spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

การยศาสตร์ คืออะไร ทุกเรื่องควรรู้เกี่ยว Ergonomic ลดการบาดเจ็บและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

Ergonomics healthy postures 1

ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นอาการที่คนทำงานโดยทั่วไปพบเจอ โดยเฉพาะพนักงานในโรงงาน และพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ในบทความนี้ Jorprotoday จะมาเล่าถึง การยศาสตร์ หรือ Ergonomic ศาสตร์ที่จะช่วยให้การทำงานของคุณปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากยิ่งขึ้น การยศาสตร์ คืออะไร จะลดความเสี่ยงในการทำงานได้อย่างไร ผมจะเล่าให้ฟังครับ

การยศาสตร์ คือ

การยศาสตร์ (Ergonomics) ความหมายคือ “ศาสตร์แห่งการทำงาน” โดยคำว่า Ergonomics มาจากรากศัพธ์ภาษากรีกโดยแยกออกเป็น 2 คำ Ergon แปลว่า งาน และคำว่า Nomos แปลว่า กฎตามธรรมชาติ (Natural Laws) เมื่อนำ 2 คำรวมกันจึงออกมาเป็นคำว่า “Laws of Work” ที่แปลว่า ศาสตร์แห่งการทำงาน หรือ กฎของงาน เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาการหาความสัมพันธ์ระหว่างงาน ผู้ปฎิบัติงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อหาวิธีออกแบบลักษณะของการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และลดปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพและอันตรายต่อผู้ปฎิบัติงานเป็นต้น

โดย International Ergonomics Association Executive Council สิงหาคม 2000 ได้ให้นิยามการยศาสตร์ไว้ดังนี้

“Ergonomics (or human factors) is the scientific discipline concerned with the understanding of the interactions among human and other elements of a system, and the profession that applies theory, principles, data and methods to design in order to optimize human well-being and overall system performance.”

 

องค์ประกอบของการยศาสตร์

องค์ประกอบของศาสตร์วิทยาการจัดการสภาพงาน สามารถจัดหมวดหมู่ได้ 3 กลุ่มได้แก่

  1. กลุ่มกายวิภาคศาสตร์

    • เป็นการศึกษาขนาดของมนุษย์ โดยมุ่งพิจารณาถึงปัญหาที่อาจเกิดจากขนาดและรูปร่างของคน และท่าทางหรืออิริยาบถการทำงานของคน
    • ชีวกลศาสตร์ มุ่งพิจารณาถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการออกแรงหรือใช้แรง ในขณะการทำงานของคน
  2. กลุ่มสรีรวิทยา 

    • เป็นการศึกษาและพิจารณาถึงการใช้พลังงานในขณะทำงาน ถ้าหากงานนั้นเป็นงานหนัก พลังงานที่ต้องใช้ไปก็ต้องมากซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้เป็นต้น
    • สรีรวิทยาสิ่งแวดล้อม มุ่งพิจารณาถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมางกายภาพ เช่น ความร้อน แสง เสียง ความสั่นสะเทือน เป็นต้น
  3. กลุ่มจิตวิทยา

    • ในกลุ่มนี้จะกล่าวถึงความชำนาญ เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในลักษณะงานของบุคคล ว่าควรจะทำงานอะไร และทำอย่างไร ตลอดจนการตัดสินใจในการทำงานนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งนอกจากจะเกิดความเสียหายต่อการผลิต อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

แต่ก่อนจะไปเล่าถึงความสำคัญ ปัญหาที่พบ และประโยชน์ที่ได้รับ ผมจะขอเล่าถึงประวัติของการยศาสตร์ (Ergonomic) ให้ฟังกันคร่าวๆ ก่อนนะครับ

 

ประวัติและพัฒนาการของการยศาสตร์

  • สมัยก่อน : ในสมัยก่อนอาวุธหรือเครื่องมือที่ใช้ในสมัยโบราณ มักมีการออกแบบให้เหมาะสมกับการ เช่น หอก หรือ มีดที่ใช้ล่าสัตว์ที่ถูกออกแบบมาให้จับได้ถนัดมือ
  • ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง : แนวคิดสำคัญของการยศาสตร์ คือ เป็นการคัดเลือกคน ให้เหมาะสมกับงาน แต่ก็ยังคงมีความผิดพลาดจากปัญหาเกี่ยวกับการทำงานระหว่างคนกับเครื่องจักร
  • ในยุคปี พ.ศ. 2342 – 2425 : ได้มีบันทึกเกี่ยวกับการบัญญัติศัพท์คำว่า “Ergonomic” โดยบุคคลที่ชื่อว่า Wojeiech Jastrzbowski เป็นการเริ่มวางแนวทางการศึกษาเกี่ยวกับสภาพการทำงานของพนักงาน
  • ในปี พ.ศ. 2454 : เริ่มมีการนำ Scientific Management เข้ามาใช้โดยคุณ Ferderick Winslow Taylor โดยนำมาใช้ในการคำนวนวิธีเพิ่มปริมาณการตักถ่านหินให้ได้มากขึ้นถึง 3 เท่า โดยการลดขนาดและน้ำหนักของพลั่วลง
  • หลังปี พ.ศ. 2460 : มีการพัฒนาแนวคิดของคุณ Taylor โดยบุคคล 2 ท่านได้แก่ Frank and Lillian Gilbreth โดยทั้ง 2 ท่านได้เสนอแนวคิด “Time and Motion Study” การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออก
  • ในช่วงปี พ.ศ. 2488 : มีการจัดตั้งองค์กร “Ergonomic Research Society” or “The Ergonomics Society” 
  • ปี พ.ศ. 2504 : จัดตั้ง “The International Ergonomics Association : IEA” หรือชื่อภาษาไทยว่า “สมาคมการยศาสตร์ระหว่างประเทศ”

Height Adjustable and Standing Desks correct poses

ทำไมการยศาสตร์ถึงมีความสำคัญต่อองค์กร

ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก (MSDs) เป็นเรื่องที่พบเจอให้หมู่พนักงานของประเทศสหรัฐอเมริกา และเอาเข้าจริงก็เป็นปัญหาที่พนักงานบริษัททั่วโลกต้องพบเจอ แต่สำหรับพนักงานในโรงงานที่อยู่ในสายการผลิตมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บได้มากกว่าปกติ เนื่องจากลักษณะการทำงานที่ทำซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บกับทางแทบทั้งสิ้น

อาการบาดเจ็บเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงาน การขาดงาน และเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จากการประมาณการของสำนักงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัยประมาณการว่านายจ้างในประเทศสหรัฐอเมริกาต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 2 หมื่นล้านเหรียญ หรือ กว่า 6 แสนล้านบาทสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก ของพนักงาน ทั้งยังไม่รวมรายได้ที่ลดลงจากการสูญเสียความสามารถในการผลิตอีกด้วย

ปัญหาตามหลักการยศาสตร์ที่พบได้บ่อย

1.ตำแหน่งของร่างกายไม่เป็นธรรมชาติ

ร่างกายของเราจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อเราทำงานในจุดที่ร่างกายเราอยู่ในจุดศูนย์กลาง เมื่อตำแหน่งที่ร่างกายเป็นจุดศูนย์กลางของการทำงานจะเกิดความสบายต่ออวัยวะต่างๆซึ่งจะช่วยลดความเครียดของกล้ามเนื้อ เส้นเอน และระบบโครงสร้าง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูก

วิธีแก้ : ออกแบบสถานที่ทำงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานตามหลักวิศวกรรม

2.การเคลื่อนไหวซ้ำๆ

สำหรับพนักงานที่ทำงานในไลน์การผลิต หรือ พนักงานออฟฟิต มักเจอปัญหาปวดหลัง ไหล่ ข้อมือ หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ออฟฟิตซินโดรม” เป็นอาการบางเจ็บที่เกิดจากการทำงานทางท่าเดิมซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่ยาวนาน ตั้งแต่การพิมพ์งาน การตอบรับโทรศัพท์ ไปจนถึงการหยิบของ หรือแม้กระทั่งตอกตะปู การใช้กล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องสำหรับการทำสิ่งเดียวส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดความเครียด อาการเจ็บปวดสะสมกับร่างกายในที่สุด

วิธีแก้ : กำหนดระยะเวลาการทำงาน และ การพัก

หลักการปฏิบัติที่ดีในการป้องกันการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ คือการเปลี่ยนงานบ่อยๆ (ไม่ใช่การลาออก แล้วเปลี่ยนงานนะครับ) แต่หมายถึงลักษณะของการออกแบบงานให้พนักงานเปลี่ยนลักษณะงานเพื่อลดการทำงานเดิมซ้ำๆ เพื่อให้ได้ใช้กล้ามเนื้อในหลายส่วนที่ต่างกันไป เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อของคุณฟื้นตัว

3.การวางตำแหน่งของงานที่ไม่เหมาะสม

การวางตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม หมายถึง ตำแหน่งของร่างกายขณะทำงานเบี่บงเบนจากศูนย์กลางเป็นอย่างมาก ในกรณีที่ยืนทำงานการเอนตัวไปด้านหน้า ด้านข้างหรือด้านหลังจนร่างกายเสียสมดุลตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อลดลงและทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้กำลังมากยิ่งขึ้นในการทำงานให้เสร็จ แรงที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพที่ลดลงนี้เองจะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูก ตัวอย่างของการวางตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมได้แก่ การงอ การเอื้อม การยก และการบิดตัว

วิธีแก้ : เก็บสิ่งที่คุณหยิบจับชิ้นงานบ่อยสุด เอาไว้ใกล้ตัว

หลีกเลี่ยงการวาสงตำแหน่งของร่างกายและการทำงานที่ไม่เหมาะสม พยายามวางของที่กำลังทำและใช้เป็นประจำไว้ใกล้ตัว วิธีนี้ช่วยให้ร่างกายของคุณอยู่ในจุดศูนย์กลางมากที่สุด โดยที่คุณลดการเอื้อม บิด หรือ งอตัวบ่อยๆ

Credit : engineerlive.com

4.เคลื่อนไหวน้อยเกินไป

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่บ่งชี้ให้เห็นว่าเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะนิ่งเป็นระยะเวลานานพนักงานมีโอกาสได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและกระดูดมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและกระดูก การนั่งเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่อสุขภาพชนิดเรื้อรังได้ เช่น โรคอ้วนและโรคเบาหวาน

วิธีแก้ : ลุกขึ้นเปลี่ยนท่าทางทุกๆ 30 นาที

ในการศึกษาที่ได้รับการตีพิพม์ของแพษทย์ด้านอายุรศาสตร์ แนะนำว่าหลังจากการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลา 30 นาที ควรลุกขึ้นและเคลื่อนไหว  จากการวิจัยพบว่าการเคลื่อนไหวทุกๆ 30 นาที ไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและกระดูกเท่านั้น ยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย

การยกสิ่งของ 1 คน

การยกสิ่งของ 2 คน

ประโยชน์ของการประยุกต์ใช้การยศาสตร์ในที่ทำงาน

การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงลดต้นทุนการผลิตล้วนเป็นเป้าหมายของกิจการส่วนใหญ่อย่างแน่นอน และสิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณประหยัดต้นทุนมากยิ่งขึ้น สามารถหาได้จากการประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ในองค์กรอย่างจริงจัง

ในหัวข้อนี้ผมจะยกกรณีศึกษาจากงานศึกษาวิจัยของกระทรวงแรงงานและอุตสาหกรรมแห่งรัฐวอชิงตันที่ได้ศึกษาธุรกิจที่ใช้การยศาสตร์ 250 ธุรกิจเพื่อศึกษาถึงผลกระทบของการยศาสตร์ที่มีต่อเป้าหมายทางธุรกิจ เช่น การประหยัดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต และการปรับปรุงคุณภาพการผลิต สามารถสรุปออกมาเป็นประโยชน์ 5 ข้อได้ดังนี้

1.การยศาสตร์ช่วยลดต้นทุน

เมื่อองค์กรนำหลักการยศาสตร์และสรีรศาสตร์มาใช้ลดความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ บริษัทของคุณจะสามารถป้องกัน MDS ที่มีต้นทุนค่ารักษาที่แพงได้ นอกจากนี้สิ่งที่เป็นค่าใช้จ่ายทางอ้อมต่อบริษัท (ที่อาจจะมากกว่าค่ารักษาพยาบาล)

นี้คือสถิติการลดอัตราการบาดเจ็บจากการประยุกต์ใช้

  • ลดความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโดยเฉลี่ย 59%
  • ลดการสูญเสียวันทำงาน 75%
  • ลดค่าชดเชยคนงานลง 68%
  • ลดต้นทุนต่อการเรียกร้อง 39%
  • ค่าแรงลดลง 43%

 

2.การยศาตร์ช่วยเพิ่มผลผลิต

วิธีแก้ปัญหาตามหลักการยศาสตร์และสรีรศาสตร์ที่ถูกออกแบบมาอย่างดีมักช่วยปรับปรุงการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ด้วยการออกแบบงานเพื่่อให้มีท่าทางที่ดี ออกแรงน้อยลง เคลื่อนไหวน้อยลง และความสูงและระยะเอื้อมได้ดีขึ้น เมื่อทำได้ประสิทธิภาพของเวิร์คสเตชั่นจะเพิ่มมากขึ้น

  • ผลผลิตเพิ่มขึ้น 25%

**ในประเทศญี่ปุ่นประยุกต์ใช้การยศาสตร์ในกระบวนการ Early Equipment Maintenance ในเสาหลักที่ 5 ของ TPM คือการให้ผู้ปฎิบัติงานมีส่วนร่วมในออกแบบเครืองจักรใหม่ซ่อมบำรุงง่ายและใช้งานได้เหมาะสมกับการปฎิบัติงานอย่างแท้จริง

3.การยศาสตร์ช่วยปรับปรุงคุณภาพ

ถ้าบริษัทไม่ได้ออกแบบหลัการยศาสตร์ในการทำงานที่ดีมักนำไปสู่ความท้อแท้และเหนื่อยล้าของพนักงาน ซึ่งส่งผลให้การทำงานออกมาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งเป็นต้นทุนแฝงในองค์กรเช่นกัน ท้ายที่สุดพวกเขาอาจไม่ทำงานเหมือนที่ได้รับฝึกอบรมมา ตัวอย่างเช่น พนักงานในฝ่ายการผลิตอาจจะขันสกรูให้แน่นได้ไม่เพียงพอเนื่องจากน้องใช้แรงสูงซึ่งอาจะทำให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์

  • ข้อผิดพลาดลดลงโดยเฉลี่ย 67%

4.การยศาสตร์ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน

เมื่อองค์กรใดที่พยายามอย่างเต็มที่ ที่จะพัฒนาองค์กรเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานของพวกเขามีสุขภาพและความปลอดภัย พนักงานในบริษัทมีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือและแจ้งให้ทราบและให้ความร่วมมือในการรายงานผลหากพวกเขารู้สึกเหนื่อยล้าและไม่สบายตัวระหว่างทำงาน เมื่อเป็นเช่นนี้องค์กรจะสามารถลดอัตราการลาออก ลดการขาดงาน เพิ่มขวัญกำลังใจ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน

  • อัตราการลาออกของพนักงานลดลงโดยเฉลี่ย 48%
  • การขาดงานของพนักงานลดลงโดนเฉลี่ย 58%

 

5.การยศาสตร์สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยที่ดีขึ้น

การนำหลักการยศาสตร์มาประยุกตใช้ในองค์กรแสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพเป็นค่านิยมหลัก ผลกระทบเชิงบวกที่สะสมจากประโยชน์สี่ประการก่อนหน้านี้ของการยศาสตร์คือ “วัฒนธรรมความปลอดภัยที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นสำหรับบริษัทของคุณ” พนักงานที่มีสุขภาพดีเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร การสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานจะนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมในทิศทางที่ดีขึ้นสำหรับองค์กรของคุณ

การประยุกต์ใช้การยศาสตร์ในที่ทำงาน คุ้มค่าหรือไม่ ??

สุดท้ายทุกองค์กรมองหาความคุ้มค่าต่อการลงทุน ถ้าคำถามว่าคุ้มค่าหรือไม่? คำตอบต้องเป็น ใช่!! มันคุ้มค่าอย่างแน่นอน ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อธุรกิจ ยังส่งผลดีต่ออาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานของคุณอีกด้วย

ถ้าคุณเป็นผู้จัดการแล้วต้องการจะเริ่มประยุกต์ใช้การยศาสตร์ในองค์กรอย่างจริงจัง อาจะเริ่มจากการพิจารณาสิ่งเหล่านี้

  • สิ่งนี้เพิ่มรายได้ของคุณหรือไม่?
  • สิ่งนี้จะลดค่าใช้จ่ายของเราหรือไม่
  • สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องต่อองค์กรและเป็นสิ่งที่ดีต่พนักงานหรือไม่

เมื่อคุณพิจารณาถึงกระบวนปรับตามหลักการยศาสตร์ และสรีรศาสตร์ คุณสามาถตอบ ใช่!! สำหรับทั้งสามคำถาม และเริ่มต้นได้เลยครับ

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular