ เนื่องจากโฟมมีส่วนผสมของน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า เหมาะกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเชื้อเพลิงและสารระเหยติดไฟ ที่พักอาศัย ปั๊มน้ำมัน

 

เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

  • เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide (CO2) Extinguisher) ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัดของน้ำแข็งแห้ง (Dry Ice) ไม่ทิ้งคราบสกปรก ใช้ดับเพลิงประเภท B และ C เหมาะกับโรงานที่มีไลน์การผลิตขนาดใหญ่ โรงอาหาร ห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 

เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำ

  • เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguisher) เหมาะกับเพลิงประเภท A เช่น ไม้ กระดาษ พลาสติก ผ้า

 

เครื่องดับเพลิงชนิด Wet Chemical Class K

  • เครื่องดับเพลิงชนิด Wet Chemical Class K บรรจุ Potassium Acetate ใช้ดับเพลิงประเภท K ที่เกิดจากน้ำมัน เหมาะกับห้องครัว ร้านอาหาร

ในการตรวจเช็คถังดับเพลิงแต่ละชนิดว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่หากเป็นถังดับเพลิงที่มีเกจวัดแรงดันให้ดูที่เกจว่าอยู่ในช่วงสีเขียวหรือไม่และหากเป็นชนิด CO2 ให้นำไปชั่งน้ำหนักหากลดลงเกิน 20% ให้นำไปอัดก๊าซเพิ่ม

 

 

มาตรฐานที่เกี่ยวกับเครื่องดับเพลิง

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ได้กำหนดมาตรฐานเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ ไว้ดังนี้

  • มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association : NFPA)
  • มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI)
  • มาตรฐานประเทศออสเตรเลีย (Australia Standards : AS)
  • มาตรฐานประเทศอังกฤษ (British Standard : BS)
  • มาตรฐานองค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization : ISO)

มาตรฐาน ตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน กำหนดไว้ดังนี้

  • มอก. 332 เครื่องดับเพลิงยกหิ้วชนิดผงเคมีแห้ง
  • มอก. 881 เครื่องดับเพลิงยกหิ้ว : คาร์บอนไดออกไซด์
  • มอก. 882 เครื่องดับเพลิงยกหิ้ว : โฟม
  • มาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า

 

การติดตั้งและการตรวจเช็ค ตามกฎหมาย

การติดตั้งตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555

ข้อ 13 ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ โดยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  1. จัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ตามประเภทของเพลิง และเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด
  2. เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ทุกเครื่อง ต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นชนิดใด ใช้ดับเพลิงประเภทใด และเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์นั้นต้องมีขนาดที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
  3. ห้ามใช้เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่อาจเกิดไอระเหยของสารพิษ เช่น คาร์บอนเตตราคลอไรด์
  4. จัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ตามจำนวน ความสามารถของเครื่องดับเพลิง และการติดตั้ง ดังต่อไปนี้เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ใช้ดับเพลิงประเภท เอ จำนวน ความสามารถของเครื่องดับเพลิง และ การติดตั้ง ให้คำนวณตามพื้นที่ของสถานที่ซึ่งมีสภาพความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย โดยต้องมีระยะเข้าถึงไม่เกิน 22.50 เมตรในกรณีที่ใช้เครื่องดับเพลิงที่มีความสามารถในการดับเพลิงต่ำกว่าความสามารถในการดับเพลิงตามที่กำหนดไว้ ให้เพิ่มจำนวนเครื่องดับเพลิงให้ได้สัดส่วนตามพื้นที่ที่กำหนด ในการคำนวณเพื่อจัดให้มีเครื่องดับเพลิง ถ้ามีเศษของพื้นที่ให้นับเป็นพื้นที่เต็ม ที่ต้องเพิ่มจำนวนเครื่องดับเพลิงอีกหนึ่งเครื่อง และในกรณีมีพื้นที่เกินกว่าที่กำหนด ให้เพิ่มเครื่องดับเพลิงโดยคำนวณตามสัดส่วนของพื้นที่
ตารางการติดตั้งเครื่องดับเพลิงใช้ดับเพลิงประเภท เอ โดยคำนวณตามพื้นที่ของสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย

ความสามารถของเครื่องดับเพลิงเทียบเท่า

เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ใช้ดับเพลิงประเภท บี ความสามารถของเครื่องดับเพลิงที่ติดตั้ง ต้องมีระยะเข้าถึงตามตารางดังต่อไปนี้

 

ตารางการติดตั้งเครื่องดับเพลิงใช้ดับเพลิงประเภท บี ของสถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย

สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย

 

  • เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ใช้ดับเพลิงประเภท ซี การติดตั้งให้พิจารณาจากวัตถุซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงว่าจะทำให้เกิดเพลิงประเภท เอ หรือ บี และติดตั้งเครื่องดับเพลิงที่ใช้ดับเพลิงประเภทนั้น
  • เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ใช้ดับเพลิงประเภท ดี การติดตั้งให้มีระยะเข้าถึง ไม่เกิน 23 เมตร
  • ให้ติดตั้งหรือจัดวางเครื่องดับเพลิงในสภาพที่มั่นคง มองเห็นได้อย่างชัดเจน สามารถนำมาใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว
  • จัดให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดและวิธีการใช้เป็นภาษาไทยที่เห็นได้อย่างชัดเจน ติดไว้ที่ตัวถังหรือบริเวณที่ติดตั้ง
  • จัดให้มีการดูแลรักษาและตรวจสอบเครื่องดับเพลิงให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี โดยตรวจสอบต้องไม่น้อยกว่า 6 เดือน / ครั้ง พร้อมติดป้ายแสดงผลการตรวจสอบและวันที่ทำการตรวจสอบครั้งสุดท้ายไว้ที่อุปกรณ์ และต้องมีการซ่อมบำรุงและเปลี่ยนถ่ายสารดับเพลิงตามข้อกำหนดของผู้ผลิต

การติดตั้งตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552ได้กำหนดไว้ใน หมวด 3 เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ โดยกำหนดไว้ดังนี้

  • เครื่องดับเพลิงแบบมือถือต้องมีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 4.5 กิโลกรัม พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา โดยต้องมีการตรวจสอบสภาพและความพร้อมใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน / ครั้ง
  • การติดตั้งให้เป็นไปตามตารางดังต่อไปนี้

พื้นที่การติดตั้งถังดับเพลิง

  • และทุกๆ 5 ปี เครื่องดับเพลิงแบบมือถือจะต้องทดสอบการรับแรงดัน (Hydrostatic Test) เพื่อพิจารณาว่ายังสามารถใช้งานได้หรือไม่

 

ติดตั้ง ป้ายหรือสัญลักษณ์ ที่มองเห็นได้ชัดเจน

  • เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่ติดตั้งแต่ละเครื่องต้องห่างกันไม่เกิน 20 เมตร และให้ส่วนบนสุดสูงจากพื้นไม่เกิน 1.50 เมตร มีป้ายหรือสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ชัดเจน ไม่มีสิ่งกีดขวาง และต้องนำมาใช้งานได้สะดวก

มาตรฐานเครื่องดับเพลิงของ OSHA กำหนดไว้ว่า นายจ้างควร “จัดหาเครื่องดับเพลิงแบบพกพาและติดตั้งและชี้บ่งให้เห็นชัดเจน เพื่อให้ลูกจ้างสามารถเข้าถึงโดยง่าย โดยไม่ได้รับบาดเจ็บ”

OSHA ยังกำหนดไว้อีกว่าเครื่องดับเพลิงที่สามารถใช้ได้ต้องผ่านการรับรองเท่านั้นและจะต้องอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดเว้นแต่จะถูกนำไปใช้และนายจ้างต้องมั่นใจว่าเครื่องดับเพลิงอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานบำรุงรักษาอย่างดีและสามารถใช้งานได้

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular