spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

1.หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากขึ้น  เนื่องจากความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่หุ้มหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งส่งผลให้มีการกดทับเส้นประสาทเกิดขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างร่างกายตามวัย กับอาการที่พบได้หลากหลายอาทิ เช่น ปวดหลังแบบเรื้อรัง ปวดขา กระดูกสันหลังติดแข็ง และขยับตัวลำบาก รวมไปถึงอาการเสริม เช่น ชา อ่อนแรง และเป็นเหน็บที่บริเวณมือแขนเท้าขา ในบางกรณีอาจพบการเดินลำบาก และความไม่สมดุลขณะเดิน

2.หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

เนื้อของหมอนรองกระดูกสันหลังจะลดลงตามอายุ 

ส่งผลต่อความยืดหยุ่นของหมอนรองกระดูก อาการอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงวัย 30-40 ปี และเมื่อผ่านไปอาจมีอาการที่แย่ลงเรื่อยๆ ภาวะเสื่อมสภาพนี้สามารถเกิดขึ้นในผู้สูงอายุอีกด้วย แม้ว่าบางคนอาจไม่มีอาการเจ็บปวดเลย

ในบางกรณี อาจมาจากกิจกรรมที่ผิดวิธี อาทิเช่น ยกของหนักๆ นั่งทำงานโดยใช้ท่าทางไม่ถูกต้อง การขับขี่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บางรายยังพบว่า การสูบบุหรี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เนื่องจากทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังหมอนรองกระดูกสันหลังลดลง นอกจากนี้ การเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บยังเป็นสาเหตุที่เป็นไปได้ได้ด้วย

อาการของภาวะนี้มักจะแสดงออกผ่านอาการปวดหลังเรื้อรัง ปวดร้าวลงขา และความลำบากในการเคลื่อนไหว ถ้าหากมีการกดเบียดเส้นประสาทอย่างรุนแรง อาจเสียการเดิน ความไม่สมดุล เหมือนจะหกล้มได้ง่าย และอาการอื่นๆ ตามมาอาจมีปัญหาในการขับถ่าย

3.หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

7 พฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพหมอนรองกระดูกและสันหลัง

1. มีน้ำหนักตัวมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างภาวะอ้วนลงพุง สามารถทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเสี่ยงต่อการเสื่อมถอยได้ การต้องรับน้ำหนักมากบนหลังเป็นเวลานาน อาจทำให้หลังแอ่นและสันหลังส่วนล่างต้องรับน้ำหนักเป็นประจำ

2. อุบัติเหตุและการแบกของหนัก อย่างเช่น รถชน หรือการเล่นกีฬาที่มีการบิดแรง

3. การใช้งานผิดท่า การทำงานที่ต้องนั่งเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนท่าอาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง เช่น การนั่งหลังไม่พิง หลังงอ หรือก้มคอ

4. การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่มากๆ อาจเสี่ยงต่อการเสื่อมของหมอนรองกระดูกหรือสันหลัง เนื่องจากควันบุหรี่ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกหรือสันหลังได้ไม่ดี 

5. ขาดการออกกำลังกาย อาจทำให้กล้ามเนื้อลีบและมีโอกาสเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อหมอนรองกระดูกได้มากขึ้น

6. แฟชั่นการแต่งกาย การใช้กระเป๋าหนักหรือสวมรองเท้าส้นสูง อาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลัง เนื่องจากกล้ามเนื้อและกระดูกต้องรับน้ำหนักมากจนทำให้กระดูกคดงอได้

7. การนอนผิดท่า การนอนท่าที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้กระดูกสันหลังบิดงอและเสี่ยงต่ออาการปวดหลัง การนอนหงายและการใช้หมอนที่สูงเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังและคอ เพราะศีรษะและส่วนบนของลำตัวไม่ได้รับการรองรับอย่างเพียงพอ

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.thairath.co.th/lifestyle/lifestyle45plus/2753564

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular