spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เตือน! โรค BELL’S PALSY หรือโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก พบมากในผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนน้อย

1.โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

นายแพทย์ วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า อาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งทำงานผิดปกติ โดยมีสาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งในภาวะปกติ เส้นประสาทนี้จะทำหน้าที่การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อแสดงอารมณ์ การหลับตา การอ้าปาก หรือปิดปาก นอกจากนี้ เส้นประสาทเส้นดังกล่าว ยังไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่กระดูกหูชั้นใน ทำหน้าที่รับรสด้วย เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้น จะทำให้ความสามารถปกติเหล่านี้สูญเสียไป 

ผู้ป่วยจะหลับตาไม่สนิท ขยับมุมปากไม่ได้ ทำให้การออกเสียงพยัญชนะที่ต้องใช้ริมฝีปากผิดปกติ โดยมากผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศีรษะบริเวณขมับ หรือใบหูข้างที่เกิดอาการนำมาก่อนไม่กี่วัน หลังจากนั้น จะเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติเกิดขึ้นทีละน้อย และเห็นชัดเจนภายใน 48 ชั่วโมง 

2.โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอีสุกอีไส เชื้อเริมที่เส้นประสาท 

บางส่วนเกิดการอักเสบตามหลังการติดเชื้อไวรัสที่คอ หรือทางเดินหายใจส่วนบน โดยมักจะพบมากในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เช่น หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เตือนอาการอ่อนแรงบริเวณใบหน้าครึ่งซีก ใบหน้าเบี้ยว หลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยว มีน้ำไหลมุมปาก การรับรสผิดปกติ และหูอื้อข้างเดียว อาการเหล่านี้ เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7

นายแพทย์ ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยเส้นประสาทจะสามารถฟื้นตัวเต็มที่ภายใน 3 เดือน แพทย์ผู้ตรวจรักษา จะวินิจฉัยจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เพื่อให้การวินิจฉัย แต่เนื่องจากอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก อาจเป็นอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke ได้ หากอาการก้ำกึ่ง อาจจำเป็นต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การทำงานของประสาท (EMG) ส่วนของการรักษาโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก 

3.โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

หากตรวจพบอาการแสดงของไวรัสอีสุกอีใส หรือเชื้อเริม จะให้ยารักษาไวรัส แต่หากไม่พบสาเหตุของการอักเสบ แต่ผู้ป่วยมารับการตรวจรักษาเร็ว อาจจะพิจารณาให้ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดอาการอักเสบ ซึ่งจะช่วยให้ระยะเวลาในการฟื้นตัวสั้นลง 

ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูเส้นประสาทร่วมด้วย เมื่อผ่านพ้นช่วงเวลาฟื้นตัวแล้ว ปัจจุบันสามารถผ่าตัดย้ายเส้นประสาทได้ นอกเหนือจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อใบหน้าแล้ว อาการหลับตาไม่สนิท เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตาแห้ง เคืองตา หรือตาอักเสบได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจะได้รับน้ำตาเทียม เพื่อหล่อเลี้ยงดวงตา และขี้ผึ้งป้ายตาเวลานอน เพื่อป้องกันตาแห้งและตาอักเสบด้วย ในช่วงกลางวัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรปิดตาข้างที่มีอาการ หรือใส่แว่นกันแดด เพื่อลดอาการเคืองตา หากมีอาการหน้าเบี้ยว ควรรีบไปโรงพยาบาลให้เร็ว เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะโรคหลอดเลือดสมอง แม้ท้ายที่สุดจะตรวจพบว่าเป็นโรค Bell’s Palsy ก็จะได้รับการรักษาเร็ว ซึ่งช่วยให้เส้นประสาทฟื้นตัวได้ดีและเร็วขึ้นด้วย

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.thaihealth.or.th/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84-bells-palsy-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5/

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular