spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

การเทียบเท่าวุฒิการศึกษาเพื่อเป็น จป วิชาชีพ คืออะไร

การเทียบเท่าวุฒิ จป วิชาชีพ

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานออกประกาศ เรื่อง การเทียบเท่าวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยการเทียบวุฒิการศึกษาดังกล่าวเพื่อต้องการให้ผู้ที่จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ผู้ที่มีความสนใจสายงาน จป วิชาชีพ ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดไว้ สามารถขึ้นทะเบียนเป็น จป.วิชาชีพได้ 

การเทียบเท่าวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้ ถูกจัดทำในความสืบเนื่องของกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามข้อบังคับพ.ศ. 2565 ข้อ 21 (1)

ซึ่งระบุว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือเทียบเท่าตามที่อธิบดีกำหนด คำว่า “เทียบเท่าตามที่อธิบดีกำหนด” เป็นสิ่งที่ต้องเรียกเก็บตามคำสั่งของอธิบดี ทำให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศเรื่องการเทียบเท่าวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในประกาศนี้เพื่อให้มีความชัดเจนที่ระบุไว้

ข้อ 21 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือเทียบเท่าตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
  2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วม่น้อยกว่า 5 ปี และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน
  3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 5 ปีในสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 หรือสถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2565
  4. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
  5. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมินภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2565
  6. เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 หรือเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. 2535 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน ภายในห้าปีนับแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2565

ซึ่งหากมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด 6 ข้อข้างต้นก็สามารถขึ้นทะเบียนเป็น จป วิชาชีพได้ แต่เมื่อมีประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องการเทียบเท่าวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยประกาศออกมาก็ทำให้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

จากเดิมผู้ที่จะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นจป วิชาชีพจะต้องจบหลักสูตรของสถานบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ผ่านการพิจารณาจากกระทรวงอุดมศึกษา เมื่อเรียนจบสามารถใช้วุฒิการศึกษาไปขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ หากจบปริญญาตรีสาขาวิชาชีพอื่นจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นจป วิชาชีพได้

การเทียบเท่าวุฒิการศึกษา จป วิชาชีพ ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานฉบับนี้ได้กำหนดรายละเอียดสำหรับการเทียบวุฒิสำหรับระดับปริญญาตรีโดยมีรายละเอียดหลักดังนี้

  1. จำนวนหน่วยกิตด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ไม่น้อยกว่า 44 หน่วยกิตประกอบด้วย
  • กลุ่มวิชาที่ 1 ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต กลุ่มวิชาอาชีวอนามัย
  • กลุ่มวิชาที่ 2 ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต กลุ่มวิชาความปลอดภัย
  • กลุ่มวิชาที่ 3 ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต กลุ่มวิชากฎหมายความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และกฎหมายแรงงาน
  • กลุ่มวิชาที่ 4 ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต กลุ่มวิชาวิศวกรรมทางด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
  • กลุ่มวิชาที่ 5 ไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต กลุ่มวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
  • กลุ่มวิชาที่ 6 ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต กลุ่มวิชาสนับสนุนวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ซึ่งในรายละเอียดของแต่ละกลุ่มวิชาจะมีรายละเอียดย่อยอธิบายเกี่ยวกับกลุ่มวิชาและคำอธิบาย ตัวอย่างรายชื่อวิชาหลัก และตัวอย่างรายชื่อวิชาเทียบเคียง โดยสามารถดูรายละเอียดได้จากประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การเทียบเท่าวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

  1. จำนวนและเครื่องมือด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการตรวจวัดและวิเคราะห์ความร้อน แสงสว่างเสียงฝุ่นและสารเคมีที่ได้มาตรฐานหรือตามที่กฎหมายกำหนดโดยต้องมีจำนวน 1 ชุดต่อจำนวนนักศึกษา 20 คนต่อรอบการฝึกปฏิบัติ และ สำหรับระดับปริญญาโทขึ้นไปต้องสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรของสถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ผ่านการพิจารณาหลักสูตรจากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาตร์วิจัยและนวัตกรรม

ซึ่งในการเทียบเท่าวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยดังกล่าวอาจต้องรอคอยสถาบันที่เปิดสอนว่าวิชาที่สอนนั้นจะได้รับการพิจารณาจากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาตร์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อเทียบเท่าได้หรือไม่อย่างไร ทาง จป ทูเดย์ จะมา update อีกครั้ง

update. 19.10.66

 

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular