spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รู้จักกับชุดป้องกันสารเคมี แนะนำวิธีเลือกอย่างไรให้เหมาะสม

ชุดป้องกันสารเคมี

ชุดป้องกันสารเคมี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของพนักงานที่ต้องจัดการหรืออาจสัมผัสกับวัสดุอันตราย อย่างไรก็ตามการเลือกชุดป้องกันที่เหมาะสมไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยประเภทที่หลากหลาย วัสดุที่แตกต่าง รวมถึงการออกแบบที่หลากหลาย ในหัวข้อนี้ Jorportoday จะมาแนะนำวิธีเลือกชุดป้องกันสารเคมีเบื้องต้น รวมถึงวิธีการดูแลและจัดเก็บให้เหมาะสมครับ

ชุดป้องกันสารเคมีคืออะไร

Chemical Protective Clothing : CPC หรือ ชุดป้องกันสารเคมี คือชุดที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันร่างกายของผู้ใช้งานไม่ให้ร่างกายสัมผัสกับวัสดุที่อาจจะเป็นอันตรายต่อการสัมผัสไม่ว่าจะเพียงครั้งเดียวหรือมีโอกาสสัมผัสซ้ำๆ

ถ้าจะนิยามถึงชุดป้องกันสารเคมีเพิ่มเติมผมขอนำข้อมูลส่วนนี้จากหน่วยงานที่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับสากล “OSHA” โดยคู่มือทางเทคนิกของ OSHA หมวดที่ VIII บทที่ 1 กำหนดไว้ว่าชุดป้องกันสารเคมีเป็นอุปกรณ์ที่ “ป้องกันหรือแยกบุคคลจากอันตรายทางเคมี กายภาพ และชีวภาพที่อาจพบในระหว่างการดำเนินการ”

ในหลายกรณี การสัมผัสกับสารเคมีสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพและความปลอดภัยอย่างรุนแรง ในฐานะนายจ้างต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานของเราได้รับการปกป้องจากการสัมผัสสารเคมีทุกประเภท รวมทั้งจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันและควบคุมอันตรายที่เพียงพอ

สำหรับตัวชุดป้องกันสารเคมีมีหลากหลายประเภท วัสดุและการออกแบบชุดที่แตกต่างกันการเลือกใช้งานจึงต้องเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง เนื่องจากวัสดุแต่ละประเภทมีความทนทานต่อสารเคมีบางชนิดเท่านั้น ต่อไปนี้คือตัวอย่างของวัสดุ และผมจะอธิบายเกี่ยวกับชุดอย่างละเอียดในหัวข้อถัดๆไปครับ

วัสดุทั่วไปของชุดป้องกันสารเคมี

  • Butyl Rubber หรือ ยางบิวทิล (ทนทานต่อการซึมผ่านของสารเคมีส่วนใหญ่ได้สูง) : สามารถใช้งานกับการทำงานที่ต้องสัมผัสกับตัวทำละลายอินทรีย์ปริมาณน้อยถึงมาก และสารพิษเฉียบพลันหรือวัสดุอันตราย / เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานกับเเอสเทอร์และคีโตน
  • Neoprene หรือ ยางพอลีคลอโรพรีน เป็นยางสังเคราะห์ที่มีสมบัติความแข็งแรงทางกลที่ดี มีคุณสมบัติต้านทานการติดไฟ และมีแรงยึดติดที่ดีควบคู่ไปกับการมีสมบัติการทนต่อสภาพอากาศ ความร้อน และน้ำมัน / วัสดุชนิดนี้เหมาะกับการใช้งานที่มีโอกาสสัมผัสกับกรดและสารกัดกร่อนบางชนิด
  • Nitrile หรือ ไนไตรล์ : ไนไตรล์ให้การปกป้องจากน้ำมัน จารบี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม กรดและสารกัดกร่อนบางชนิด
  • PVC : โพลีไวนิลคลอไรด์ : พลาสติกสังเคราะห์ที่ทนทานต่อกรด ไขมัน และปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนส่วนใหญ่ได้ดีเยี่ยม ทนต่อการขัดถูได้ดี
  • Polyvinyl Alcohol (PVA) : โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ เป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถย่อยสลายได้โดยวิธีชีวภาพและติดไฟได้คล้ายกระดาษ นอกจากนี้ยังสามารถละลายในน้ำได้ แต่คุณสมบัติเด่นคือการทนการซึมผ่านของก๊าสได้ถูก ทนต่อสารเคมีเช่น ตัวทำละลายอะโรมาติกและคลอรีน ได้ดีเยี่ยม
  • Viton® II : เป็นยางที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นที่รู้กันดีว่ายางชนิดนี้มีความสามารถในการทนทานต่อความร้อนได้ที่อุณหภูมิสูง  (400° F / 200° C) ทนทานต่อสารเคมี ทนทานต่อการออกซิเดชันในชั้นบรรยากาศและ ทนทานต่อแสงแดด ให้ความทนทานต่อสารเคมีอย่างดีเยี่ยมต่อตัวทำละลายคลอรีนและอะโรมาติก
  • SilverShield : เทคโนโลยีใหม่ในการป้องกันสารเคมี ด้วยกระบวนการผลิตแบบซ้อนทับตัววัสดุถึง 5 ชั้น แต่มีความบางเพียง 2.7 mil เท่านั้น สามารถป้องกันสารเคมีประเภทอินทรีย์ได้มากถึง 90%  มีความทนทานต่อสารเคมีโดยรวมในระดับสูงสุด

การเลือกชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีและชีวภาพ

เมื่อต้องเลือกชุดป้องกันสารเคมีที่เหมาะสมกับงาน ปัจจัยที่สำคัญสองประการที่ควรพิจารณาคือ 1.ความสามารถในการป้องกัน และ 2.ความสะดวกสบายของพนักงาน ชุดที่เลือกไม่ควรให้เพียงการป้องกันที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ผู้ใส่ควรสวมใส่สบายด้วย

การเลือกใช้งานชุดที่ไม่เหมาะสมเกินความจำเป็นของการใช้งานไม่เพียงจะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น แต่ยังมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อความสะดวกสบายของพนักงาน เนื่องจากชุดป้องกันสารเคมี (CPC) ที่ป้องกันระดับสูงขึ้น ส่วนมากจะใหญ่ หนัก และมีความซับซ้อนมากกว่า (ที่สำคัญแพงกว่า!!)

ในกระบวนการคัดเลือกชุดป้องกันสารเคมี บริษัทและองค์กรส่วนใหญ่จะพึ่งพามาตรฐานจาก European CE ที่จะช่วยในการบ่งชี้ถึงระดับของการป้องกันอันตรายจากสารเคมีของชุดที่ได้เลือกใช้ ตั้งแต่การฉีดพ่นละอองลอยจนถึงการป้องกันแก๊สทั้งหมด ในบทความนี้เราก็จะใช้มาตรฐานี้เป็นหลักเช่นกันครับ

มาตรฐาน CE คืออะไร

เครื่องหมาย CE ย่อมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “Conformite Europeene ซึ่งมีความหมายเดียวกับคำใน ภาษาอังกฤษคือ “European Conformity” เดิมทีใช้เครื่องหมาย EC แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นเครื่องหมาย CE อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2536

เครื่องหมาย CE ที่ปรากฏอยู่บนสินค้าเป็นเครื่องหมายที่แสดงการรับรองจากผู้ผลิต (Manufacturer’s Declaration) ว่าสินค้านั้น มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป การมีเครื่องหมาย CE กำกับบนสินค้าจะทำให้สินค้านั้นสามารถวางจำหน่าย และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในเขตเศรษฐกิจยุโรป

สำหรับการเลือกชุดกันสารเคมีโดยใช้เกณฑ์การทดสอบของ CE จะช่วยให้คุณได้ชุดที่ได้รับรองมาตรฐานการป้องกันและความปลอดภัยสำหรับผู้สวมใส่อย่างแน่นอน โดยการทดสอบแต่ละชนิดมีรายละเอียดตังนี้ครับ

Type 1 EN 943-1 ชุดกันแก๊ส / Type 2 EN 943-1 ชุดกันแก๊ส

ข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพสำหรับชุดป้องกันสารเคมี ‘Gas tight’ (Type 1) และ ‘Non-gas-tight’ (ประเภท 2) ที่มีการระบายอากาศและไม่ระบายอากาศ

  • ประเภทที่ 1a: เครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศที่สวมใส่อยู่ด้านใน
  • ประเภทที่ 1b: เครื่องช่วยหายใจแบบมีถังอากาศสวมใส่ด้านนอก
  • ประเภทที่ 1c: การจ่ายอากาศผ่านระบบท่อลมอัด
  • ประเภทที่ 2: การระบายอากาศและแรงดันบวกโดยการจ่ายอากาศผ่านระบบท่อลมอัด

TYPE 3 EN 14605 Liquid Jet Suits

การกำหนดความต้านทานต่อการซึมผ่านของของเหลว โดยการทดสอบผ้า ตะเข็บ และข้อต่อด้วยแรงดันของเหลวด้วยการฉีดน้ำแรงดันสูง เพื่อทดสอบว่าตะเข็บปิดสนิททุกส่วน โดยเฉพาะบริเวณที่การป้องกันน้อยสุดอย่างบริเวณศีรษะ

TYPE 4 EN 14605 Liquid Jet Suits

การหาค่าความต้านทานการซึมผ่าน โดยการพ่นสเปรย์ของของเหลว จำนวน 4 หัวฉีด เพื่อทดสอบแรงตึงผิวต่ำของของเหลวบนเสื้อผ้าทั้งผืน และเพื่อทดสอบความอิ่มตัวของเนื้อผ้า ผ้า ตะเข็บ และข้อต่อ กำลังทดสอบใน Type 4 จะต่างจาก Type 3 ในส่วนของชนิดที่ 3 ใช้แรงดันสูง และชนิดที่ 4 เป็นการพ่นของเหลวแบบไม่มีแรงดัน

TYPE 5 EN ISO 13982-1 Particulate Tight Suits

การหาค่าการรั่วไหลภายในของละอองลอยและอนุภาคของแข็ง สำหรับการทดสอบชนิดนี้ เป็นการพ่นฝุ่นสี โดยการทดสอบจะใช้ผู้ใช้งานจริงสวมชุดและวิ่งบนลู่วิ่ง (ซิ่งจะมีท่าวิ่ง 3 รูปแบบที่เปรียบเทียบเสมือนการทำงานจริงในชีวิตประจำวันในท่าทางที่ต่างกัน) เพื่อหาค่าความรั่วไหลของอนุภาคว่าสมารถเข้าสู่ชุดได้หรือไม่ ชุดที่ดีต้องต่อด้านการรั่วไหลได้ทั้งหมด

ชุดเก็บกู้สารเคมีอันตราย

หลักการประเมินเบื้องต้นสำหรับการเลือกชุดป้องกันสารเคมี

ต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่านี้อาจจะไม่ใช่คำตอบที่แน่ชัดเกี่ยวกับวิธีเลือก แต่ขอแนะนำว่าขั้นตอนเบื้องต้นของการเลือกชุดป้องกันสารเคมีคือการประเมินสถานการณ์ของการทำงานจริง แล้วค่อยนำไปเลือกชนิดของชุดให้เหมาะสมโดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ร่างคำอธิบายรายละเอียดของงาน
  2. ดำเนินการประเมินอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
  • ระบุอันตรายทั้งหมดที่อาจจะต้องมีการป้องกันสารเคมี รวมถึงรายชื่อสารเคมีที่เกี่ยวข้องจากเอกสาร SDS ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนอันตรายทางกายภาพ เช่น การเสียดสี การฉีกขาด การเจาะ เปลวไฟ อุณหภูมิ และอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมหรือผลกระทบทางชีวภาพ
  • ตรวจสอบเอกสารข้อมูลความปลอดภัย และข้อมูลประกอบแหล่งอื่นๆ เพิ่มเติม

3. ระบุประเภทของการสัมผัสที่อาจจะเกิดขึ้น

  • ไอ แก๊ส หรือของเหลว
  • การต้องสัมผัสเป็นครั้งคราวหรือการป้องกันการกระเซ็ฯขอวสารเคมี
  • ประเมินระยะเวลาที่ผู้ใช่อาจสัมผัสกับสารเคมี

4. จดบันทึกผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการสูดดมหรือการสัมผัสทางผิวหนัง

  • ต้องคำนึงถึงการระคายเคืองหรือการกัดกร่อนของผัวหนังควบคู่ไปกับผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจะเกิดขึ้นกับร่างกายทั้งหมด

5.พิจารณาว่าการใช้ชุดป้องกันอาจก่อให้เกิดอันตรายใหม่หรือไม่

  • ตัวอย่างเช่น ชุดป้องกันสารเคมีที่ปิดสนิทสามารถทำให้ผู้ใช้งานเกิดความเครียดจากความร้อนในการสวมใส่ได้ ในขณะที่ถุงมือที่หนักเกินไปจะไปลดความคล่องแคล่วในการทำงาน และอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากอาจส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้า

6. ประเมินองค์กรของคุณว่ามีเครื่องมือ ความรู้ และอุปกรณ์เพียงพอที่จะสนับสนุนการกำจัดสิ่งปนเปื้อนหรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่ การพิจารณาเลือกชุดแบบใช้แล้วทิ้งน่าจะเหมาะสมกว่า

7. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชุดป้องกันสารเคมี หรืออุปกรณ์ที่ใช้ต้องได้รับการฝึกอบรม ฝึกซ้อมแนวทางปฏิบัติ และขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงหรือไม่

8.ตรวจสอบข้อกำหนดของผู้ผลิต หรือ ติดต่อตัวแทนจำหน่าย สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เข้าเกณฑ์การพิจารณา

การจัดเก็บและการบำรุงรักษาชุดป้องกันสารเคมี

สำหรับหัวข้อนี้จะพูดถึงบริษัทที่ได้เลือกซื้อชุดป้องกันสารเคมีที่สามารถทำความสะอาดและใช้ซ้ำได้ ส่วนถ้าการประเมินเบื้องต้นสรุปออกมาว่าบริษัทไม่มีทรัพยากรส่วนนี้การเลือกซื้อชุดที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งจะเหมาะสมกว่าครับ

สำหรับการจัดเก็บ OSHA ได้ระบุไว้ว่าการจัดเก็บอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีต้องป้องกันความเสียหายหรือการทำงานผิดพลาดโดยการทำให่แน่ใจว่าอุปกรณ์ของคุณไม่ได้สัมผัสกับสารเหล่านี้

  • ฝุ่น
  • ความชื่น
  • แสงแดด
  • สารเคมีอันตราย
  • อุณหภูมิแบบสุดขั้ว

ส่วนขั้นตอนการจัดเก็บเราขอยกมาจากคำแนะนำของผู้ผลิตชุดป้องกันสารเคมีที่แนะนำผู้ใช้งานในการจัดเก็บที่เหมาะสม และนี้คือแนวทางการจัดเก็บครับ

  • ห้าม!! จัดเก็บอุปกรณ์ที่ปนเปื้อนในที่เดียวกับเสื้อผ้าทั่วไป หรือ วัสดุที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมี
  • ควรจัดเก็บวัสดุปนเปื้อนในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อป้องกันการสะสมของไอระเหยที่อาจหลุดออกจากวัสดุ
  • ควรระบุและจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่คล้ายกันในที่เดียวกัน เพื่อตอบสนองความสะดวกสบายในการใช้งานที่ชัดเจน
  • ชุดป้องกันสารเคมีควรพับหรือแขวนตามคำแนะนำของผู้ผลิต

สำหรับหลังการใช้งานและการบำรุงรักษาผู้ใช้ควรกำจัดเฉพาะสิ่งปนเปื้อนด้วยวิธีการทำความสะอาดที่ได้รับคำแนะนำจากผู้ผลิตเท่านั้น การซ่อมแซมหรือดัดแปลงใดๆ ควรทำโดยบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและมีคุณสมบัติเหมาะสม เช่น ผู้ผลิต ตัวแทน หรือพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมและผ่านการรับรองที่เหมาะสม

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular