spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

จป.วิชาชีพ Safety Officer : เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯ ระดับ วิชาชีพ

จป วิชาชีพ safety officer

UPDATE ก่อนใคร จป.วิชาชีพ ตามกฎหมายใหม่ ล่าสุด !

จป. ย่อมาจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน กฎหมายของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ

  1. จป.วิชาชีพ (Safety Officer)
  2. จป.บริหาร (Safety Management)
  3. จป.เทคนิคขั้นสูง
  4. จป.เทคนิค
  5. จป.หัวหน้างาน

ปัจจุบัน จป.วิชาชีพ เป็นระดับเดียวที่ต้องจบสายตรงวุฒิการศึกษาสาขา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ เทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน จป.วิชาชีพ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้

สถานประกอบกิจการตอนนี้เริ่มให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น เพราะกฎหมายมีความเข้มข้นจนนายจ้างต้องปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์ปฏิบัติตามที่กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบการตนเองให้ครบถ้วนมากที่สุดเพื่อป้องกันถูกดำเนินคดีจากทางราชการไม่ให้เสียค่าปรับ และ เสียชื่อเสียงของบริษัท

จป.วิชาชีพ คือ

บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หลักในการป้องกันอุบัติเหตุ เตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆในองค์กร  ดูแลทุกกิจกรรมการทำงานของบริษัทเกิดความปลอดภัย เป็นบุคคลที่มีความชำนาญในการให้คำแนะนำปรึกษาในด้านต่างๆ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในบริษัทให้สามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

จป วิชาชีพ ติดตามกฎหมาย

จป.วิชาชีพ หรือ จป.ว จะคอยติดตามกฎหมายใหม่ๆที่เกี่ยวข้องของบริษัทเสมอ กฎหมายที่เกี่ยวข้องต้องได้รับการประเมินความสอดคล้องลงในแผนการทำงาน (Action plan) และ นำไปสู่การปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน

คุณสมบัติของ จป วิชาชีพ ตามกฎหมายใหม่ล่าสุดปี 2565 มีอะไรบ้าง

ข้อ 21 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทางานระดับวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ เทียบเท่าตามที่อธิบดีประกาศกาหนด
  2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน
  3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 5 ปีในสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 หรือสถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 และผ่าน การฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ
  4. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามกฎกระทรวงกาหนด มาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
  5. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน ภายในห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ
  6. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 หรือเป็นผู้มีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2534 และผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน ภายในห้าปีนับแต่ วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ

หน้าที่ จป วิชาชีพ 13 ข้อ จป วิชาชีพ คือ

จป.วิชาชีพ มีหน้าที่อะไร

หน้าที่ของ จป.วิชาชีพ ตามกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากรหน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 มีทั้งหมด 13 ข้อ ดังนี้

    1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
    3. ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    4. วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆและเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
    5. ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงน
    6. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
    7. แนะนำฝึกสอนและอบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
    8. ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมหรือดำเนินการร่วมกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
    9. เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
    10. ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตรายการเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
    11. รวบรวมสถิติวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
    12. ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    13. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

นอกจากหน้าที่ของ จป.วิชาชีพ ตามกฎหมายแล้วแต่ละสถานประกอบกิจการ จป.วิชาชีพ ยังมีหน้าที่อื่นที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทของสถานประกอบกิจการ

จป.วิชาชีพ มีความสำคัญอย่างไร

จป.วิชาชีพ ถือเป็นบุคลากรหลักในเรื่องของความปลอดภัยในองค์กร ผู้ซึ่งดำเนินงานขับเคลื่อนให้สถานประกอบกิจการสามารถเดินหน้าทำธุรกิจได้อย่างราบรื่นต่อเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงต่างๆที่จะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจหยุดชงัก เช่น การเกิดอัคคีภัย อุบัติเหตุร้ายแรงต่างๆในสถานประกอบกิจการ แต่ละกิจกรรมในสถานประกอบการล้วนมีอันตรายแฝงอาจเกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (unsafe Act) หรือ สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย (unsafe condition)

  • ให้คำปรึกษา และ แนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมายเนื่องจาก จป.วิชาชีพ มีหน้าที่ในการสรุปกฎหมายความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ หากพบว่ามีข้อที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการของเรา จป.วิชาชีพ จะทำหน้าที่ในการนำเสนอให้ผู้บริหารดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย
  • ประเมินความเสี่ยงกำหนดมาตรการป้องกัน และ แก้ไขก่อนเกิดอุบัติเหตุเป็นหน้าที่ที่ จป.วิชาชีพ ต้องดำเนินการเพื่อค้นหาอันตรายในสถานประกอบกิจการ พร้อมกำหนดมาตรการป้องกัน และ แก้ไขในเชิงรุกก่อนเกิดอุบัติเหตุ
  • กำหนดทิศทางขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการให้ไปในทิศทางตามนโยบายที่ผู้บริหารกำหนดไว้ จป.วิชาชีพ ที่เป็นผู้ดำเนินงาน และ สร้างสรรค์แผนงานด้านความปลอดภัยขององค์กรขึ้นมาให้สอดรับตามนโยบายบริษัท และ ข้อกฎหมายอย่างครบถ้วนมาก
  • อบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานที่พนักงานทุกคนต้องได้รับ หากไม่สามารถดำเนินการอบรมเองได้ จป.วิชาชีพจะต้องประสานงานกับหน่วยงานภายนอกให้เข้ามาอบรมให้ความรู้ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • จัดทำแผนฉุกเฉิน และ เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ฉุกเฉินในองค์กร ตั้งแต่การอบรมให้ความรู้ การจัดให้พนักงานได้ฝึกซ้อม และ มีการตรวจเช็คอุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆตามที่กฎหมายระบุเอาไว้ ยังเป็นสิ่งที่ จป.วิชาชีพ ต้องดำเนินการ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น

 

osha safety officer

OSHA  (The Occupational Safety and Health Administration) ได้ประมาณการว่าในแต่ละปี จะมีการบาดเจ็บและเจ็บป่วยทำให้ต้องเสียค่าชดเชยเพิ่มมากขึ้นแต่ทั้งหมดนี้ จป.วิชาชีพ สามารถช่วยป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงานได้ หากมีอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บในงานเกิดขึ้นอาจนำไปสู่ผลผลิตที่ลดลงของสถานประกอบกิจการ หรือทำให้เบี้ยประกันภัยของบริษัทสูงขึ้น นั่นก็หมายถึงค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย 

สรุป

จป.วิชาชีพในแต่ละสถานประกอบกิจการอาจมีหน้าที่นอกเหนือกฎหมายที่แตกต่างกันตามประเภทของสถานประกอบกิจการ แต่โดยทั่วไปแล้ว จป.วิชาชีพ มีหน้าที่หลักในการดูแลด้านความปลอดภัย ดูแลสุขภาพของพนักงานรวมถึงการบังคับใช้ และ ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายด้านความปลอดภัยขององค์กรเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular