spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน คืออะไร

หน่วยงานความปลอดภัย คืออะไร

จากประกาศกฎหมายกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 ทำให้หลายคนสงสัยซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องของการจัดให้มีหน่วยงานความปลอดภัย

ปัจจุบันได้มีการประกาศกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากรหน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2565 ประกาศเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 และจะมีผลบังคับใช้ในอีก 60 วันโดยกฎกระทรวงฉบับนี้ออกมาเพื่อยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. 2549 ซึ่งถือว่ามีความเปลี่ยนแปลงมากพอสมควรวันนี้เราจะมาพูดถึงหน่วยงานความปลอดภัยตามกฎกระทรวงฉบับใหม่ว่ามีอะไรบ้าง

 นิยาม “หน่วยงานความปลอดภัย” หมายความว่า หน่วยงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน 

สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับหน่วยงานความปลอดภัย ตามกฎหมายใหม่ 2565 พร้อมวิธีการปฏิบัติตามกฎหมาย หมวด 3 หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บัญชีที่ 1 สถานประกอบกิจการตาม บัญชีที่ 1 ต้องจัดให้มีหน่วยงานความปลอดภัย ภายใน 30 วันตั้งแต่จัดตั้งสถานประกอบกิจการ

บัญชีที่ 2 สถานประกอบกิจการตาม บัญชีที่ 2 ที่มีลูกจ้าง 200 คนขึ้นไปต้องจัดให้มีหน่วยงานความปลอดภัยภายใน 60 นับจากที่มีลูกจ้างครบตามจำนวน 200 คน (หากลูกจ้างลดลงจาก 200 แต่ไม่น้อยกว่า 100 ก็จะต้องคงหน่วยงานความปลอดภัยไว้เช่นเดิม)

หน่วยงานความปลอดภัย ผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย

โดยกฎหมายใหม่นี้ได้ระบุให้หน่วยงานความปลอดภัยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

ข้อ 40 หน่วยงานความปลอดภัยมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 

  1. วางแผนการบริหารความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการและดูแลให้มีการดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง 
  2. จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุและอุบัติภัยและการควบคุมความเสี่ยงภายในสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
  3. จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ
  4. จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลซึ่งต้องสอดคล้องกับ การทำงานแต่ละประเภทตามที่กฎหมายกำหนดเสนอต่อนายจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ใช้ในขณะปฏิบัติงาน
  5. ส่งเสริม และ สนับสนุนด้านวิชาการ และ การปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อป้องกันอันตราย ในการทำงานหรือการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ
  6. จัดอบรมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐาน และ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน แก่ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ก่อนให้ปฏิบัติงาน รวมทั้งลูกจ้างซึ่งต้องทำงานที่มีความแตกต่างไปจากงานเดิม ที่เคยปฏิบัติอยู่และอาจเกิดอันตรายด้วย
  7. ประสานการดำเนินงานความปลอดภัยในการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกสถานประกอบกิจการ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
  8. ตรวจประเมินระบบความปลอดภัยในการทำงานในภาพรวมของสถานประกอบกิจการ
  9. รวบรวมผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับและติดตาม ผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทางานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานของสถานประกอบกิจการ พร้อมทั้งรายงานให้นายจ้างและคณะกรรมการความปลอดภัยทราบทุก 3 เดือน
  10. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

ผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย กฎหมาย จป 2565

กฎหมายใหม่มาพร้อมกับการระบุให้หน่วยงานความปลอดภัย จะต้องมีผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย โดยจะต้องไม่เป็น จป.วิชาชีพ อย่างน้อย 1 คน เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารงานเฉพาะทั้ง 10 ข้อที่กล่าวมา ส่วนการได้มาซึ่งผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย สามารถไปอบรมหลักสูตร ผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยได้ แต่หากผู้บริหารคนดังกล่าวเคยเป็น จป.วิชาชีพ มาแล้วสามารถแต่งตั้งได้ทันทีไม่ต้องไปอบรมอีกเพราะถือว่ามีคุณสมบัติตามกฎหมายนี้เช่นกัน

กรณีผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยลาออกหรือพ้นตำแหน่งสถานประกอบกิจการจะต้องจัดให้มีผู้บริหารฯคนใหม่มาทดแทนภายใน 90 วันนับจากที่มีการพ้นตำแหน่ง หรือ พ้นจากการเป็นลูกจ้าง

การขึ้นทะเบียนผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยตามกฎหมายใหม่

เราสามารถนำรายชื่อผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยที่มีคุณสมบัติตามที่กล่าวมาไปขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เตรียมหลักฐานต่างๆใบเซอหรือ เลขทะเบียน จป.วิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องและแจ้งกับกรมสวัสดิการฯ ภายใน 30 วันนับจากการแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยคนดังกล่าว

ใครบ้างที่ต้องอยู่ในหน่วยงานความปลอดภัย

กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าในหน่วยงานจะต้องมีใครบ้างบอกแต่เพียงว่าจะต้องมีผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยเพื่อทำหน้าที่เฉพาะด้านบริหารบังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของหน่วยงานความปลอดภัย และ ยังระบุไว้ว่าบุคคลที่จะเป็นผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ลูกจ้างซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยและไม่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ จำนวน 1 คน
  • หากบุคคลที่นายจ้างแต่งตั้งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย

และเมื่อมีการแต่งตั้งแล้วให้นำรายชื่อไปขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพร้อมเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่แต่งตั้ง

หน่วยงานความปลอดภัยหากมีเพียงผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยเพียงคนเดียวคงไม่สามารถดูแล และ ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีจป.วิชาชีพอยู่ในหน่วยงานด้วย  นอกจากจป.วิชาชีพแล้วอาจมี จป.โดยตำแหน่งเข้าร่วมด้วยนั่นก็คือ จป.หัวหน้างาน และ จป.บริหารนั่นเอง

จป.หัวหน้างาน และ จป.บริหารนั้นมาจากทุกหน่วยงานภายในสถานประกอบกิจการจะทำให้การดูแลด้านความปลอดภัยเป็นไปอย่างทั่วถึงซึ่งอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่ากฎกระทรวงฉบับนี้ไม่ได้กำหนดจำนวนบุคคลากรเอาไว้แต่ต้องมีให้เพียงพอที่จะดูแลปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่สำคัญสถานประกอบกิจการต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมเพียงของจำนวนบุคลากรในหน่วยงานด้านความปลอดภัยเองว่าเท่าไหร่ถึงจะทำให้หน่วยงานความปลอดภัยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป

นอกจากหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว หน่วยงานความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ ยังมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยโดยภาพรวม ดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ เปรียนเสมือนเป็นอีกแผนกของสถานประกอบกิจการเลยก็ว่าได้ เพียงแต่แผนกนี้ไม่มีการผลิต แต่จะดำเนินงานเพื่อให้ทุกแผนกสามารถทำงานหรือผลิตชิ้นงานออกมาด้วยความปลอดภัยนั่นเอง

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular