Poka yoke คือ หลักการ แนวคิด วิธีการอบรม ให้ผู้ใช้งาน หรือการทำงาน มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือให้การทำงานนั้นไร้ข้อผิดพลาด โดย poke yoke มาจากคำภาษาญี่ปุ่นสองคำ คือ poka (โพคา) ที่แปลว่า ความผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ และ yoke (โยเกะ) ที่แปลว่า การป้องกัน หรือแผนการป้องกัน โดยรวม ๆ กันแล้วจะหมายถึง การป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจ นั่นเอง

ที่มาของ Poka Yoke วิศวกรการผลิตชาวญี่ปุ่นชื่อว่า Shigeo Shingo เป็นผู้คิดค้นขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1960s ถูกนำมาใช้ในระบบการผลิตของโตโยต้า (Toyota Production System) โดยมุ่งเน้นของเสียจากการผลิตที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดพลาด (Defect)
ส่วนใหญ่แล้ว poka yoke จะไม่ได้เน้นไปที่ตัวบุคคลหรือตัวผู้ปฏิบัติงาน แต่จะเน้นไปที่การทำให้อุปกรณ์การทำงาน หรือเครื่องจักรต่าง ๆ มีความปลอดภัย และหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดจากผู้ใช้งานมากขึ้น หรือเรียกอีกอย่างว่า poke yoke จะช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจาก human error ทำให้การทำงานนั้นมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
Poka yoke ในชีวิตประจำวัน
ปัจจุบันนี้นอกจากในภาคอุตสาหกรรม ที่ผลิตสินค้าออกสู่ภาค user หรือ ผู้ใช้งานทั่วไป จะเน้นไปที่เรื่องของ poka yoke มากยิ่งขึ้น เนื่องจากการใช้งานของ user ทั่วไปส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดข้อผิดพลาดจากตัวผู้ใช้งานเอง หรือที่เราเรียกกันว่า human error อยู่บ่อยครั้ง โดยหลาย ๆ ครั้งที่ข้อผิดพลาดนั้นเกิดจากความไม่เข้าใจ ขาดความรู้ในการใช้งาน ทำให้ส่งผลกระทบไปถึงการไม่สามารถใช้งานสินค้านั้น ๆ ได้ รวมไปถึงอาจจะมีเรื่องของการ complain เกิดขึ้นด้วย
ดังนั้นการใช้หลักการ poka yoke เข้ามาช่วยในการผลิตสินค้า เพื่อให้ user ทั่วไปก็สามารถใช้งานได้อย่างง่าย ๆ รวมไปถึงผู้ที่ยังไม่มีความรู้ หรือไม่ค่อยเข้าใจวิธีการใช้งานเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ ก็สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา
ตัวอย่าง poka yoke ในสินค้าต่าง ๆ
อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่า poka yoke เป็นหลักการที่เน้นไปที่เรื่องของการผลิตสินค้าเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานทั่วไปและไม่มีความรู้ ดังนั้นปัจจุบันนี้ poka yoke จึงถูกปรับใช้ในการผลิตสินค้าต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- รถยนต์ที่ทำงานด้วยเกียร์กระปุก จะต้องเหยียบคลัทช์ก่อนถึงจะสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนเกียร์โดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น มือไปโดน เด็กเล่นซนกันภายในรถ
- ระบบของเครื่องซักผ้า ที่จะต้องปิดฝาก่อนเท่านั้นถึงจะสามารถเริ่มการทำงานได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเล็ก หรือแม้แต่ตัวผู้ใช้งานเอง เผลอเอามือเข้าไปภายในเครื่องซักผ้า และทำให้น้ำอาจจะล้นออกมาได้
- รถยนต์ที่ทำงานด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติ จะต้องอยู่ในเกียร์จอดรถเท่านั้นถึงจะสามารถสตาร์ทรถได้ เพื่อป้องกันไม่ให้รถที่อยู่ในเกียร์เดินหน้าเผลอเร่งเครื่องแล้วไปชนสิ่งที่อยู่ข้างหน้ารถ
- การใช้ป้ายเตือนต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเตือนและป้องกันในกรณีที่พื้นที่แถวนั้นอาจจะอันตรายหรือมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้การใช้ป้ายเตือนยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถจำแนกพื้นที่การทำงาน หรืออุปกรณ์การทำงานได้อีกด้วย
- การแยกสีของสายไฟภายในแผงวงจร เพื่อให้สามารถทำงานได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่ต้องมานั่งแยกด้วยตัวเอง
จะเห็นได้เลยว่าหลาย ๆ ครั้ง poka yoke ก็ไม่ใช่หลักการที่จำเป็น หรือต้องมี แต่ก็เป็นหลักการที่ช่วยให้การใช้งานสินค้าหรืออุปกรณ์นั้น ๆ ง่ายขึ้นอย่างมาก ไม่ต้องกังวลว่าจะใช้งานผิดหรือเกิดข้อผิดพลาด
หลักในการควบคุมการผิดพลาด 3 ข้อ ของ poka yoke
-
ตรวจสอบด้วยการสัมผัส
เช่น ใช้การสัมผัสเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับความถูกต้องของ ขนาดสินค้า ความเพี้ยนของสี ความบิดงอ และ อื่นๆตัวไปของตัวสินค้าก่อนทำการส่งให้ฝ่ายต่อไป หรือ ลูกค้า
-
ตรวจสอบด้วยจำนวน
เป็นการตรวจสอบโดยการนำจำนวนมากำหนดเช่นทำการตอกปิดกล่องบรรจุสินค้า 5 จุด ก่อนเก็บเข้าแพคต่อไป
-
ตรวจสอบด้วยขั้นตอน
เป็นการกำหนดขั้นตอน หรือ step การทำงานให้ทำขั้นตอนที่ 1 ก่อน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดของขั้นตอนที่ 2
ประโยชน์ของ poka yoke
นอกจากประโยชน์ต่อ user ทั่วไปแล้ว poka yoke ยังมีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- ลดเวลาในการฝึกงานให้กับพนักงานใหม่ และ ลดเวลาในการฝึกใช้งาน
- ช่วยควบคุมคุณภาพในการทำงานและการผลิตสินค้าได้เป้นอย่างดี
- ลดเวลาการควบคุมงานของหัวหน้างาน เนื่องจากอุปกรณ์ใช้งานง่าย ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง
- ลดความตึงเครียดในการทำงาน เสริมสร้างการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ลดข้อผิดพลาดในการทำงาน
- สามารถหาข้อผิดพลาดจากการทำงานได้ง่ายขึ้น ไว้ใจได้ในระดับหนึ่งว่าข้อผิดพลาดไม่ได้เกิดจากอุปกรณ์
Poke yoke คืออีกหนึ่งหลักการที่ในโรงงานหรือนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นำไปปรับใช้ในการทำงานกันอย่างแพร่หลาย เราแนะนำให้ผู้ประกอบการ หรือแม้แต่ผู้ใช้งานทั่วไป ศึกษาหลักการนี้ไว้ เพราะจะมีประโยชน์อย่างแน่นอน