spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

การรับมือกับภาวะสายตายาว ปัญหาที่ผู้สูงวัยหลีกเลี่ยงได้ยาก

1.สายตายาว

ภาวะสายตายาวตามวัย (Presbyopia) เป็นภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อเลนส์ในตาแข็งขึ้น และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเพ่งมองอ่อนแอลง ซึ่งทำให้ความสามารถในการมองวัตถุในระยะใกล้ลดลงตามวัย 

2.สายตายาว

ภาวะนี้มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

อาการที่พบ ได้แก่ การมองในระยะใกล้ที่ไม่ชัดเจน เช่น การอ่านหนังสือ เมนูอาหาร ป้ายราคาสินค้า การแต่งหน้า การใช้โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ การเย็บผ้า และการขับรถ อีกทั้งยังมีภาวะมองภาพไม่ชัดในเวลากลางคืน บางครั้งอาจมีอาการปวดตาหรือปวดศีรษะ เนื่องจากพยายามเพ่งสายตามากขึ้นเมื่อมองใกล้ขึ้น

การรับมือกับภาวะนี้สามารถทำได้โดยการใช้แว่นตาที่เหมาะสม หรือการใช้ตัวช่วยสายตาอื่นๆ เช่น เลนส์ตาสั้นร่วมกับแว่นสายตา นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีเลเซอร์ เพื่อการรักษาที่สามารถใช้รักษาภาวะสายตายาวได้

3.สายตายาว

การแก้ไขภาวะสายตายาว

1. แว่นโฟกัสระยะเดียว (Monofocal glasses)

2. แว่นโฟกัสสองระยะ (Bifocal glasses)

3. แว่นที่มีเลนส์หลายชั้น (Progressive glasses)

4. คอนแทคเลนส์สายตายาว

5. การผ่าตัดเลสิก แบบ Full correction เพิ่มความชัดในการมองระยะไกล แต่จะยังมีสายตายาวตามอายุที่เกิดขึ้น แบบ Monovision แก้ไขสายตาทั้ง 2 ระยะ แต่ต้องใช้เวลาในการปรับตัว และแบบ Presbylasik รักษาสายตาผิดปกติและสายตายาวตามวัยพร้อมกันในดวงตาเดียว โดยไม่ต้องใช้แว่นตา

การเลือกวิธีแก้ไขสายตายาวตามวัยขึ้นอยู่กับความต้องการและสะดวกสบายของแต่ละบุคคล ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำแนะนำและเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.thairath.co.th/lifestyle/lifestyle45plus/2745626?gallery_id=1

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular