
NFPA ย่อมาจาก National Fire Protection Association
เป็นองค์กรระดับสากลที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1896 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มุ่งเน้นไปที่การป้องกันอัคคีภัย การสนับสนุน การป้องกัน สนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยต่าง ๆ รวมไปถึงการช่วยเหลือให้ประชากรในประเทศต่าง ๆ มีคุณภาพด้านการป้องกันอัคคีภัยมากขึ้น โดยใช้วิธีด้านประชามติ การวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอัคคีภัย การฝึกอบรมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัคคีภัย และให้ความรู้แก่ประชาชน ให้เข้าใจเกี่ยวกับอัคคีภัยกันมากขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
NFPA ย่อมาจาก National Fire Protection Association เป็นองค์กรระดับสากลที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1896 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มุ่งเน้นไปที่การกำหนดมาตรฐานต่างๆ ป้องกันอัคคีภัย การสนับสนุน การป้องกัน สนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยต่าง ๆ รวมไปถึงการช่วยเหลือให้ประชากรในประเทศต่าง ๆ มีคุณภาพด้านการป้องกันอัคคีภัยมากขึ้น โดยใช้วิธีด้านประชามติ การวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอัคคีภัย การฝึกอบรมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัคคีภัย และให้ความรู้แก่ประชาชน ให้เข้าใจเกี่ยวกับอัคคีภัยกันมากขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
โดยปกติแล้ว NFPA จะมีการทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานอย่างน้อยทุก 5 ปี เพื่อปรับเปลี่ยนให้ทันต่อเทคโนโลยีปัจจุบันที่มีการปรับปรับวัสดุ และ วิธีการตลอดเวลา
รหัสต่าง ๆ ของ NFPA คืออะไร
มาตรฐานจากองค์กร NFPA นั้นจะเน้นไปที่การใช้รหัส (Code) และ สีต่าง ๆ เพื่อบ่งบอกให้เข้าใจถึงปัจจัยด้านอัคคีภัย รูปแบบต่างๆสาเหตุที่จะต้องใช้รหัสและสีนั่นก็เพราะว่า ในการทำงานหรือองค์กรต่าง ๆ มักจะมีความเร่งรีบที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น ดังนั้นจึงต้องเน้นความรวดเร็ว ความเข้าใจง่าย NFPA มีการออกรหัสที่เยอะมาก ๆ มีเยอะถึงหลักร้อยรหัสเลย เราจะยกมาเฉพาะรหัส หรือ โค้ดที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และคิดว่าน่าจะได้ใช้จริง ดังนี้
- NFPA 1 รหัสที่เกี่ยวข้องกับไฟ ปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับไฟ ทั้งแหล่งกำเนิดไฟ อุปกรณ์ดับเพลิงต่าง ๆ จะรวมอยู่ในรหัสนี้
- NFPA 10 มาตรฐานสำหรับเครื่องดับเพลิงแบบพกพา
- NFPA 20 รหัสเกี่ยวกับระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
- NFPA 70 รหัสเกี่ยวกับไฟฟ้า เนื่องจากไฟฟ้าก็ถือเป็นวัตถุไวไฟที่อนุภาพรุนแรงชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องมีสัญลักษณ์เพื่อเตือนไว้
- NFPA 72 รหัสเกี่ยวกับ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- NFPA 101 รหัสความปลอดภัยต่อชีวิต
- NFPA 220 รหัสที่แจ้งว่า นี่เป็นไซต์งานก่อสร้าง หรือบริเวณก่อสร้างที่ต้องมีความระมัดระวังสูง
- NFPA 291 คำแนะนำเกี่ยวกับการฝึกฝนเพื่อรับมือและใช้งานหัวก๊อกน้ำสาธารณะเพื่อดับเพลิง
- NFPA 472 ความสามารถในการตอบสนอง รับมือ ต่อวัตถุอันตรายหรือวัตถุไวไฟ และอาวุธหรืออุปกรณ์ที่มีโอกาสก่อกำเนิดอัคคีภัยขนาดใหญ่
- NFPA 704 การระบุวัตถุอันตราย
- NFPA 921 คู่มือการรับมือกับไฟและวัตถุระเบิดต่าง ๆ
- NFPA 1001 เป็นรหัสสำหรับมาตรฐาน คุณสมบัติของนักผจญเพลิง นักดับเพลิง
- NFPA 1002 เป็นรหัสสำหรับนักดับเพลิงอาสาสมัคร เพื่อระบุว่าคนนี้คือคนขับหรือผู้ควบคุมพาหนะดับเพลิง
- NFPA 1006 เป็นรหัสสำหรับนักดับเพลิงอาสาสมัคร เพื่อระบุว่าคนนี้คือหน่วยกู้ภัย
- NFPA 1021 มาตรฐานสำหรับนักดับเพลิงมืออาชีพ
- NFPA 1033 มาตรฐานสำหรับหน่วยดับเพลิง
- NFPA 1979 มาตรฐานชุดดับเพลิงภายในอาคาร
มาตรฐาน NFPA ที่มักจะใช้ในภาคอุตสาหกรรม
ในการทำงานระดับนิคมอุตสาหกรรม หรือโรงงานต่าง ๆ เราจะเห็นได้บ่อยครั้งเลยว่ามักจะมีเรื่องของอุบัติเหตุและอัคคีภัยเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เนื่องจากการทำงานที่มีความอันตราย และคงปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าในภาคอุตสาหกรรมนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานกับสารเคมีหรือวัตถุไวไฟได้
ดังนั้นในภาคอุตสาหกรรม และโรงงานต่าง ๆ จึงใช้มาตรฐาน NFPA เพื่อระบุและเตือนให้บุคลากรรับรู้เกี่ยวกับอัคคีภัย และระมัดระวังในการทำงาน ยกตัวอย่างในการกำหนดรหัสเกี่ยวกับประเภทของไฟ โดยใช้รหัสตัวอักษร และ สี ดังนี้
- ไฟประเภท A ใช้สัญลักษณ์ A สีเขียว เพื่อระบุถึงไฟที่เกิดจากไม้ กระดาษ พลาสติก มีขนาดที่ไม่ได้ใหญ่ และสามารถดับได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องดับเพลิงชนิดโฟมสะสมแรงดัน หรือเครื่องดับเพลิงก๊าซเหลวระเหย
- ไฟประเภท B ใช้สัญลักษณ์ B สีแดง เพื่อระบุถึงไฟที่เกิดจากเชื่อเพลิงน้ำมันทุกประเภท น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล มีขนาดปานกลาง ใช้วิธีการดับเพลิงเหมือนกับไฟระดับ A
- ไฟประเภท C ใช้สัญลักษณ์ C สีฟ้า เพื่อระบุถึงไฟที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า อาจจะเป็นกระแสไฟฟ้าลัดวงจร มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นมาเล็กน้อย ใช้วิธีการดับเพลิงเหมือนกับไฟระดับ A และ B
- ไฟประเภท D ใช้สัญลักษณ์ D สีเหลือง เพื่อระบุถึงไฟที่เกิดจากโลหะ ใช้เครื่องดับเพลิงโซเดียมคลอไรด์ในการดับ
- ไฟประเภท K ใช้สัญลักษณ์ K สีดำ เพื่อระบุถึงไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงในการทำอาหาร มีขนาดที่เล็กมาก สามารถใช้เครื่องดับเพลิงขนิดน้ำในการดับได้
NFPA นั้นเป็นมาตรฐานที่มีรายละเอียดเยอะมาก ๆ และจะต้องศึกษาอย่างถี่ถ้วน นอกจากนี้ยังมีรหัสอื่น ๆ ที่สำคัญหลายรหัส คุณสามารถศึกษาเกี่ยวกับรหัสเหล่านี้และรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ NFPA
หากพูดถึงมาตรฐานของไทยจะมี วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นสถาบันทางวิชาชีพวิศวกรรมของประเทศไทย ที่มีความรับผิดชอบต่อวงการวิศวกรรมในประเทศไทย คอยให้คำแนะนำออกมาตรฐานสอดคล้องกับวิศวกรรมระดับสากล หากใครไม่สะดวกอ่านภาษาอังกฤษ ก็ลองศึกษาข้อมูลจากมาตรฐานของ วสท. ได้เช่นกัน
เครดิต : nfpa.org