spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

การฝึกอบรมความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯ ลูกจ้างตามกฎหมายใหม่ [อัพเดท 2566]

อบรมความปลอดภัยพนักงานใหม่ update 2566

การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานให้แก่ลูกจ้างตั้งแต่ระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคน เป็นสิ่งที่นายจ้างและสถานประกอบกิจการจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 ให้ (พรบ.ความปลอดภัยฯ 2554) ที่ได้กำหนดไว้ดังนี้

  • นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย
  • ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานเปลี่ยนงานเปลี่ยนสถานที่ทำงานหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิตร่างกายจิตใจหรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนเริ่มการทำงาน
  • หากนายจ้างไม่ปปฏิบัติตามมาตรา 16 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

หลักสูตรการจัดฝึกอบรมนั้นได้มีการประกาศออกมาเกี่ยวกับรายละเอียดในการจัดฝึกอบรมทั้งสิ้น 2 ฉบับดังนี้

  1. ประกาศกรมสวัสดการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 2 พฤษภาคม 2555 ดาวน์โหลดกฎหมาย
  2. ประกาศกรมสวัสดการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 กันยายน 2566 (ฉบับที่ 2) ดาวน์โหลดกฎหมาย

กรณีไหนบ้างที่จะต้องจัดให้มีการฝึกอบรมตามกฎหมายนี้ ?

  1. กรณีที่มีลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

    ไม่ว่าลูกจ้างจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม ผู้จัดการ หรือ หัวหน้างาน หากเป็นลูกจ้างตามทะเบียนลูกจ้างของบริษัทแล้ว ถือว่าเข้าข่ายจะต้องเข้ารับการอบรมโดยไม่มีข้อยกเว้น

  2. กรณีเปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือ มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ที่อาจส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับลูกจ้าง


    กรณีที่นายจ้างมีการโยกย้ายพนักงานไปปฏิบัติงานสถานที่อื่นที่แตกต่างไปจากพื้นที่เดิมทำให้มีโอกาสที่ลูกจ้างจะเกิดอันตรายได้ รวมถึง การเปลี่ยนแปลงเครื่องมือ เครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ทำงานไปจากเดิมก็จะต้องทำการฝึกอบรมใหม่เพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบถึงความเป็นอันตรายของพื้นที่ หรือ อุปกรณ์เครื่องจักรใหม่ และสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเมื่อไร ?

ลูกจ้างทุกคนจะต้องได้รับการฝึกอบรมก่อนเริ่มทำงาน หมายความว่า ก่อนที่เราจะให้พนักงานเริ่มปฏิบัติงานนายจ้างจะต้องฝึกอบรมและทำการประเมินจนแน่ใจว่าลูกจ้างมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับต่างๆในองค์กร รวมไปถึงสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงาน (WI) หรือ คู่มือการทำงาน ได้อย่างปลอดภัย

วิทยากรฝึกอบรม จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ?

  • เป็นผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิชาที่จะสอนไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ เป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ หรือ มาตรฐานด้านความปลอดภัยฯ ไม่น้อยกว่า 3 ปี และ มีประสบการณ์การเป็นวิทยากรไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาจบไม่น้อยกว่า ป.ตรี สาขา อาชีวนามัยหรือเทียบเท่า โดยสอนวิชาด้านความปลอดภัยในการทำงาน และ มีประสบการณ์สอนเกี่ยวกับวิชาดังกล่าวไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • เป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการจบไม่น้อยกว่า ป.ตรี สาขาอาชีวอนามัยฯ หรือเทียบเท่า หรือ ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานตรวจความปลอดภัย ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และ ต้องปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ไม่น้อยกว่า 3 ปี และ มีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3 ปี

คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

กฎหมายใหม่ (ฉบับที่ 2) มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง ?

มีการประกาศให้ยกเลิก ข้อความในข้อ 7 และ ข้อ 8 และบทเฉพาะกาล ข้อ 10 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
” ข้อ 7 หลักสูตรฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ ระยะเวลาฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(1) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม 1 ชั่วโมง 30 นาที

(2) กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม 1 ชั่วโมง 30 นาที

(3) คู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน ระยะเวลาฝึกอบรม 3 ชั่วโมงสำหรับลูกจ้างที่ผ่านการอบรมตามวรรค 1 จากสถานประกอบกิจการเดิมแล้ว ให้ฝึกอบรมเฉพาะ (3) เท่านั้น ”

ข้อ 8 หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างเปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือ เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงให้เกิดอันตรายกับลูกจ้างแตกต่างไปจากเดิม มีระยะเวลาฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบไปด้วยหัวข้อวิชา

(1) ปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน มีระยะเวลาฝึกอบรม 1ชั่วโมง 30 นาที

(2) คู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน มีระยะเวลาฝึกอบรม 1ชั่วโมง 30 นาที

ข้อ 10 ใครที่ผ่านการฝึกอบรม จป หัวหน้างาน หรือ อบรม จป บริหาร หรือเป็น จป บริหาร ตาม พรบ.ความปลอดภัยฯ 2554 ถือว่าผู้นั้นได้ผ่านการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างาน หรือ บริหารตามประกาศนี้

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular