spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

การอดอาหารแบบ IF ส่งผลกระทบที่ดีต่อสมองและระบบลำไส้

1.การอดอาหาร

ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตทางสุขภาพที่สร้างความกังวลไปทั่วโลก โรคอ้วนกลับเป็นปัญหาที่เริ่มมีอิทธิพลใหญ่ในชีวิตประจำวันของประชากรโลก  ประเทศจีนที่มีประชากรจำนวนมาก ก็ไม่ยกเว้นจากสถานการณ์นี้ จีนเองก็ต้องเผชิญกับปัญหาความอ้วนที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน แต่ที่น่าสนใจ คือ ทีมวิจัยทางการแพทย์ของจีน ได้ค้นพบวิธีลดความอ้วน ที่อาจเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสุขภาพของมนุษย์  

3.การอดอาหาร

การทำงานของสมองเชื่อมโยงกับลำไส้ 

คณะนักวิทยาศาสตร์ จากศูนย์วิจัยระดับคลินิกแห่งชาติจีนเพื่อการศึกษาโรคผู้สูงอายุ ได้ทำการทดลองที่น่าสนใจกับผู้ป่วยโรคอ้วน 25 คน เป็นเวลา 62 วัน โดยให้พลังงานที่ได้รับถูกจำกัดด้วยการอดอาหารเป็นบางช่วงเวลา (Intermittent Energy Restriction – IER) ในระหว่างการทดลองนี้ ผู้วิจัยจัดอาหารที่มีแคลอรีในปริมาณที่จำกัดเอาไว้ให้รับประทาน พร้อมกับให้อดอาหารบางช่วงเวลาของวัน ผลลัพธ์ที่ได้ ผู้เข้าร่วมการทดลองสามารถลดน้ำหนักได้ โดยเฉลี่ยคนละ 7.6 กิโลกรัม หรือราว 7.8% ของน้ำหนักตัวที่มีอยู่เดิม

สิ่งที่น่าสนใจมาก คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมองของผู้เข้าร่วมการทดลอง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน พบว่า สัดส่วนของชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ในลำไส้ ที่เรียกว่า ชีวนิเวศจุลชีพ หรือไมโครไบโอม (microbiome) ยังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

ทีมผู้วิจัยใช้เครื่องสแกนเอฟเอ็มอาร์ไอ (fMRI) ตรวจสอบการทำงานในสมองของผู้เข้าร่วมการทดลอง พบว่า สมองส่วน inferior frontal orbital gyrus ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมความอยากอาหารและการเสพติด มีความเคลื่อนไหวมากขึ้น ในการทำงานสอดประสานกับลำไส้ ซึ่งเป็นสมองที่สองของมนุษย์

นอกจากนี้ ผลตรวจเลือดและอุจจาระของผู้เข้าร่วมการทดลอง ชี้ให้เห็นว่า มีสัดส่วนของจุลินทรีย์ในลำไส้บางชนิดเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นชนิดที่มีความเกี่ยวข้องในการทำงานอย่างสอดคล้องระหว่างสมองและลำไส้ (gut-brain axis)  เช่น แบคทีเรีย Coprococcus comes และ Eubacterium hallii ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับซีกซ้ายของสมองส่วน inferior frontal orbital gyrus ที่ควบคุมความสามารถในการบริหารจัดการ และการตัดสินใจ

2.การอดอาหาร

สมองทำงานควบคุมพฤติกรรมการกินได้ดีขึ้น

ดร. หวัง เซี่ยวหนิง หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยจากศูนย์คลินิกโรคคนชราแห่งรัฐจีน กล่าวว่า ระบบจุลชีวนิเวศในลำไส้ อาจจะมีการสื่อสารกับสมองโดยตรง ผ่านการผลิตสารสื่อประสาทและสารพิษที่ออกฤทธิ์ต่อประสาทบางอย่าง ซึ่งจะเข้าไปยังสมองทางกระแสเลือดและเครือข่ายเซลล์ประสาท 

ทีมวิจัยนี้กำลังศึกษากลไกเบื้องลึกระหว่างสมองและลำไส้ ที่เกิดขึ้นจากการอดอาหารแบบ IER อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีโอกาสที่จะมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต และวิธีการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.bbc.com/thai/articles/c28yj0grpv8o

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular