spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ก่อนเป็น จป หัวหน้างาน จะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง

จป หัวหน้างาน หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน

จป หัวหน้างาน

จป ย่อมากจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

จป หัวหน้างานถูกกำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ระบุให้สถานประกอบกิจตามบัญชี ท้ายกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวลำดับที่ 1, 2, และ 3 จะต้องจัดให้มี จป หัวหน้างาน โดยตำแหน่งทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับพนักงานหรือลูกน้องของตนเอง

เป็น จป หัวหน้างานเริ่มต้นอย่างไร 

หากย้อนไปเมื่อก่อนตามกฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ. 2549 การที่จะเป็น จป หัวหน้างานได้นายจ้างจะต้องส่งพนักงานระดับหัวไปอบรม จป หัวหน้างาน กับศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยที่ได้รับการอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนศูนย์ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน แต่ในปัจจุบันได้มีประกาศกฎหมายใหม่ออกมาชื่อว่า กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 ทำให้กฎหมายเก่าปี 2549 นั้นถูกยกเลิกทั้งหมด

การเป็น จป หัวหน้างานตามกฎหมายใหม่นี้มีสาระสำคัญตรงที่ จป หัวหน้างาน จะต้องเป็นตามตำแหน่งหมายความว่าใครที่เป็น หัวหน้างาน จป ต้องเป็น จป หัวหน้างานด้วยในตัวแบบออโต้เลยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไปซึ่ง

แต่งตั้ง จป หัวหน้างาน

ขั้นตอนการเป็น จป หัวหน้างานจะแบ่งได้ดังนี้

  1. ทำประกาศแต่งตั้ง จป หัวหน้างาน
  2. ส่งหัวหน้างานที่ทำการแต่งตั้งไปอบรม จป หัวหน้างาน
  3. ทำการยื่นขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด

หน้าที่ จป หัวหน้างานตามกฎหมาย

หน้าที่ จป หัวหน้างานตามกฎหมาย

  1. กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  2. วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น จากการทำงานโดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ
  3. จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ เพื่อเสนอคณะกรรมการความปลอดภัยหรือนายจ้าง แล้วแต่กรณีและทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุกหกเดือน
  4. สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
  5. ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
  6. กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  7. รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจาก การทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้างและแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
  8. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพและรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  9. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
  10. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย

ตารางแต่งตั้ง จป ตามกระทรวง ปี 2565

ใบรับรอง จป หัวหน้างาน มีอายุนานแค่ไหน

กรณีที่เราได้ทำการขึ้นทะเบียน จป หัวหน้างานเรียบร้อยแล้วใบรับรองและเลขทะเบียน จป หัวหน้างานจะไม่มีวันหมดอายุยกเว้นแต่มีการลาออก จป หัวหน้างานคนดังกล่าวจะต้องไปทำการขึ้นทะเบียนกับต้นสังกัดหรือบริษัทใหม่โดยสามารถนำใบรับรองเดิมไปยื่นขึ้นทะเบียนกับบริษัทใหม่ได้

เตรียมความพร้อม จป หัวหน้างาน

การเตรียมความพร้อมการเป็น จป หัวหน้างาน

  1. จป หัวหน้างานมีบุคคลที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะเป็นคนเดียวที่มีความใกล้ชนิดผู้ปฏิบัติมากที่สุดดังนั้นการเป็น จป หัวหน้างานที่ดีควรมีการติดตามและประเมินอันตรายต่างๆที่ไม่ปลอดภัย พร้อมทั้งเสนอแนะเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้นให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด
  2. ดูแลให้บุคลากรมีความปลอดภัยในการทำงานรวมไปถึงหามาตรการป้องกันคนงานไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ
  3. คอยควบคุมดูแลให้พนักงานในสังกัดมีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาการทำงานรวมไปถึง ควบคุมการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของคนงาน
  4. จป หัวหน้างานที่ดีควรมีการสื่อสารที่รวดเร็ว ครบถ้วน และให้ข้อมูลที่ถูกต้องเสมอ
  5. คอยให้คำแนะนำแก่พนักงานเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างถูกวิธี

สรุป

จป หัวหน้างานจะต้องมีคุณสมบัติ และ ผ่านการฝึก อบรม จป หัวหน้างาน ตามกฎหมายสิ่งที่เพิ่มเติมจากกฎหมายเก่ามาเกี่ยวกับหน้าที่จป หัวหน้างาน คือ จะต้องมีการจัดทำขั้นตอนการทำงาน หรือ WI เพื่อกำหนดวิธีการทำงานไม่ให้เกิดอันตรายโดยการทำคู่มือการทำงานนั้นสามารถใช้เครื่องมือในการประเมินอันตราย หรือ การประเมินความเสี่ยงมาใช้ได้เช่น JSA เป็นต้น

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular