spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย : Occupational Health and Safety

ความปลอดภัยในการทำงาน

พนักงานขององค์กรเปรียบเสมือนทรัพย์สินของบริษัท การมีพนักงานที่สามารรถทำงานได้อย่างขยันขันแข็ง ด้วยร่างกายที่สมบูณ์พร้อม สุขภาพใจเต็มเปี่ยมย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตสำฤทธิ์ผลตามมาเช่นกัน ซึ่งการทำให้พนักงานปลอดภัยมาจากมาตรการด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ดีเยี่ยมขององค์กร ในบทความนี้ Jorportoday จะมาอธิบายถึงโปรแกรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยว่าคืออะไร องค์ประสบที่สำคัญ และ KPI บางส่งที่ช่วยวัดประสิทธิภาพครับ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คืออะไร

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จัดอยู่ในวิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง  ซึ่งเป็นกระบวนเรียนรู้ทางด้านการดูแลสุขภาพอนามัย ในผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ รวมทั้งยังจัดการดูแลผลกระทบอันเกิดมาจากการทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อทำให้การดำเนินงานของผู้ประกอบอาชีพ ได้รับความปลอดภัยสูงสุด นอกจากนี้ยังต้องได้รับการคุ้มครองตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย โดยสามารถแยกความหมายของทั้ง 3 คำออกมาได้ดังนี้

  • อาชีวะ (Occupational) หมายถึง อาชีพ การเลี้ยงชีพ การทำมาหากิน
  • อนามัย (Health) หมายถึง ความไม่มีโรค สภาวะสมบูรณ์ดีทั้งร่างกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และจิตวิญญาณ
  • ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง สภาพวะที่ปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย หรือความเสี่ยงใดๆ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเกี่ยวข้องกับการจัดการอันตรายในสถานที่ทำงานหลายประเภท เช่น:

  • พิษวิทยา
  • ระบาดวิทยา
  • เคมีภัณฑ์
  • อันตรายทางกายภาพ
  • ผลกระทบทางจิตวิทยา
  • ปัญหาการยศาสตร์
  • อุบัติเหตุ

โครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีไว้เพื่อกำหนดให้มีการจำกัดความเสี่ยง เพื่อลดอันตรายจากการทำงานในไซต์งาน นายจ้างและฝ่ายบริหารของบริษัทจำเป็นต้องจัดเตรียมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานทุกคน และหัวข้อต่อไปคือโโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ใช้สำหรับองค์กร

ควรเริ่มโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่?

สำหรับองค์กรที่ไม่มีโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) อย่างเป็นทางการมักจะมีการดูแลความปลอดภัยของพนักงานในบางแง่มุมเท่านั้นซึ่งอาจจะไม่คลอบคลุม ถ้า ณ ตอนนี้คุณมีความคิดที่จะเริ่มต้นจากจุดที่บริษัทมีอยู่ คุณอาจจะต่อยอดจากสิ่งที่มีด้วยการตั้งคำถาม นี้คือคำถามที่คุณอาจเริ่มหาคำตอบครับ

  • บริษัทของคุณมีนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอยู่แล้วหรือไม่ ??
  • ผู้จัดการ หัวหน้างาน และพนักงานเข้าใจความรับผิดชอบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของตนเองหรือไม่ ?
  • ในบริษัทมีช่องทางสื่อสารเกี่ยวกับปัญหาด้าน OHS หรือไม่?
  • มีการระบุอันตรายที่ชัดเจนหรือไม่?
  • มีการควบคุมอันตรายในสถานที่ทำงานหรือไม่?
  • บริษัทของคุณมีระบบตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์หรือไม่?
  • มีการเตรียมการ ซักซ้อมขั้นตอนในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือไม่?
  • มีขั้นตอนการรายงานและสอบสวนหรือไม่?
  • มีการฝึกอบรมพนักงานทุกระดับหรือไม่?
  • บริษัทใช้วิธีการใดในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล?
  • มี KPI สำหรับการประเมินอย่างครอบคลุมและเหมาะสมหรือไม่?

8 องค์ประกอบของโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1.การวางแผน

องค์ประกอบสำคัญอย่างแรกของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) คือระบบการจัดการและการวางแผน ไม่ว่าคุณจะวางแผนแบบดั่งเดิมผ่านการจัดใส่สมุดหรือกระดานไวท์บอร์ด หรือ ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับช่วยบริหารจัดการโดยเฉพาะ การวางแผนงานจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นศูนย์กลางของทุกกระบวนการที่คุณทำ การวางแผนเป็นสิ่งที่สำคัญคุณต้องแน่ใจว่าองค์กรของคุณปฏิบัติตามกฎและระเบียบข้อบังคับด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของประเทศไทยในปัจจุบันทั้งหมด

2.การรายงานเหตุการณ์

องค์ประกอบสำคัญที่สองของการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคือระบบการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สมาชิกทุกคนในองค์กรควรเข้าถึงระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : OHS Program ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงพนักงานใหม่ เพื่อให้ติดตามข่าวสารและรายงานเหตุการณ์ได้ทันท่วงที

ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการ OHS ที่รันในระบบคราวด์ ช่วยให้พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์มือถือที่เชื่อมอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ในการสร้าง บันทึก และเข้าถึงเอกสาร OHS ขององค์กีได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

การรายงานสถานการณ์พนักงานจะมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ ดังนี้ :

  • การรายงานอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
  • รายงานอันตรายและความเสี่ยง
  • รับการแจ้งเตือนเพื่อทำงานบางอย่างให้เสร็จ
  • ทบทวน แก้ไขแบบฟอร์มความเสี่ยง อันตราย และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ครบถ้วน

เมื่อการรายงานเหตุการณ์เป็นไปอย่างทันถ้วงทีก็สามารถช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงและผู้มีส่วนได้เสียวางแผนสำหรับเหตุการณ์ต่างๆ ในลักษณะของการ Proactive และ Preventive ได้ดียิ่งขึ้น นี้คือเหตุผลว่าการรายการเหตุการณ์จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญลำดับที่สองของการบริการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3.User-friendly interface

องค์ประกอบหลักที่สามของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คือ การมีส่วนต่อประสาน (User friendly Interface) ที่ชัดเจนและใช้งานง่าย

Interface หรือ ส่วนต่อประสาน เป็นวิธีการที่ผู้ใช้งานเช่น พนักงานโต้ตอบกับระบบหรือซอฟต์แวร์ อาจจะเป็นการประสารงานผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเป็นฟอร์มกระดาษที่ต้องกรอก เช่น แบบฟอร์มรายงานความปลอดภัย

ไม่ว่าองค์กรของคุณจะมีแนวการในการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแบบใด คุณต้องไม่ลืมที่จะพิจารณาถึงความง่ายของการใช้งานด้วย การพิจารณาความง่ายต่อการใช้งานอาจเริ่มจากชุดคำถามเช่น

  • พนักงานสามารถเข้าใจสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ง่ายได้อย่างง่ายดายหรือไม่
  • คำแนะนำในการใช้งานระบบมีความชัดเจนเพียงพอหรือไม่
  • พนักงานมีการฝึกอบรมให้สามารถใช้ระบบในการประสานงานหรือไม่

แต่ถ้าองค์กรใดใช้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เป็นซอฟต์แวร์ อินเทอร์เฟซจะต้องชัดเจน เรียบง่าย และใช้งานง่าย เพื่อให้พนักงานไม่มีปัญหาในการโต้ตอบกับอินเทอร์เฟซระหว่างการใช้งาน

อบรมความปลอดภัย

4.การฝึกอบรม

องค์ประกอบที่สี่ของการจัดการด้านระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คือ การฝึกอบรม หากไม่มีการฝึกอบรม ระบบก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น

พนักงานที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเพียงพออาจทำให้องค์กรตกอยู่ในความเสี่ยง พวกเขาอาจพลาดในการประเมินความเสี่ยงของอันตราย ไม่รายงานเหตุการณ์ทั้งที่ควรจะต้องรายงาน หรือแม้กระทั่งกระทำงานในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อตนเอง เพื่อนร่วมงาน หรือ บุคคลทั่วไป

พนักงานที่ผ่านการอบรม ทั้งการใช้ระบบ การใช้เครื่องมือ และการดูแลความปลอดภัยพวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และที่สำคัญพวกเขาจะกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กรที่สามารถช่วยให้สถานที่ทำงานปลอดภัยยิ่งขึ้น

Risk Management

5.การประเมินความเสี่ยง

องค์ประกอบที่สำคัญถัดมาของระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยคือ การประเมินความเสี่ยง ในประเด็นนี้หมายถึงการที่ระบบซอฟต์แวร์มีส่วนช่วยผู้บริหารระดับสูงในการประเมินและตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม

การประเมินความเสี่ยงส่วนนี้จะเกิดขึ้นในองค์กรที่ใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ในการช่วยในการประเมินความเสี่ยงและระดับความปลอดภัยได้อย่างอัตโนมัติ จากการสะสมค่าสถิติของการทำงาน ค่าความเสี่ยงที่ทางผู้บริหารหรือทีมที่ปรึกษาสามารถออกแบบค่าแนวโน้มที่อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงเพื่อที่สามารถวางแผนป้องกันได้อย่างทันถ้วงที

ตัวอย่างเช่น :

ฝ่ายบริหารสามารถดูรายงานอันตราย ความเสี่ยง อุบัติเหตุและการบาดเจ็บทั้งหมดได้ตามเวลาจริง จากนั้นซอฟต์แวร์จะประมวลผลข้อมูลนี้และสร้างรายงานที่สามารถใช้เพื่อสร้างแนวทางในการป้องกัน

6.การรับรอง

องค์ประกอบหลักที่หกของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคือ การรับรอง ระบบควรได้รับการรับรองโดยบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้เพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางปฏิบัติของอค์กรเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย

การมีระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่แข็งแกร่งช่วยให้องค์กรสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานและลูกค้า ตัวอย่างการรับรองได้แก่

  • AS / NZS 4801
  • OHSAS 18001
  • ISO 45001

การมีใบรับรองจะแสดงให้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าองค์กรของคุณมุ่งมั่นในเรื่องของความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน รวมถึงประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น ความปลอดภัยของพนักงานเพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลถึงกำลังใจในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น และความมั่นใจของผู้บริโภค ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มผลกำไรขององค์กรในที่สุด

7.การสื่อสาร

องค์ประกอบที่เจ็บของ OHS คือ การสื่อสาร ระบบที่ดีต้องช่วยให้พนักงานสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยการสื่อสารมีความสำคัญดังต่อไปนี้

  • ช่วยให้พนักงานได้รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับงานที่ตนได้รับมอบหมาย
  • ช่วยให้พนักงานสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้า
  • การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพช่วยให้ระดับผู้จัดการและพนักงานปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศน์ของบริษัท

8.การเข้าถึงข้อมูล

องค์ประกอบสุดท้ายของระบบการจัดการ OHS คือ การเข้าถึงข้อมูล เนื่องจากการทำงานในองค์กรที่มีทั้งพนักงาน และ เอกสารของข้อมูลต่างๆ จำนวนมาก หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญคือการจัดการการเข้าถึงข้อมูลให้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด โดยเฉพาะเอกสารข้อมูลความปลอดภัย SDS (Safety Data Sheet)

Occupational Safety and Health Administration

องค์กร OSHA ระบุไว้ว่า

“นายจ้างต้องเก็บรักษาสำเนาเอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับสารเคมีอันตรายแต่ละชนิดไว้ในที่ทำงาน และต้องแน่ใจว่าสามารถเข้าถึงได้ง่ายระหว่างกะการทำงานแต่ละครั้งสำหรับพนักงานเมื่อ พวกเขาอยู่ในพื้นที่ทำงาน (การเข้าถึงทางอิเล็กทรอนิกส์และทางเลือกอื่นในการเก็บรักษาสำเนาเอกสารของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยจะได้รับอนุญาต ตราบใดที่ไม่มีการสร้างอุปสรรคในการเข้าถึงพนักงานทันทีในสถานที่ทำงานแต่ละแห่งโดยตัวเลือกดังกล่าว)”

สำหรับบริษัทขนาดเล็กการเก็บเอกสารและข้อมูลต่างๆ เป็นสำเนากระดาษอาจง่ายต่อการบริหารจัดการ เพราะทุกคนรู้ว่าเอกสารชนิดนั้นๆ เก็บไว้ในตู้ใบไหนและสะดวกต่อการค้นหา

แต่สำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยเฉพาะองค์กรที่มีสถานประกอบการหลายแห่งการเข้าถึงข้อมูลอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น นี้จึงเป็นเหตุผลที่หลายองค์กรหันไปใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการ OHS บนระบบคลาวด์ ซึ่งง่ายต่อการจัดการ

 

OHS KPI

KPI ด้านสุขภาพและความปลอดภัย

หลังจากที่คุณทราบถึงองค์ประกอบของโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ขั้นตอนถัดมาที่ผมอยากจะพูดถึงคือเรื่องการติดตามผล KPI ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งนี้เป็นค่าที่สามาารถวัดและประเมินได้ ซึ่งทำเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่เฉพาะเจาจง

อันที่จริง องค์กรจำนวนมากไม่มีการพิจารณาสร้าง KPI ด้านสุขภาพและความปลอดภัยด้วยซ้ำ บางครั้งก็อาจจะคิดว่าองค์กรของคุณไม่ต้องการมันจริงๆ ซึ่งถ้าองค์กรของคุณอยู่ในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ธุรกิจไอทีหรือการตลาด ก็อาจะพออนุโลมได้ แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว KPI ด้านสุขภาพไม่ได้เกี่ยวกับอุบัติเหตุเท่านั้น แต่ยังหมายถึง “ตัวชี้วัดด้านสุขภาพ” ที่อาจจะมาจากการทำงานออฟฟิตที่ยาวนานจนส่งผลถึงสุขภาพ เช่นการเป็นโรคออฟฟิตซินโดรม ซึ่งก็มีความสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆ

นี้คือตัวอย่าง KPI ด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่องค์กรควรพิจารณา

  • จำนวนอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่รายงาน
  • อัตราความถี่การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน
  • ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาโดยเฉลี่ยต่อคน
  • ไม่พบโรคจากการทำงาน
  • % กิจกรรมด้าน OHS ที่พนักงานเข้าร่วม
  • ความพึงพอใจกับคะแนนสิ่งแวดล้อม
  • ค่าใช้จ่ายรายเดือนในการป้องกันสุขภาพและความปลอดภัย
  • % ของผู้บริหารที่ได้รับการฝึกอบรมด้านสุขภาพและความปลอดภัย

 

ข้อมูลอ้างอิง : 1 / 2 / 3

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular