spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เรียนรู้เกี่ยวกับ : การตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงาน มาตรฐานใหม่

measurement of light

การตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงานเพื่อเป็นการตรวจสอบค่าความเข้มแสงสว่างให้อยู่ในค่าที่ปลอดภัยต่อการทำงานของผู้ปฏิบัติงานซึ่งในจุดการทำงานที่แตกต่างกันค่ามาตรฐานแสงสว่างก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานที่ทำโดยค่ามาตรฐานของแสงสว่างในพื้นที่การทำงานจะต้องไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้  นอกจากการตรวจวัดแสงสว่างเพื่อตรวจสอบค่าความเข้มของแสงสว่างในพื้นที่การทำงานแล้ว ยังเป็นการเฝ้าระวังด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานด้วย

เพราะแสงสว่างมีผลต่อการมองเห็น หากน้อยเกินไปหรือจ้าเกินไป ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้เช่นกัน ซึ่งในกฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 ให้ความหมาย ไว้ดังนี้

 “ความเข้มของแสงสว่าง” หมายความว่า ปริมาณแสงที่ตกกระทบต่อหนึ่งหน่วยตารางเมตร ซึ่งในประกาศนี้ใช้หน่วยความเข้มของแสงสว่างเป็นลักซ์ (lux) 

  1. ความถี่ในการตรวจแสงสว่าง

ในการตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงานตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดําเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อนแสงสว่างและเสียงพ.ศ. 2559 กำหนดให้ต้องตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับแสงสว่างอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ ในกรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรอุปกรณ์กระบวนการผลิตวิธีการทำงานรวมถึงการดำเนินการใดๆที่อาจทำให้ค่าความเข้มของแสงสว่างเปลี่ยนไปก็ต้องตรวจวัดเพื่อดูว่าค่าความเข้มแสงสว่างเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

หากไม่ผ่านตามมาตรฐานต้องรีบแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานหรือบางสถานประกอบกิจการอาจจะกำหนดให้ตรวจสอบทุกๆ 6 เดือน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเพราะเมื่อระยะเวลาผ่านไปประสิทธิภาพของการส่องสว่างของหลอดไฟก็จะลดลงตามไปด้วย 

จุดที่ต้องตรวจวัดแสงสว่าง

  1. จุดที่ต้องตรวจวัดแสงสว่าง

ทุกประเภทกิจการจะต้องตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ในบริเวณพื้นที่ทั่วไป บริเวณการผลิต และบริเวณที่ใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน ซึ่งแต่ละพื้นที่มีรายละเอียดการตรวจวัดดังนี้

  • พื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิต ให้ตรวจในแนวระนาบสูงจากพื้น 75 เซนติเมตร
  • พื้นที่ทั่วไปที่มีการสัญจรในภาวะฉุกเฉินใต้ตรวจตามแนวเส้นสัญจรในแนวระนาบที่พื้นผิวทางเดิน
  • พื้นที่ที่ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือใช้สายตาอยู่กับที่ ให้ตรวจวัดในจุดที่สายตาตกกระทบชิ้นงานหรือจุดที่ทำงาน

ในการตรวจวัดค่าความเข้มแสงสว่าง ในบางจุดการทำงานจะต้องนำค่าที่ได้ไปคำนวณตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ก่อนจึงจะนำค่าไปใช้ได้ และเมื่อได้ค่าความเข้มแสงสว่างจะต้องนำมาเทียบตาม ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ว่าเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

ใครเป็นผู้ตรวจวัดแสง

  1. ใครเป็นผู้ตรวจวัดแสงสว่าง

การตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงาน หากสถานประกอบกิจการมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ จป วิชาชีพ ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถดำเนินการตรวจสอบได้ แต่เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจต้องถูกต้องตามที่กำหนด แต่หากไม่สามารถดำเนินการเองได้ ต้องให้ผู้ที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.2554 เป็นผู้ดำเนินการ

มาตรฐานเครื่องตรวจวัดแสง

  1. มาตรฐานเครื่องวัดแสง

ในการตรวจวัดค่าความเข้มแสงสว่างต้องใช้เครื่องที่ได้มาตรฐาน ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งในส่วนของประเทศไทย กำหนดมาตรฐานเครื่องตรวจวัดแสงสว่างไว้ดังนี้

  • CIE 1931 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยความส่องสว่าง (International Commission on Illumination)
  • ISO/CIE 10527 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เช่น JIS

ซึ่งก่อนเริ่มการตรวจวัดต้องปรับให้เครื่องวัดแสงอ่านค่าที่ศูนย์ (Photometer Zeroing) และจะต้องตรวจวัดในสภาพการทำงานปกติและในช่วงที่มีแสงสว่างตามธรรมชาติน้อยที่สุด

  1. มาตรการความปลอดภัยตามกฎหมาย

กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 หมวด 2 แสงสว่าง

ข้อ 4 นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่อธิบดีประกาศกําหนด (ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง)

ข้อ 5 นายจ้างต้องใช้หรือจัดให้มีฉาก แผ่นฟิล์มกรองแสง หรือมาตรการอื่นที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อป้องกันมิให้แสงตรงหรือแสงสะท้อนจากแหล่งกําเนิดแสงหรือดวงอาทิตย์ที่มีแสงจ้าส่องเข้านัยน์ตาลูกจ้างโดยตรงในขณะทํางาน ในกรณีที่ไม่อาจป้องกันได้ ต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดตลอดเวลาที่ทํางาน

  • งานที่มีแสงตรงหรือแสงสะท้อนจากแหล่งกําเนิดแสงหรือดวงอาทิตย์ที่มีแสงจ้าส่องเข้านัยน์ตาโดยตรง ให้สวมใส่แว่นตาลดแสงหรือกระบังหน้าลดแสง

ข้อ 6 ในกรณีที่ลูกจ้างต้องทํางานในสถานที่มืด ทึบ และคับแคบ เช่น ในถ้ำ อุโมงค์หรือในที่ที่มีลักษณะเช่นว่าน้ัน นายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่างที่เหมาะสมแก่สภาพและลักษณะงาน โดยอาจเป็นชนิดที่ติดอยู่ในพื้นที่ทํางานหรือติดที่ตัวบุคคลได้ หากไม่สามารถจัดหาหรือดําเนินการได้ ต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดตลอดเวลาที่ทํางาน

  • งานที่ทําในสถานที่มืด ทึบ และคับแคบ ให้สวมใส่หมวกนิรภัยที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่าง

สรุป

แสงสว่างเป็นสิ่งที่สำคัญการปฏิบัติงาน ต้องควบคุมให้ค่าความเข้มแสงสว่างเป็นตามที่กฎหมายกำหนด โดยต้องตรวจวัดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน และนอกจากนี้ยังต้องมีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่อาจได้รับอันตรายจากแสงสว่างด้วย 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559
  2. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการ
  3. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular