spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อาการโรคหอบหืด สัญญาณและอาการที่ควรรู้

1.โรคหอบหืด

โรคหอบหืดเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้เยื่อบุและผนังหลอดลมตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจากภายในและภายนอกมากกว่าปกติ และอาจเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะตอนกลางคืนและช่วงเช้ามืด โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และหากมีอาการรุนแรงสามารถทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ โรคหอบหืดไม่ใช่โรคติดต่อแต่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้

2.โรคหอบหืด

โรคนี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่สะดวก และมีเสียงหวีดเหนื่อยหอบ

อาการของโรคหอบหืด

1. ไอ มักเกิดไอโดยเฉพาะตอนออกกำลังกายและตอนกลางคืน

2. หายใจมีเสียงหวีด

3. แน่นหน้าอก หายใจติดขัดหรือมีอาการเหนื่อยหอบที่เป็นซ้ำๆ

4. อาการกำเริบ มักเกิดขึ้นในบางฤดูหรือสัมพันธ์กับสารกระตุ้นบางชนิด

5. อาการช่วงกลางคืน อาจทำให้นอนไม่หลับ

6. อาการดีขึ้นเมื่อใช้ยารักษา เช่น ยาขยายหลอดลม

7. อาการแสดงอื่นๆ เช่น หวัดลงปอด หรือการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่างซ้ำๆ

8. ประวัติการเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น โรคบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ภูมิแพ้ผิวหนัง และภูมิแพ้อาหาร

โรคหอบหืดและโรคหืดเป็นโรคเดียวกัน บางครั้งเรียกหอบหืด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหอบร่วมด้วย ซึ่งในผู้ป่วยโรคหืดบางรายอาจไม่มีอาการหอบเพียงอาการไอเรื้อรังและหายใจมีเสียงหวีด โดยอาการหอบจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หลอดลมตีบที่รุนแรง โรคหืดเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรังที่สำคัญ นอกจากกรดไหลย้อนและจมูกอักเสบเรื้อรัง

3.โรคหอบหืด

โรคหอบหืดเป็นภัยรุนแรง สำหรับบุคคลที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันต่ำ 

ปัจจัยที่เสี่ยงสำคัญที่สุดสำหรับการเป็นโรคหอบหืด มักจะเกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาป ขนสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ที่บ้านหรือในสภาพแวดล้อมอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีส่วนเสี่ยงในการเป็นโรคหอบหืด เช่น การติดเชื้อในทางเดินหายใจ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และการสัมผัสกับสิ่งระคายเคืองและมลพิษต่างๆ

การออกกำลังกายและการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ ย่อมมีผลต่อระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหอบหืดได้ สำหรับผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหอบหืด หลังจากได้รับการวินิจฉัยและได้รับการรักษาแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือการปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ อย่างเช่น การใช้ยาตามที่สั่งการแพทย์ และอย่างสำคัญอย่าหยุดยาหรือปรับปรุงการใช้ยาด้วยตนเอง แม้ว่าอาการจะดีขึ้นก็ตาม 

ควรพกยาฉุกเฉินไว้เสมอ 

ในกรณีฉุกเฉินเมื่ออาการหอบหืดกำเริบขึ้น และคนในครอบครัวควรรู้ถึงตำแหน่งที่เก็บยาเอาไว้ของผู้ป่วย เพื่อช่วยในกรณีฉุกเฉินถ้ามีการเกิดขึ้น ควรระบุให้คนในครอบครัวทราบอย่างชัดเจนในทุกๆ ครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหรือการจัดเก็บยาของผู้ป่วยหอบหืด

การรับรู้ปัจจัยเสี่ยงและการจัดการอย่างเหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหอบหืด ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างยาวนาน โดยไม่ต้องกังวลกับอาการหอบหืดที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2691547

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular