spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มาตรฐานการทำงานบนที่สูง เรียนรู้ขั้นตอน และ วิธีการปฏิบัติงานตามกฎหมายปี 2564

การทำงานบนที่สูง

จากสถิติเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูงพบว่ามีอุบัติเหตุการทำงานบนที่สูงการ บาดเจ็บ และ เสียชีวิตเฉลี่ยแล้วมากกว่า 54% คือคนที่ไม่ได้มีการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล PPE หรือ อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานยังไม่ได้ผ่านการฝึกอบรบการทำงานบนที่สูงตามกฎหมายกำหนด เนื่องจากที่ผ่านมานายจ้างหลาย ๆ คนยังไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยของพนักงานมากนัก 

ดังนั้นในวันนี้ เราจะมาแนะนำ สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง ซึ่งข้อมูลในวันนี้เป็นข้อมูลอัปเดตล่าสุดปี 2565 โดยยึดตาม พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นกฎหมายตรงเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูงที่นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

การทำงานบนที่สูง คืออะไร ?

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การทำงานบนที่สูง หมายถึงอะไร การทำงานบนที่สูง คือการทำงานไม่ว่าจะเป็นงานด้านวิศวกรรม อุตสาหกรรม หรือการปฏิบัติงานในทุก ๆ ด้าน ซึ่งตัวผู้ทำงานจะอยู่บนพื้นที่ที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป หรือทางต่างระดับลงไปมากกว่า 2 เมตรก็ตาม ด้วยความที่การทำงานบนพื้นที่สูงนั้นมีความเสี่ยงสูงที่ตัวผู้ทำงานจะเกิดความอันตรายต่อชีวิต เช่น พลัดตก ทำให้กฎหมายสำหรับการทำงานบนที่สูงมีประกาศออกมาบังคับให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน และ ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานบนที่สูง มีรายละเอียดดังนี้

การป้องกันการตกจากที่สูง

กฎหมายการทำงานบนที่สูงปี พ.ศ.2564

ตามมาตรา 5 วรรค 1 และมาตรา 8 วรรค 1 ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ได้บัญญัติไว้ดังนี้ 

  1. นายจ้างจะต้องบังคับให้มีการอบรมที่สูง หรือ ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบังคับและขั้นตอนในการทำงานเพื่อความปลอดภัย 
  2. นายจ้างจะต้องมีเอกสารประกอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยที่ออกด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ลูกจ้างอ่านและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 
  3. นายจ้างจะต้องเตรียมอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยที่ได้รับมาตรฐาน และบังคับใช้อย่างเคร่งครัด 
  4. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการเตรียมความพร้อม ตรวจสอบ และเตรียมอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย เช่น การตรวจสอบว่าอุปกรณ์พร้อมใช้งานก่อนการทำงานทุกครั้ง 
  5. นายจ้างจะต้องจัดให้มีอุปกรณ์กันตก เช่น ราวกั้น รั้วกั้น หรือตาข่ายต่าง ๆ ในกรณีที่มีการทำงานบนพื้นที่สูง 4 เมตรขึ้นไป แต่แนะนำว่าควรมีไม่ว่าจะสูงเท่าไหร่ก็ตาม 
  6. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการติดตั้งนั่งร้านที่ได้มาตรฐาน
  7. นายจ้างจะต้องจัดให้มีฝาปิดช่องหรือปล่องต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีโอกาสตกลงไปได้ โดยฝาปิดจะต้องเป็นฝาปิดที่ได้มาตรฐาน 
  8. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการติดตั้งนั่งร้านในกรณีที่พื้นที่ปฏิบัติงานมีความลาดชันเกิน 15 องศาขึ้นไป
  9. นายจ้างจะต้องจัดให้มีการผูกยึดอุปกรณ์ในการทำงานบนที่สูง เพื่อป้องกันไม่ให้ตกลงมาและอาจจะก่อเกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่ข้างล่าง 
  10. นายจ้างจะต้องบังคับใช้ให้บันไดที่เคลื่อนย้ายได้ พาดทำมุม 75 องศาเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน 
  11. หากใช้รถเครน จะต้องบังคับใช้แผ่นเหล็กเพื่อมารองขาช้างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอ่อนตัวแล้วทำให้รถเครนล้มตัวลงมา โดยคนขับและผู้ให้สัญญาณจะต้องผ่านการอบรม และตัวรถเครนจะต้องผ่านการตรวจสอบเครนจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและมีใบอนุญาต 

ความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง

นอกจากกฎที่บังคับใช้กับนายจ้างแล้ว กฎที่บังคับใช้กับผู้ปฏิบัติงานก็มีเช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

  1. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ปลอดภัย รัดกุม และเรียบร้อย และจะต้องเป็นเครื่องแต่งกายที่ได้มาตรฐาน 
  2. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยระหว่างการทำงานเสมอ เช่น ถุงมือ รองเท้านิรภัย เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว สายช่วยชีวิต เป็นต้น อาจจะมีอุปกรณ์อื่น ๆ เพิ่มเติมตามแต่เนื้องาน และอุปกรณ์ทุกชิ้นจะต้องผ่านมาตรฐาน 
  3. การขึ้นลงบันได จะต้องขึ้นลงทีละคน 
  4. ขณะขึ้นและลงบันได จะต้องมีคนจับขาบันไดทั้งสองข้าง 
  5. ห้ามถือเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทำงานใด ๆ ระหว่างขึ้นบันได หากต้องขึ้นบันไดควรมีกระเป๋าในการเก็บอุปกรณ์โดยเฉพาะ และจะต้องสะพายหลังหรือติดกับเข็มขัดไว้เท่านั้น 

การขึ้นลงบันได จะต้องขึ้นลงทีละคน

โดยกฎเหล่านี้ เป็นกฎที่ทั้งนายจ้าง และผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในทุก ๆ การทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อทั้งตัวผู้ปฏิบัติงานเอง หรือเนื้องานเองด้วย

กฎหมายอีกฉบับที่ประบังคับใช้กับสถานประกอบกิจการและนายจ้าง คือ

กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564

ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัยในงานบนที่สูง

  1. นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือ คู่มือการทำงานนั้นเองโดยก่อนเริ่มทำงานเราจะต้องทำการอบรมให้กับพนักงานก่อนเริ่มทำงานบนที่สูง อาจจะใช้การประเมินอันตรายด้วย JSA มาทำเป็นคู่มือก็ได้เช่นกัน
  2. นายจ้างและผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามคู่มือการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานบนที่สูงอย่างเคร่งครัด
  3. จะต้องสวมใส่อุปกรณ์กันตก เข็มขัดนิรภัย หรือ PPE ตลอดระยะเวลาที่ทำงานบนที่สูง รวมทั้งจัดให้มีส่วนประกับของระบบกันตกดังนี้
    3.1 จุดยึดที่แข็งแรง (A)
    3.2 เข็มขัดกันตกยึดกับร่างกาย (B)
    3.3 อุปกรณ์เชื่อต่อในแต่ละส่วนที่ได้มาตรฐานแข็งแรง (C)

มาตรการป้องกันการตกจากที่สูง ABC

  1. อุปกรณ์ PPE และเครื่องมือการทำงานบนที่สูงจะต้องจัดให้มีการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยเสมอ
  2. หากมีการทำรั้วกันตกจะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1.10 เมตร
  3. บริเวณที่ปฏิบัติงานจะต้องมีการติดป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัยในงานบนที่สูง

สรุป :

การดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ ไม่ใช้หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือ จป นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายการทำงานบนที่สูงเพื่อให้พนักงานเกิดความปลอดภัยจากการตกจากที่สูงอันจะทำให้เกิดอันตรายกับลูกจ้างได้

หากท่านใดที่ไม่ได้รับความปลอดภัย ความเป็นธรรมในการทำงาน หรือรู้สึกว่าพื้นที่ปฏิบัติงานของตนเองนั้นไม่ปฏิบัติตามกฎเกี่ยวกับความปลอดภัย สามารถร้องเรียนได้ที่ 024489128 หรือที่อีเมล safety@labour.mail.go.th

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular