spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

SCBA : เครื่องช่วยหายใจที่ใช้ในพื้นที่ที่มีอากาศน้อย หรือ มีสารพิษ

SCBA

 

การทำงานในพื้นที่อับอากาศ ไม่ว่าจะเป็น ถังไซโล หลุม บ่อลึก รวมไปถึงพื้นที่ปนเปื้อนสารเคมี หรือ สารพิษ พวก ไฮโดรเจนซัลไฟด์ H2S การจะหายใจแบบปกติในพื้นที่ดังกล่าวนั้นเรียกได้ว่ามีอันตรายอย่างมาก นอกจากจะมีปริมาณอากาศไม่เพียงพอแล้ว การหายใจอยู่ในพื้นที่แบบนั้นยังอาจจะทำให้สารพิษหรือสารอันตรายต่าง ๆ เข้าไปทำลายระบบทางเดินหายใจอีกด้วย ผู้ปฏิบัติงานจะต้องผ่านการ อบรมที่อับอากาศ เพื่อความปลอดภัย และ ใช้อุปกรณ์กู้ภัยต่างๆได้อย่างถูกต้อง

 

SCBA - PPE ของนักดับเพลิง

 

SCBA เป็นอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล PPE ที่สำคัญ ใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มาอากาศน้อย หรือ มีสารพิษอันตราย เช่น ทำงานที่อับอากาศ หรือ ใช้ในการดับเพลิงที่ปกป้องนักดับเพลิงจากควันไฟ

SCBA ย่อมาจาก self-contained breathing apparatus แปลตรงตัวก็คือ อุปกรณ์ช่วยหายใจ ซึ่งหลักการทำงานของมันก็ง่ายมาก หน้ากากครอบบริเวณจมูก และ ส่งออกซิเจนผ่านเข้าไปยังท่อให้เราหายใจเข้าไป

ซึ่ง SCBA ก็มีมากมายหลายประเภท หลายยี่ห้อ มีมากมายหลายรูปแบบ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับ SCBA ให้คุณได้รู้จักกันมากขึ้น

 

ส่วนประกอบหลักของ SCBA
เครดิตภาพ : directindustry.com

 

ส่วนประกอบหลักของ SCBA

  1. ถังบรรจุออกซิเจนแรงดันสูง ซึ่งจะเป็นถังเหล็กขนาดเกือบเท่าตัวคน SCBA บางประเภทอาจจะใช้งานได้ถึง 2 ถังในครั้งเดียว หรือมากกว่านั้น 
  2. เครื่องปรับความดัน ในการหายใจแต่ละสถานการณ์แน่นอนว่าใช้แรงหายใจ ความถี่ ความเร็ว ปริมาณอากาศที่หายใจแตกต่างกัน ดังนั้นเครื่องปรับความดันจะช่วยควบคุมการปล่อยออกซิเจนออกมาจากถังบรรจุ หากปล่อยออกมาเยอะเกินไปก็หายใจไม่สะดวก แต่หากปล่อยมาน้อยเกินไปก็อาจจะหายใจไม่ออก จึงถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญมากก
  3. ข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อต่อระหว่างท่อกับหน้ากาก ตัวหน้ากาก ฯลฯ ซึ่งส่วนนี้ก็สำคัญเช่นเดียวกัน คุณจะพลาดไม่ได้เด็ดขาดเลยในส่วนนี้ จะต้องตรวจเช็คก่อนการใช้งานทุกครั้ง นอกจากนี้ควรทำความสะอาด และดูแลรักษาอยู่เป็นประจำ

ประเภทต่าง ๆ ของ SCBA

SCBA แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งแบ่งออกตามวิธีการทำงานของออกซิเจน ดังนี้ 

1.Open Circuit เป็น SCBA ระบบเปิด หลักการทำงานของมันคือ ส่งออกซิเจนมาผ่านทางสายยาง ท่อ เพื่อให้เราสูดออกซิเจนเข้าไปในปอด ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราหายใจออกจะถูกส่งไปข้างนอกหน้ากากหายใจผ่านทางช่องที่ออกแบบมาสำหรับปล่อยออกโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลเรื่องของการสูดอากาศจากภายนอกเข้ามาภายในหน้ากาก

2.Closed Circuit เป็น SCBA ระบบปิด ตัวนี้จะทำงานด้วยหลักการคล้าย ๆ กับระบบเปิด แต่ทุก ๆ การหายใจออก คาร์บอนไดออกไซด์จะย้อนกลับเข้าสู่กระบวนการทำงานของเครื่อง แล้วจะกลับมาเป็นออกซิเจนให้เราสูดอีกครั้งในปริมาณที่น้อยกว่าเดิม ข้อดีของระบบนี้คือสามารถใช้งานได้มากขึ้น หายใจได้นานขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะผู้ป่วยจะหายใจแรง ใช้อากาศเยอะกว่าคนทั่วไป การใช้ SCBA ระบบปิด จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้นานยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสรอดชีวิตนั่นเอง 

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ SCBA

  • โดยปกติแล้วถังบรรจุออกซิเจนที่ได้มาตรฐาน 1 ถังจะสามารถใช้งานได้ตั้งแต่ 25 ไปจนถึง 45 นาทีเลยทีเดียว ซึ่งขึ้นอยู่กับการปรับแรงดัน การหายใจของผู้สวมใส่ ขนาดของถัง และอื่น ๆ อีกหลายปัจจัย แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะไม่ต่ำกว่า 30 นาที และไม่เกิน 1 ชั่วโมง 
  • ในถังบรรจุอากาศ 1 ถัง จะบรรจุอากาศที่ปริมาตร 1240 ลิตรต่อถัง 
  • SCBA ส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 13-15 กิโลกรัม
  • มาตรฐานเกี่ยวกับ SCBA มีชื่อเรียกว่า NFPA 1989 ซึ่งเป็นมาตรฐานในการตรวจสอบคุณภาพ ความแข็งแรง ความพร้อมวางขาย ของ SCBA โดยเฉพาะ

    NFPA 1989
    เครดิตภาพ : firerescue1.com
  • ในประเทศไทย SCBA ถือเป็นยุทธภัณฑ์ ผู้ที่นำมาใช้งานจะต้องทำการขออนุญาตครอบครองตาม ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2564

สรุป

SCBA มีประโยชน์มากมายหลายด้าน แต่ก็อันตรายมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากขนาดและน้ำหนักที่ใหญ่ คนที่ยังไม่เชี่ยวชาญการใช้งาน อาจจะไม่สามารถใช้งานได้ถูกต้อง และ อาจจะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง ดังนั้นการใช้หรือสวมใส่ SCBA จะต้องได้รับการฝึกอบรมดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญตลอดการใช้งาน

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular