spot_img
update เตรียมความพร้อม อบรม จป หัวหน้างาน 2566

ทุกเรื่อง : อบรม จป หัวหน้างาน ตามกฎหมายใหม่ 2566 เตรียมตัวอย่างไร ก่อนเข้ารับฝึกอบรม

ตาม กฎหมาย จป ฉบับใหม่ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ พ.ศ. 2565 ที่ได้ประกาศออกมาเป็นที่เรียบร้อยเกี่ยวกับ บังคับให้สถานประกอบกิจการต่างๆจะต้องมี จป หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน แต่ละระดับ ซึ่งกฎหมายที่ประกาศออกมานั้นปัจจุบันเป็นกฎหมายแม่ ที่เรายังคงจะต้องรอกฎหมายลูกอีกหลายฉบับเพื่อทราบถึงแนวทางและวิธีดำเนินการ

หนึ่งในนั้นคือการฝึก อบรม จป หัวหน้างาน ในตอนนี้กฎหมายลูกเกี่ยวกับการฝึกอบรม จป หัวหน้างาน ได้ประกาศออกมาแล้ว เรื่องคุณสมบัติวิทยากร รายละเอียดหลักสูตร แต่ก็ยังไม่สามารถจัดอบรมได้ทันที เนื่องจากจะต้องรอให้ ศูนย์ฝึกอบรมฯทำการยื่นเอกสารเพื่อขึ้นทะเบียนกันใหม่ทั้งหมด รวมไปถึงวิทยากรที่มีคุณสมบัติ ก็ต้องยื่นขึ้นทะเบียนใหม่ทั้งหมดให้เรียบร้อยเสียก่อน 

และ กว่าผู้มีอำนาจจะพิจารณา หรือ เซ็นต์อนุมัติ ก็มีต่ำๆ 1-2 เดือน หมายความว่ากว่าจะได้อบรมกันจริงๆจังๆ คาดว่าน่าจะประมาณเดือน พฤษภาคม หรือ มิถุนายน 2566 

บริษัท ต้องส่งใครบ้าง อบรม จป หัวหน้างาน

บริษัท ต้องส่งใครบ้าง อบรม จป หัวหน้างาน

มาทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน..

ตามกฎหมายใหม่นั้นได้ระบุให้ หัวหน้างานในสถานประกอบกิจการ 3 บัญชี รวมแล้วทั้งหมด 64 ประเภท จะต้องอบรม จป หัวหน้างาน และ ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการ

นิยาม หัวหน้างาน เอาภาษาชาวบ้านที่พูดแล้วเข้าใจเลยโดยง่ายคือ บุคคลใดก็ตามในองค์กรเราที่บริษัทได้มอบหมายให้เขาดูแลพนักงาน หรือ มีลูกน้องใต้บังคับบัญชา จะด้วยแบบใดก็ตาม เช่น มอบหมายปากเปล่า ก็ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็น หัวหน้างาน ตามกฎหมายแรงงานเรียบร้อยแล้ว

ไม่ว่าบริษัทจะแต่งตั้งอย่างเป็นทางหรือ หรือ ไม่แต่งตั้งก็ตามถ้าองค์กรได้มอบหมายภาระกิจที่เขาทำคุณให้แก่องค์กรตามคำสั่ง หากเกิดอุบัติเหตุ ราชการจะพิจารณาจาก เจตนารมณ์ในคำสั่งมอบหมาย ดังนั้น ก็เลิกคิดได้เลยว่าหากบริษัทไม่แต่งตั้งหัวหน้างานคนนั้นด้วยเอกสาร ก็ไม่ใช่ หัวหน้างาน

ดั้งนั้นสิ่งที่องค์กรจะต้องดำเนินการตามกฎหมายคือ ส่งหัวหน้างาน ทุกคนเข้า อบรม จป หัวหน้างาน เพื่อให้พนักงานได้รู้และทราบถึงการกำกับดูแลงาน และ ลูกน้องให้เกิดความปลอดภัย

กฎหมายใหม่ คุณสมบัติวิทยากรสอน จป การจัดอบรม จป 2566

โดยที่ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๔๓ กำหนดให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร ทั้งนี้ หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมของนายจ้างหรือผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรมให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔๓ วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

หมวด ๑ หลักสูตรการฝึกอบรม

ข้อ ๒ หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย ๔ หมวดวิชา ดังต่อไปนี้

(๑) หมวดวิชาที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา                     

(ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

(๓) หมวดวิชาที่ ๓ การค้นหาอันตรายจากการทำงานและการจัดทำคู่มือว่าด้วย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การตรวจความปลอดภัย
(ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
(ค) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุ
(ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของหน่วยงาน

(๔) หมวดวิชาที่ ๔ การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม สามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
(ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
(ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
(ฌ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

คุณสมบัติของผู้เข้า อบรม จป หัวหน้างาน

คุณสมบัติของผู้เข้า อบรม จป หัวหน้างาน

แน่นอนตามที่เหล่ามากฎหมายไม่ได้กำหนดว่า จป หัวหน้างาน จะต้องจบอะไรมา

คุณสมบัติ จป หัวหน้างาน ตามกฎหมาย 2565

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
  2. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
  3. มีคุณสมบัติตามข้อ 15 ข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี

หากเรามีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในสามข้อนี้ก็ผ่านฉลุยไม่มีปัญหา

สรุป : การอบรม จป หัวหน้างาน สถานประกอบการทั้งหมดไม่สามารถอบรมได้ แต่ ข้อแนะนำที่สามารถทำได้เลยคือส่วนการแต่งตั้ง ตรงนี้ทางบริษัทของเราสามารถทำหนังสือแต่งตั้ง จป หัวหน้างานไว้ได้เลยทันทีโดยไม่ต้องรอกฎหมาย

เวลาเราถูกออดิตระบบ ISO ต่างๆก็จะสามารถตอบข้อกำหนดในการปฏิบัติของ Auditor ได้ว่าในส่วนไหนที่เราสามารถดำเนินการได้เรายังคงมุ่งมั่นปฏิบัติตามกฎหมายเช่นเคย

มีอะไร Update ที่เกี่ยวข้องกับการอบรม จป หัวหน้างาน จะรีบมา Update ให้ทราบอีกครั้งครับ 🙂