spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อยากเป็นวิทยากรสอนความปลอดภัย Trainer เริ่มต้นอย่างไร

เป็นวิทยากรความปลอดภัย ดีไหม มีกี่แบบ

วิทยากร Trainer เป็นอาชีพที่หลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน หากใครชื่นชอบในการพูดสอนงาน ชอบบรรยาย เป็นคนกล้าแสดงออก เมื่อไรที่ได้บรรยายหลักสูตรนั้นหลักสูตรนี้ให้ผู้คนฟังแล้วรู้สึกมีความสุข คุณอาจมีแวว และ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีบนเส้นทางสายวิทยากรแล้วล่ะ

เพื่อให้เข้าใจได้โดยง่ายวิทยากร ผมขอแบ่งเป็น 2 แบบดังนี้

  • แบบที่ 1 วิทยากร ฟรีแลนซ์ (Part time)
  • แบบที่ 2 วิทยากร ฟรีแลนซ์ (Full time)

ทั้ง 2 แบบจะมีความต่างกันอยู่ตรงที่เวลาการทำงาน ซึ่งวิทยากรฟรีแลนซ์ (Part time) เป็นจุดเริ่มต้นของวิทยากรเก่งๆหลายคน ที่เริ่มจากการสอนแบบ Part time ลองสอนเล่นๆ ขำๆ พอได้มีค่าขนมเพิ่ม สามารถทำได้ขณะที่เราทำงานประจำอยู่ มีรายได้เสริม และ ที่สำคัญได้ฝึกเก็บชั่วโมงสอนเพิ่มประสบการณ์ให้ตัวเราเองเกิดความมั่นใจ และ ค่อยๆเก็บฐานลูกค้า สิ่งเหล่านี้ทำได้โดยไม่เสียงานประจำที่ทำอยู่เลยก็ว่าได้

ข้อดีของ วิทยากร ฟรีแลนซ์ (Part time) 

  1. สามารถทำเป็นงานเสริมเพื่อหารายได้ขณะที่ยังทำงานประจำอยู่
  2. สามารถกำหนด วัน เวลา การรับงานได้อย่างอิสระ อยากรับวันไหนเมื่อไรก็กำหนดเองได้ตามใจชอบ
  3. เพิ่มประสบการณ์การทำงานนอกบริษัทที่เราทำอยู่ ได้ออกไปพบปะพูดคุยกับลูกค้าหลากหลายอาชีพ
  4. ได้ฝึกทักษะการสอนเพื่อพัฒนาตัวเอง เราจะได้เจอคอมเม้นความพึงพอใจจากลูกค้า และสามารถนำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปได้

ข้อเสียของการเป็น วิทยากร ฟรีแลนซ์ (Part time)

  1. เวลาพักในวันหยุดน้อยลง การรับงานจะมีข้อจำกัดคือจะรับงานได้เฉพาะวันหยุดที่มีโควต้าจากงานประจำเท่านั้น
  2. การโฟกัสงานประจำของคุณจะเริ่มลดน้อยลงไป ส่งผลให้ประสิทธภาพในการทำงานประจำออกมาไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็นตามมาตรฐาน

วิทยากร ฟรีแลนซ์ (Part time) ส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นคือต้องการที่จะหารายได้เสริมและประสบการณ์ ฟังดูแทบจะไม่มีข้อเสียเลย แต่จากประสบการณ์ของผมในการเป็นวิทยากรทั้งแบบ Part time และ Full time จะบอกน้องๆ และ ผู้สนใจที่ต้องการก้าวเข้ามาในเส้นทางสายนี้ คือคุณจะต้องมีระเบียบวินัยอย่างมากที่จะแบ่งเวลาการทำงาน และ ความรับผิดชอบ เพื่อที่จะไม่ให้การรับงานสอน Part time นั้น ไปกระทบกับงานประจำที่เราทำอยู่

วิทยากรใหม่หลายคนสนุกกับการรับงานสอน Part time จนไปกระทบกับงานประจำ เช่น ลางานบ่อยเพื่อรับงานสอน ยิ่งมีงานสอนติดต่อเข้ามาเยอะยิ่งต้องหาเรื่องลางาน “ใครจะปฏิเสธเงินละเนาะ” และในที่สุดเมื่อได้เงินจากการสอนจำนวนใกล้เคียง หรือ เท่ากับเงินเดือน หรือ ได้เงินจากการสอนมากกว่างานประจำ

เมื่อนั้น.. คุณจะเหมือนถูกสะกดคล้ายต้องมนต์ตรา สมองซีกซ้าย และ ขวาจะถูกสั่งให้ทบทวนว่า “เราควรเลือกอยู่ทำงานประจำต่อ หรือ พอแค่นี้” ส่วนใหญ่ร้อยละ 50% อยากลาออกไปทำงานของตัวเองอยู่แล้ว ว้าวุ่นกันเลยทีนี้ “ลาออกสิรออะไร” แต่.. เดี๋ยวก่อน อ่านต่อให้จบก่อน

วิทยากร ฟรีแลนซ์ (Full time)

ขอเรียกว่าฟรีแลนซ์เต็มเวลาแล้วกันนะครับ ส่วนใหญ่คนที่ตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาสอนเต็มตัว เต็มเวลา บ้างอยากมีอิสระทางเวลา บ้างมีรายได้มากกว่างานประจำ อยากเลือกรับงานสอนตามที่เราชอบ หรือ อื่นๆ ฟังดูแล้วมันชั่งดูใจฟู 

แต่.. ในความเป็นจริงอีกมุมนึงที่คุณจะต้องทำความเข้าใจ และ เตรียมตัวรับมือกับความกดดันมหาศาล มีอะไรบ้างไปดูกัน เช่น

  1. คุณจะพบว่าต่อให้คุณสอนเก่งแค่ไหนก็รับงานสอนได้เพียงวันละงาน
  2. คุณจะเริ่มรู้สึกเครียดหากเดือนนั้นไม่มีงานสอน หรือ มีรายได้สอนเริ่มไม่พอกับรายจ่าย
  3. คุณจะต้องเหนื่อยกับการเดินทาง เรียกได้ว่าเดินทางทั่วไทย ขับรถขึ้นเหนือล่องใต้ ขึ้นเครื่องบิน ลงเรือ บลาๆๆ ในช่วงแรกก็อาจจะสนุกที่ได้เดินทางได้เจออะไรใหม่ๆ แต่..นานวันเข้า คุณจะเริ่มไม่อยากเดินทางนานๆ ยิ่งหากมีครอบครัว มีลูก รับรองว่ามีโอกาสที่สอนออกไปสอนอย่างจำใจเลยทีเดียว
  4. คุณจะพบว่าต่อให้คุณเก่งขนาดไหนคุณจะเจอกับวิทยากรคนอื่นที่พร้อมยื่นข้อเสนอตัดราคาค่าตัว (มีทุกวงการ) ทำให้งานหลุดไปหาคู่แข่ง
  5. ความมั่นคงในด้านสวัสดิการต่างๆจะไม่มีเหมือนทำงานประจำ เช่น เงินโบนัส เงินปรับประจำปี วันลาพักร้อน ลาป่วย ลาบวช ทุกๆอย่างคุณต้องหามาเติมเต็มเองทั้งหมด รวมไปถึงห้ามเจ็บ ห้ามป่วย เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนของเรา และ ครอบครัว คือภาระที่ต้องจ่ายในทุกๆเดือน

วิทยากรที่เก่งเฉพาะเรื่อง หรือ สอนได้หลากหลาย อย่างไหนดีกว่ากัน

คำถามนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณถามใคร แต่เชื่อเถอะครับหากคุณเป็นวิทยากรที่รับงานสอนแล้ว คนที่คุณควรให้ความสำคัญกับคำตอบมากที่สุดคือ คนที่จ้างเรา หรือ ลูกค้า พวกเขาจะบอกคุณเองหากคุณบรรยายได้ตรงตามที่เขาต้องการ นั้นคือคุณประสบความสำเร็จไปอีกขั้นแล้ว ส่วนคนอื่นๆที่พูดกับคุณในเชิงลบ ก็ไม่ต้องไปสนใจมากหรอกนะครับ จะเสียกำลังใจเปล่าๆ ยกเว้นหากมีคอมเม้นไหนที่มีประโยชน์อันนี้ก็เอามาปรับปรุงพัฒนาต่อไปได้ครับ

วิทยากรเงินดีไหม ?

ค่าตัวในการสอนของวิทยากรแต่ละหลักสูตร แต่ละคนแน่นอนจะไม่เท่ากันเนื่องจากแต่ละคนมีประสบการณ์สอนที่ต่างกัน รวมไปถึงลีลาการสอนถูกใจลูกผู้จ้างมากน้อยแตกต่างกันไป หรือ อาจเป็นหลักสูตรเฉพาะด้านที่หาวิทยากรยากก็อาจจะได้ค่าตอบแทนสูงกว่าทั่วไป โดยเฉลี่ยแล้ววิทยากรสอนหลักสูตรความปลอดภัยทั่วไปจะแบ่งตามนี้

  • หลักสูตรตามกฎหมายที่วิทยากรต้องขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการฯ เช่น หลักสูตร จป, คปอ, รายได้จะอยู่เฉลี่ยที่ 5,000-8,000 บาท ต่อวัน
  • หลักสูตรที่วิทยากรไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการฯ เช่น การทำงานกับสารเคมี, รถยก , รายได้จะอยู่เฉลี่ยที่ 5,000-6,000 บาท ต่อวัน
  • หลักสูตรเฉพาะด้านที่ต้องหาคนที่มีความชำนาญมากๆในการสอน รายได้จะอยู่เฉลี่ยที่ 8,000-15,000 บาท ต่อวัน

วิทยากรที่มีค่าตัวที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยตามที่กล่าวมาก็มีนะครับ ซึ่งเขาอาจจะต้องมีความพิเศษแบบลูกค้าชอบมากๆ ยอมจ้างงานเพื่อจ่ายแพงมากกว่าวิทยากรคนอื่นๆหลายคน เช่นอาจจะสอนสนุกมากๆ สอนเนื้อหาดีได้ความรู้ เท่าไรก็ยอมจ่ายทำนองนั้น

วิทยากรที่มีเลขทะเบียน กับ ไม่มีเลขทะเบียนต่างกันอย่างไร

ปัจจุบันกฎหมายได้มีการพัฒนาให้วิทยากรที่จะทำการสอนในหลักสูตรต่างๆ จะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะสอนในหลักสูตรนั้นๆ และ ไปขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อมีเลขทะเบียน ดังนั้นคนที่จะออกมาเป็นวิทยากรก็จะต้องวางแผนตรงนี้ด้วยนะครับไม่เช่นนั้นลาออกจากงานมาแล้วแต่ไม่มีเลขทะเบียนสอนในหลักสูตรก็อาจจะว่างงานได้ยาวๆเลยเหมือนกัน หรือ หากเราจะสอนในหลักสูตรที่ไม่ต้องขึ้นทะเบียนก็อาจจะต้องเจอการแข่งกันสูง เพราะ วิทยากรที่ขึ้นทะเบียนหลายท่านก็สอนหลายหลักสูตรแน่นอนว่าดีกรีของคนที่มีเลขทะเบียนจะดูดีกว่า

อยากขึ้นทะเบียนวิทยากรต้องทำอย่างไร

ในหลักสูตรต่างๆกฎหมายจะระบุคุณสมบัติของวิทยากรว่ามีอะไรบ้าง หากเราดูแล้วว่ามีคุณสมบัติที่ตรงผมแนะนำให้ส่งเมล์หรือติดต่อไปยังศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยต่างๆ ขอฝึกสอน และ ขอโอกาสเป็นวิทากร Part time ติดต่อไปเลยไม่ต้องเขินอายเหมือนสมัครงาน เพราะนั้นอาจเป็นจุดเริ่มที่ดีของเราก็ได้

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหวังว่าจะพอเป็นแนวทางเล็กๆน้อยให้กับผู้ที่สนใจ และ ขอให้กำลังใจวิทยากรทุกคน รวมถึงน้องใหม่ที่มีความสนใจอยากลองก้าวเข้ามาในเส้นทางนี้ “ลุยเลยครับ” อย่าให้ใครมาตัดสินชี้ว่าเราทำอะไรได้ หรือ ไม่ได้ มีคุณคนเดียวเท่านั้นที่เป็นคนตัดสิน

หากชอบผมรบกวนช่วยกดไลน์ กดแชร์ให้ด้วยนะครับเผื่อเป็นแนวทางให้คนที่สนใจได้เห็น

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular