spot_img
Ads.1spot_img
spot_img

เรียนรู้ : มาตรฐาน Lockout Tagout อุปกรณ์ที่ใช้ตัดแยกระบบพลังงาน

Lockout – Tagout คือ

 

OSHA ได้ระบุเกี่ยวกับการควบคุมพลังงาน (Lockout/Tagout) ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในข้อกำหนดที่ 29 Code of Federal Regulations (CFR) Part 1910.147 ถึงแนวทางการปฏิบัติและขั้นตอนที่จำเป็นในการตัดแยกแหล่งพลังงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้พลังงานเหล่านั้นเกิดอันตรายระหว่างที่มีการทำกิจกรรมการทำงานหรือซ่อมบำรุงรักษา พร้อมกำหนดมาตรการควบคุมพลังงาน เช่น ไฟฟ้า เครื่องกลไฮดรอลิก นิวแมติก เคมี ความร้อน และแหล่งพลังงานอื่นๆ

มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง Lockout/Tagout เช่น

  • Canada standard CSA Z460-20 “Control of Hazardous Energy – Lockout and Other Methods”
  • ISO 14118 : Safety of machinery – Prevention of unexpected start-up (ฉบับล่าสุด 2017)
  • ANSI ASSE Z244.1 : The Control of Hazardous Energy Lockout , Tagout and Alternative Methods (ฉบับล่าสุด 2016)

 

Energy Source

แหล่งพลังงาน หมายถึง

แหล่งพลังงาน (Energy Source) หมายถึง แหล่งพลังงานใดๆ เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานกล พลังงานลม แรงดัน สารเคมี ความร้อน หรือพลังงานอื่นๆ ซึ่งอาจทำอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในระหว่างการซ่อมบำรุง หรือ งานวิศวกรรมกับเครื่องจักร อุปกรณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับแหล่งพลังงานดังกล่าว โดยเปิดพลังงานเหล่านั้นอย่างไม่คาดคิด ส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อบุคคล ทรัพย์สินเสียหาย รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และหากร้ายแรงไปกว่านั้นอาจส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเสียชีวิตได้ในทันที

Lockout Tagout

Lockout – Tagout คืออะไร

ล็อคเอ้าท์ แท็กเอ้าท์ Lockout Tagout หรือที่เรียกว่า LOTO เป็นอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่ใช้ป้องกันไม่ให้มีการเปิดพลังงานโดยไม่ตั้งใจขณะที่มีการปฏิบัติงานอยู่ ล็อคอุปกรณ์ที่มีอันตรายอย่างถูกต้อง พร้อมแสดงสถานะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้ในขณะที่ทำงานจนจบการทำงานอย่างปลอดภัย

 

 ล็อคเอ้าท์ - LOCK OUT

Lock out คือ อุปกรณ์ที่ใช้ล็อคกับอุปกรณ์เชื่อมต่อพลังงานต่างๆ เช่น เบรกเกอร์ วาล์วหมุน ปั๊ม เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์เหล่านั้นเปิดใช้งานได้ในระหว่างที่ยังไม่ปลดอุปกรณ์ล็อกออก การทำ Lock out เรามักจะพบปัญหาอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่จะล็อคนั้นมีหลากหลายลักษณะ หลายขนาด อุปกรณ์ Lock out จะต้องใช้งานให้ถูกประเภทเลยทำให้หลายคนเลือกที่จะไม่ใช้งานระบบ Lock out นี้เพราะจะต้องจัดซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก และ อุปกรณ์ Lock out ที่ได้มาตรฐานมักจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง

 

อุปกรณ์ Lock out จะต้องเลือกซื้อมาให้ถูกกับประเภทการใช้งาน

lockout ครอบหัวปลั๊ก

lockout ประเภทล็อคสวิตช์เบรกเกอร์

lockout ประเภทล็อคเซอร์กิตเบรกเกอร์

lockout ประเภทล็อคเซอร์กิตเบรกเกอร์แบบโยก

lockout วาล์วหมุน

จากภาพตัวอย่างอุปกรณ์ lockout ด้านบนจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายชนิดซึ่งเราจะต้องเลือกซื้อมาให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ของเราที่ต้องการจะล็อค

ข้อควรระวังการใช้อุปกรณ์ Lockout

  • อุปกรณ์ Lockout ที่ใช้กับงานระบบไฟฟ้าจะต้องไม่ทำจากวัสดุที่เป็นสื่อนำกระแสไฟ
  • อุปกรณ์ที่นำมาใช้งาน Lockout จะต้องมีมาตรฐานรับรอง
  • อุปกรณ์ Lockout จะต้องถูกประเภทตามลักษณะอุปกรณ์ที่ใช้งาน
  • ผู้ปฏิบัติงานกับ Lockout จะต้องผ่านการอบรมวิธีการใช้งานอย่างถูกวิธี

 

Tag out

Tagout คือ ป้ายแจ้งเตือนที่ติดไว้ตรงจุดตัดแยกพลังงานเพื่อให้รู้ถึงสถานะว่าเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ถูกควบคุม ไม่สามารถใช้งานได้จนกว่าจะปลดป้ายเตือนออกโดยผู้แขวนป้าย รายละเอียดที่ระบุบน Tagout ปัจจุบันยังไม่มีข้อบังคับที่ตายตัว แต่มีข้อแนะนำที่สำคัญเกี่ยวกับข้อมูลบน Tagout ควรมีอย่างน้อยดังต่อไปนี้

  • ชื่อผู้ที่ทำการแขวน Tag out
  • หน่วยงาน
  • เบอร์ติดต่อ หรือ ช่องทางติดต่อ
  • คำเตือนห้ามปลดป้ายออกโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ Lock out – Tag out

  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558
    – ข้อ 15 ให้นายจ้างจัดให้มีการใช้กุญแจป้องกันการสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจร หรือจัดให้มีระบบระวังป้องกันมิให้เกิดการสับสวติช์เชื่อมต่อวงจรตลอดเวลาที่ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าทำงาน ติดตั้ง ตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้า และให้ติดป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรไว้ด้วย
  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564
    – ข้อ 7 ในบริเวณที่มีการติดตั้งการซ่อมแซมหรือการตรวจสอบเครื่องจักรหรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรนายจ้างต้องติดป้ายแสดงการดำเนินการดังกล่าวโดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจนรวมทั้งจัดให้มีระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ์ป้องกันมิให้เครื่องจักรนั้นทำงาน และให้แขวนป้าย หรือแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามเปิดสวิตช์ไว้ที่สวิตช์ของเครื่องจักรด้วย
  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
    – ข้อ 11 กรณีที่ที่อับอากาศที่ให้ลูกจ้างทำงานมีผนังต่อหรือมีโอกาสที่พลังงานสารหรือสิ่งที่เป็นอันตรายจะรั่วไหลเข้าสู่บริเวณที่อับอากาศที่ทำงานอยู่ให้นายจ้างปิดกั้นหรือกระทำโดยวิธีการอื่นใดที่มีผลในการป้องกันมิให้พลังงาน สาร หรือสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าสู่บริเวณที่อับอากาศในระหว่างที่ลูกจ้างกำลังทำงาน
  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2564
    – ข้อ 53 การใช้ลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ลิฟต์โดยสารชั่วคราว หรือลิฟต์ที่ใช้ทั้งขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราว นายจ้างต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
    – (5) ในกรณีที่ลิฟต์ไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่มีผู้บังคับลิฟต์ต้องปิดสวิตช์ พร้อมทั้งใส่กุญแจและติดป้ายห้ามใช้ลิฟต์ให้ลูกจ้างทราบ

 

Lockout + Tagout ต้องทำคู่กันเสมอ

ข้อแนะนำสำคัญเกี่ยวกับการตัดแยกระบบพลังงาน Lockout Tagout

  1. การทำ Lockout Tagout ต้องทำคู่กันเสมอจะทำอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
  2. ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการปฏิบัติงานจะต้องทำการ Lockout Tagout ทุกฝ่ายเสมอ เช่นกิจกรรมซ่อมบำรุง มีการปฏิบัติงาน 3 ฝ่าย การทำ Lockout Tagout ก็จะต้องทำ 3 ชุด
  3. ห้ามปลด Lockout Tagout ของทีมอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  4. อุปกรณ์ Lockout จะต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  5. Tagout จะต้องมีการระบุรายละเอียดลงบนป้ายอย่างครบถ้วน

สรุป

การตัดแยกระบบพลังงาน Lockout Tagout ไม่ใช่เพียงแต่งานระบบไฟฟ้าเท่านั้น การตัดแยกแหล่งพลังงานจะรวมถึงพลังงานอื่นๆที่อาจจะส่งผลอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานด้วย ผู้ที่ทำการ Lockout Tagout จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกใช้อุปกรณ์แต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้การทำงานเกิดความปลอดภัยปราศจากอุบัติเหตุที่ร้ายแรง

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

FACEBOOK

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.2

spot_img

Ads.3

spot_img

Update

Most Popular