spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เรียนรู้ : ไฮโดรเจนซัลไฟด์ H2S (Hydrogen Sulfide) หรือก๊าซไข่เน่า คืออะไร

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก๊าซไข่เน่า

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (อังกฤษ : Hydrogen Sulfide) พบได้ในอุตสาหกรรมการทำการเกษตรในฟาร์มที่มีหลุมเก็บปุ๋ยหรือหลุมฝังกลบ และ เรายังพบไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีระบบบำบัดน้ำเสียที่ปล่อยมาจากกระบวนการผลิต รวมไปถึงสถานประกอบการอื่นๆ ห้างสรรพสินค้า คอนโด ฯลฯ ส่วนใหญ่จะมีไฮโดรเจนซัลไฟด์แฝงอยู่ทั้งสิ้น

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ยังเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ เช่น ในท่อระบายน้ำ บ่อปุ๋ย บ่อหมักขี้หมู บ่อน้ำบาดาล บ่อเกรอะ หรือ บ่อซึม ก๊าซพิษนี้ทำให้ผู้ปฏิบัติงานหมดสติจากการสูดดมไฮโดรเจนซัลไฟด์ในปริมาณที่เกินค่ามาตรฐาน

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ คือ

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ คืออะไร

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide : H2S) หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อของ ก๊าซไข่เน่า

ทำไมถึงเรียกว่าก๊าซไข่เน่า ?

เนื่องจากเป็นก๊าซที่มีกลิ่นฉุนรุนแรง เหมือนไข่เน่า ไม่มีสี สามารถติดไฟได้ หรือ เกิดการระเบิดได้ ไฮโดรเจนซัลไฟด์เกิดขึ้นในกระบวนการสลายตัวของสารอินทรีย์ รวมถึงอุตสาหกรรมหมักต่างๆ เกี่ยวกับกำมะถัน ซึ่งไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นสารเคมีอันตรายตาม

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 ลำดับที่ 867 Cas No. 7783-06-4
 และเป็นวัตถุอันตรายตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 อีกด้วย

ปริมาณไฮโดรเจนซัลไฟด์เท่าไรถึงเป็นอันตราย

ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารเคมีที่มีความเป็นอันตรายสูงในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฮโดรเจนซัลไฟด์นั้นสามารถดูปริมาณขีดจำกัดความเข้มข้นที่กฎหมายกำหนดได้ตาม ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2560 (Exposure Limits)

ปริมาณขีดจำกัดความเข้มข้น Exposure Limits คืออะไร

Exposure Limits : หมายถึงขีดจำกัดการสัมผัสของสารเคมีอันตราย ระดับบน หรือ ล่าง หรือ ขีดจำกัดทางมาตรฐาน กฎหมาย ที่ใช้เป็นมาตรการกำหนดแนวทางด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพ และ ความปลอดภัยที่อาจเกิดจากการสัมผัสกับสารพิษ ลูกจ้างสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีอาการระคายเคือง  เนื้อเยื่อถูกทำลายอย่างถาวร อย่างเรื้อรัง มึนเมา หลับ ง่วงซึม จนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ไม่สามารถช่วยตนเองได้ หรือ ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอย่างมาก

คำนิยามที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายไทยเกี่ยวกับ ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย มี 3 แบบดังนี้

  1. ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย เฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานปกติ
  2. ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย สําหรับการสัมผัสในระยะเวลาสั้นๆ
  3. ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย สูงสุดไม่ว่าเวลาใดๆในระหว่างทํางาน

 

ปริมาณไฮโดรเจนซัลไฟด์เท่าไรถึงเป็นอันตราย

กำหนดการปฏิบัติงานกับไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นเวลา 10 นาที ที่ขีดจำกัดความเข้มข้น เท่ากับ 50 ppm และ ความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์สูงสุดตลอดระยะเวลาการทำงานไม่ว่าเวลาใดๆก็ตามในระหว่างทำงานจะต้องไม่เกิน 20 ppm 

อันตรายของไฮโดรเจนซัลไฟด์

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังเกิดพิษได้โดยการสูดดมโดยตรง ในระดับความเข้มข้นที่ไม่สูงมากนัก มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ และ ทางเดินอาหาร แต่เมื่อความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์สูงมากขึ้น จะเริ่มทำให้ประสาทรับกลิ่นไม่ทำงาน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ จะยับยั้งการหายใจโดยใช้ออกซิเจน ที่ระดับเซลล์

โฮโดรเจนซัลไฟด์ จะเข้าไปจับ และ ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cytochrome oxidase ใน Mitochondria ทำให้เซลล์ไม่สามารถหายใจได้ (Cellular asphyxiant) เป็นกลไกเช่นเดียวกับพิษของไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งทางในการรับสัมผัสไฮโดจเจนซัลไฟด์ ได้แก่ การรับสัมผัสทางการหายใจ ทางผิวหนัง และ การรับสัมผัสทางตา

ความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่มีผลกับร่างกาย

ความเข้มข้น (ppm) ผลกระทบที่เกิดขึ้น
0.2 เริ่มได้กลิ่น
10 ได้กลิ่นที่รุนแรงมาก
50 ระคายเคืองตาและเยื่อบุทางเดินหายใจ
150 ประสาทรับกลิ่นไม่ทำงาน
200 ไม่ได้กลิ่น ตาแดง เจ็บในคอ
250 อาจน้ำท่วมปอด ถ้าสูดดมนาน
500 ½ – 1 ชั่วโมง เกิดการปวดศีรษะ คลื่นไส้ หมดสติ และหยุดหายใจ
500 – 1000 เกิดอาการจากการขาดออกซิเจน ในทุกระบบ และหยุดหายใจ

เครดิต : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

การรับสัมผัสทางการหายใจ

การสูดดมในปริมาณที่มากอาจทำเกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรงต่อจมูก ลำคอ ทำให้เกิดการสะสมของของเหลวในปอดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต (Pulmonary edema) มีอาการทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หมดสติ และ เสียชีวิต การการแพทย์แนะนำว่าการสัมผัสไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่มีความเข้มข้นสูงเพียงครั้งเดียวอาจทำให้เกิดโรคหอบหืดได้

การสัมผัสผิวหนัง

การสัมผัสโดยตรง จะทำให้เกิดอาการชา แสบ และ คัน หากรุนแรงมากขึ้นอาจทำให้รู้สึกแสบร้อน ตึงผิวหนังกลายเป็นแผลพุพอง เนื้อเยื่อตายและเกิดการติดเชื้อได้ในเวลาต่อมา

การสัมผัสทางตา

ทำให้เกิดการระคายเคือง มองเห็นไม่ชัดเจน การที่ตาสัมผัสโดยตรงกับโฮโดรเจนซัลไฟด์ อาจทำให้ตาแข็ง หรือตาบอดได้ในระยะเวลาอันสั้น

 

การปฐมพยาบาล ไฮโดรเจนซัลไฟด์

การปฐมพยาบาลจากการรับสัมผัสไฮโดรเจนซัลไฟด์

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสัมผัสไฮโดรเจนซัลไฟด์ ขึ้นอยู่กับช่องทางการรับสัมผัส ซึ่งวิธีการปฐมพยาบาลจะมีความแตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

การปฐมพยาบาลการสัมผัสทางการสูดดม

  1. เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่อากาศบริสุทธิ์ในทันที นอนในท่าที่สบาย
  2. ประเมินผู้บาดเจ็บเบื้องต้น ตรวจสอบการหายใจ และ การเต้นของหัวใจ
  3. หากหายใจติดขัดให้ช่วยหายใจ เช่น ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจมือบีบชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น Ambu Bag
  4. อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น
  5. หลีกเลี่ยงการช่วยหายใจแบบปากต่อปาก [ มาตรฐาน American Heart Association® (AHA) ]
  6. รีบนำส่งโรงพยาบาล

การปฐมพยาบาลการสัมผัสทางผิวหนัง

  1. ถอดเสื้อผ้า เครื่องประดับออกในทันที
  2. หากมีแผลให้ปิดบริเวณที่ได้รับสัมผัสด้วยชุดทำแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อ
  3. ห้ามให้ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์ หรือ สูบบุหรี่
  4. รีบไปพบแพทย์ทันที

การปฐมพยาบาลการสัมผัสทางตา

  1. ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันทีอย่างน้อย 15 นาที อย่างต่อเนื่องโดยเปิดให้น้ำไหลผ่านโดยเปิดเปลือกตา
  2. เอียงตา หรือ ใบหน้าลงในทิศทางที่ให้น้ำไหลผ่านได้อย่างสะดวก
  3. ปิดตาด้วยชุดทำแผลปลอดเชื้อและ ห้ามขยี้ตา
  4. ห้ามให้ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ 
  5. รีบไปพบแพทย์ทันที

ติดตั้งเครื่องวัดไฮโดรเจนซัลไฟด์

วิธีการป้องกันอันตรายจากไฮโดรเจนซัลไฟด์

เนื่องจากไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารเคมีที่มีความเป็นอันตรายสูง การปฏิบัติงานกับสารเคมีชนิดนี้จึงจำเป็นอย่างมาก ในการกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมอันตรายจากไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่นิยม แบ่งได้ 2 วิธี ดังนี้

1. การควบคุมทางด้านวิศวกรรม

เป็นการป้องกันอันตรายที่ได้ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากสามารถป้องกันอันตรายจากแหล่งกำเนิดก่อนที่อันตรายจะถึงตัวผู้ปฏิบัติงาน ตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ การป้องกันในทางวิศวกรรมจะใช่งบประมาณที่สูง ทำได้ยากเนื่องจากต้องใช้ผู้ชำนาญในการออกแบบและติดตั้งด้านวิศวกรรม สถานประกอบการส่วนใหญ่จึงไม่นิยมวิธีนี้มากนัก

2. การป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน

เป็นการกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตามลักษณะงานที่กำหนด ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่ ppe ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน เช่นการทำงานในที่อับอากาศ การป้องกันวิธีนี้สามารถทำได้ทันที รวดเร็ว ใช้งบประมาณน้อย แต่ประสิทธิภาพความปลอดภัยจะน้อยกว่าการควบคุมทางด้านวิศวกรรมเป็นอย่างมาก

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ อุปกรณ์กู้ภัยในงานอับอากาศ

บ่อยครั้งที่เราพบไฮโดรเจนซัลไฟด์เมื่อทำงานในที่อับอากาศเนื่องจากลักษณะของงานในที่อับอากาศนั้นจะเป็น หลุม บ่อ ท่อ มีทางเข้าออกทางเดียวเป็นพื้นที่แคบที่มีการหมักหมมของเน่าเสียหรือก๊าศพิษชนิดต่างๆอยู่ในที่อับอากาศ

เมื่อผู้ปฏิบัติงานลงไปทำงานโดยไม่ได้มีการตรวจวัดบรรยากาศที่เป็นอันตรายก็จะทำให้เกิดการหมดสติ และ เสียชีวิตได้

ข้อแนะนำการป้องกันอันตรายจากไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ ก๊าซไข่เน่า ในการทำงานในที่อับอากาศ

  • ผู้ปฏิบัติงานจะต้องผ่านการฝึกอบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ ก่อนปฏิบัติงาน
  • ตรวจสุขภาพพนักงานทุกคนก่อนการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  • ตรวจสอบปริมาณอากาศ , สารไวไฟ , สารพิษ ก่อนเริ่มทำงานในที่อับอากาศ
  • หากพื้นที่ทำงานมีปริมาณ ก๊าซไข่เน่า จะต้องเตรียมเครื่องช่วยหายใจ SCBA ไว้บริเวณหน้างาน
  • เตรียมแผนฉุกเฉินในงานอับอากาศพร้อมอุปกรณ์กู้ภัยที่ได้มาตรฐานต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น

สรุป

ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นก๊าซพิษที่มีความเป็นอันตรายหากผู้ปฏิบัติงานสูดดมเข้าไปในปริมาณมากจะทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่าพบได้ในอุตสาหกรรมที่มีการบำบัดน้ำเสีย หรือการทำงานในสถานที่อับอากาศเรามักจะพบไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้จากการลงไปทำงานในหลุม ในบ่อ ในท่อ เราควรเตรียมความพร้อมในทุกๆด้านก่อนทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดอุบัติเหตุจากการสัมผัสไฮโดรเจนซัลไฟด์

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular