spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เรียนรู้ : การประเมินความเสี่ยง Risk Assessment และ การชี้บ่งอันตราย

risk assessment

เมื่อพูดถึงการชี้บ่งอันตราย หลายๆ คนคงนึกไปถึงการประเมินความเสี่ยง แต่จริงๆแล้ว การชี้บ่งอันตราย ยังไม่ใช่การประเมินความเสี่ยง แต่เป็นเทคนิคที่เราเลือกมาเพื่อทำการชี้บ่งอันตรายในสถานประกอบกิจการของเรา ก่อนที่เราจะพุดเรื่องเทคนิคการชี้บ่งอันตรายแต่ละวิธีนั้น มาทำความเข้าใจพื้นฐานถึงความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกันก่อน

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) หมายถึง การแจกแจงอันตรายที่มี และ ที่แอบแฝงอยู่ในทุกงาน ทุกจุดทำงาน ทุกกิจกรรม ทุกขั้นตอนงาน ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน

ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง ความน่าจะเป็น (Probability) ของการเจ็บป่วย บาดเจ็บหรือสูญเสีย อันเนื่องจากอุบัติเหตุจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง การะบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจเป็นเหตุทำให้อันตรายที่มี และ แอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย โรคจากการทำงาน หรือ อุบัติภัยร้ายแรง โดยพิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิด และ ความรุนแรงของอันตรายเหล่านั้น

 

วิธีการชี้บ่งอันตราย 6 วิธี

การชี้บ่งอันตรายมีกี่วิธี อะไรบ้าง

ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543 ได้กล่าวถึงวิธีการชี้บ่งอันตรายเอาไว้ 6 วิธี ซึ่งผู้ประกอบกิจการสามารถเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการของตนได้ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้มากกว่าหนึ่งวิธี โดยแต่ละวิธีมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้

  1. Checklist

เป็นวิธีที่ใช้ในการชี้บ่งอันตรายโดยการนำแบบทดสอบไปใช้ในการตรวจสอบการดำเนินงานของโรงงานเพื่อค้นหาอันตรายตามแบบตรวจสอบที่เรากำหนดขึ้นมาซึ่งหัวข้อการตรวจสอบอ้างอิงตามการปฎิบัติตามมาตรฐานการออกแบบมาตรฐานการปฎิบัติงานหรือกฎหมายเพื่อนำผลการตรวจสอบมาชี้บ่งอันตราย

  1. What If Analysis 

เป็นกระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายในการดำเนินงานต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้คำถาม ” จะเกิดอะไรขึ้น……..ถ้า……… (What If) ” และ หาคำตอบในคำถามเหล่านั้นเพื่อชี้บ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงานในโรงงาน

  1. Hazard and Operability (HAZOP) 

เป็นเทคนิคการศึกษาวิเคราะห์และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานในโรงงานโดยการวิเคราะห์หาอันตรายและปัญหาของระบบ อุปกรณ์ต่างๆซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการออกแบบ เลือกใช้อุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน ความล้มเหลวของอุปกรณ์เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจด้วยการตั้งคำถามที่สมมุติสถานการณ์ของการผลิตในภาวะต่างๆโดยการใช้ HAZOP Guide Words มาประกอบกับปัจจัยการผลิตที่ได้ออกแบบไว้หรือความบกพร่องและความผิดปกติในการทำงาน เช่น อัตราการไหล อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น เพื่อนำมาชี้บ่งอันตรายหรือค้นหาปัญหาในกระบวนการผลิตซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงได้

  1. Fault Tree Analysis 

เป็นเทคนิคการวิเคราะห์อันตรายที่เน้นถึงอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดเหตุซึ่งเป็นเทคนิคในการคิดย้อนกลับที่อาศัยหลักการทางตรรกวิทยาในการใช้หลักการเหตุและผลเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุหรือภัยร้ายแรงโดยเริ่มวิเคราะห์จากอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อพิจารณาหาเหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นก่อนแล้วนำมาแจกแจงขั้นตอนการเกิดเหตุการณ์แรกว่ามาจากเหตุการณ์ย่อยอะไรได้บ้าง และเหตุการณ์ย่อยเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรการสิ้นสุดการวิเคราะห์เมื่อพบว่าสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ย่อยเป็นผลเนื่องจากความบกพร่องของเครื่องจักรอุปกรณ์หรือความผิดพลาดจากการปฎิบัติงาน

  1. Failure Modes and Effects Analysis (FMEA) 

เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่ใช้การวิเคราะห์ในรูปแบบความล้มเหลวและผลที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นการตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องจักรอุปกรณ์ในแต่ละส่วนของระบบแล้วนำมาวิเคราะห์หาผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดความล้มเหลวของเครื่องจักรอุปกรณ์

  1. Event Tree Analysis 

เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อวิเคราะห์และประเมินหาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุการณ์แรกขึ้น (Initiating Event) ซึ่งเป็นการคิดเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อวิเคราะห์หาผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้นเมื่อเครื่องจากอุปกรณ์เสียหายหรือคนทำงานผิดพลาดเพื่อให้ทราบสาเหตุว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใดรวมทั้งเป็นการตรวจสอบว่าระบบความปลอดภัยที่มีอยู่มีปัญหาหรือไม่

 

การชี้บ่งอันตรายrisk Assessment

 

การเลือกใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตราย

ในการเลือกใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตราย มีการจำแนกในหลายลักษณะด้วยกัน ดังต่อไปนี้

  • จำแนกตามระบบอุปกรณ์
  • จำแนกตามช่วงเวลาการประกอบกิจการ 
  • จำแนกตามประสิทธิภาพของเทคนิค

ตารางที่ 1 การเลือกใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตรายแยกตามระบบอุปกรณ์

ตาราง เทคนิคการชี้บ่งอันตราย

ส่วนการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Fault Tree analysis และ Event Tree Analysis สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ทุกชนิดและกิจกรรมทุกประเภท โดยเทคนิค Fault Tree analysis บ่งชี้อันตรายที่เน้นถึงอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิด ส่วนเทคนิค Event Tree Analysis จะใช้จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ที่สนใจมาวิเคราะห์ว่าเหตุการณ์จะพัฒนาต่อไปอย่างไรโดยพิจารณาจากมาตรการป้องกันและควบคุมที่มีอยู่ว่าสำเร็จหรือล้มเหลวอันจะนำไปสู่อุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงได้หรือไม่

ซึ่งทั้ง 2 เทคนิคเหมาะสมมากที่สุดสำหรับหน่วยการผลิตหรือกิจกรรมเป็นระบบ / หน่วยการผลิตต่างๆเช่นหน่วยทำปฏิกิริยาหน่วยผลิตไอน้ำหน่วยผลิตไฟฟ้าระบบน้ำหล่อเย็นเป็นต้นซึ่งในแต่ละหน่วยงานการผลิต / ระบบการผลิตจะมีอุปกรณ์ในการผลิตอุปกรณ์ในการแจ้งเตือนเหตุการณ์ผิดปกติและถ้าขาดอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วไม่แนะนำให้ใช้เทคนิค FTA และ ETA

ตารางที่ 2 การเลือกใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตรายจำแนกตามช่วงเวลาการประกอบกิจการ

ตาราง 2 เทคนิคการชี้บ่งอันตราย

ตารางที่ 3 การเลือกใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตรายตามประสิทธิภาพของเทคนิค

ตาราง 3 เทคนิคการชี้บ่งอันตราย

จากเทคนิคการชี้บ่งอันตราย 6 วิธี ที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อเราทำการชี้บ่งอันตรายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้นำผลการชี้บ่งอันตรายมาประเมินความเสี่ยง เพื่อจัดลำดับความเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นลงในแบบการชี้บ่งอันตราย และ การประเมินความเสี่ยง

ซึ่งตารางการชี้บ่งอันตรายแต่ละวิธีจะมีหัวข้อที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะวิธีการชี้บ่งตามประเภทนั้นๆ แต่จะเหมือนกันในส่วนของการประเมินความเสี่ยง คือ มีช่องของโอกาส ความรุนแรง ผลลัพธ์ และระดับความเสี่ยง หรืออาจใช้วิธีการชี้บ่งอันตรายอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ เช่น การชี้บ่งอันตรายตามแนวทางในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นต้น 

เมื่อได้ระดับความเสี่ยงออกมาแล้ว ให้นำไปจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยงตามระดับความเสี่ยงที่เราประเมินได้ ซึ่งในการประเมินความเสี่ยง นิยมใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543 หรืออาจใช้วิธีการอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบก็ได้

สรุป 

ในการเลือกใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตราย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของสถานประกอบกิจการ ว่าควรใช้วิธีใด เพื่อให้ได้อันตรายที่แท้จริงออกมา และนำไปประเมินความเสี่ยงต่อ หลังจากนั้นนำผลการประเมินความเสี่ยงมาจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular