spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Disease) : สำหรับ จป วิชาชีพ

โรคจากการประกอบอาชีพ

เมื่อ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือ คณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้มีผลบังคับใช้ และ โรคจากการทำงานได้มีการกล่าวถึงในกฎหมายใหม่ฉบับนี้ด้วย โดยเพิ่มหน้าที่ 1 ข้อ ของ จป วิชาชีพ

ข้อ 12 ให้ความรู้ และ อบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพ และ สิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงาน และ ระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับโรคจากการทำงานว่ามันคืออะไร

คำว่าอบรมก่อน และ ระหว่าง

ความหมายของคำว่า ก่อน เข้าทำงานให้ จป วิชาชีพ จัดอบรมโรคจากการประกอบอาชีพ ให้กับพนักงาน หลายคนมีข้อสงสัยว่าเราจัดอบรมพร้อมกับ หลักสูตรพนักงานเข้าทำงานใหม่ 6 ชั่วโมง รวบทีเดียวเลยได้เลยหรือไม่

แนวคิด : หลักสูตรพนักงานใหม่ 6 ชม. นั้นกฎหมายได้กำหนดหัวข้ออบรม และ ชั่วโมงอบรมไว้เรียบร้อยแล้ว เราจึงไม่สามารถเอา หลักสูตรโรคจากการทำงาน ไปรวมในหลักสูตรพนักงานใหม่ 6 ชั่วโมงได้

ความหมายของคำว่า ระหว่าง กฎหมายก็ไม่ได้มีการกำหนดตายตัว จป วิชาชีพ ควรจัดทำแผนอบรมระหว่างไว้ใน Action plan จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติมรายละเอียดของหลักสูตรนี้

 

แร่ใยหิน (Asbestos)

โรคจากการทำงาน อ้างอิงตามกฎหมายแม่ พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ซึ่งให้ความหมายไว้ ดังต่อไปนี้

โรคจากการประกอบอาชีพ หมายความว่า ” โรคหรืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากหรือเป็นผลเนื่องมาจากการทำงานหรือการประกอบอาชีพ “  มีอยู่ 5 โรค ดังต่อไปนี้
  1. โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว
  2. โรคจากฝุ่นซิลิกา
  3. โรคจากภาวะอับอากาศ
  4. โรคจากแอสเบสตอส (ใยหิน) หรือโรคมะเร็งที่เกิดจากแอสเบสตอส (ใยหิน)
  5. โรคหรืออาการสำคัญของพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช

โรคจากสิ่งแวดล้อม หมายความว่า โรค หรือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากหรือเป็นผลเนื่องมาจากมลพิษ มีอยู่ 2 โรค ได้แก่

  1. โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว
  2. โรคหรืออาการที่เกิดจากการสัมผัสฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน

ซึ่ง พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ว่า ให้นายจ้างแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพแก่ลูกจ้าง 

ถ้าหากเราเป็น จป.วิชาชีพ ต้องอบรมให้ความรู้ กับพนักงาน เราสามารถเอาหัวข้อที่นายจ้างต้องปฏิบัติมาอบรมให้กับพนักงาน เพื่อให้สามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพตามข้อกำหนดข้างต้นได้

Occupational Disease

โรคจากการประกอบอาชีพ คืออะไร

โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Disease) คือ ภาวะสุขภาพหรือความผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น มะเร็ง ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ความเครียดหลังเกิดบาดแผล เป็นต้น

โดยทั่วไปภาวะสุขภาพหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่มีอาชีพคล้ายกันที่ได้รับสัมผัสที่มีความถี่สูงกว่าประชากรที่เหลือถือว่าเป็นโรคจากการทำงาน

 

ฟูมโลหะในกระบวนการเชื่อม

โรคจากการทำงานเกิดจากอะไร

โรคจากการทำงานอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ

  • สารชีวภาพ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต แมลง พืช นก สัตว์ หรือคน
  • สารเคมี เช่น เบอริลเลี่ยม ตะกั่ว เบนซีน ไอโซไซยาเนต 
  • ปัญหาตามหลักการยศาสตร์  เช่น การเคลื่อนไหวซ้ำๆ การติดตั้งสถานีงาน แสงสว่างไม่เพียงพอ การออกแบบเครื่องมือที่ไม่เหมาะสม
  • ทางกายภาพ เช่น รังสีที่แตกตัวเป็นไอออน สนามแม่เหล็ก อุณหภูมิ เสียง ความสั่นสะเทือน 
  • ปัญหาทางสังคม เช่น ความเครียด ความรุนแรง การกลั่นแกล้ง การล่วงละเมิด และการขาดการยอมรับ เป็นต้น

นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กำหนดการพัฒนาหรือความรุนแรงของโรคจากการทำงาน ได้แก่

  • ปริมาณการสัมผัสหรือปริมาณที่เข้าสู่ร่างกาย
  • ระยะเวลาในการสัมผัส
  • ความเป็นพิษของสารเคมี
  • การขับสารออกจากร่างกาย
  • ความไวในการรับสัมผัสส่วนบุคคล
  • ผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การสัมผัสสารเคมีชนิดอื่น

ความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับการรับสัมผัสสารด้วยเช่นกัน โดยทั่วไป หากยิ่งรับสัมผัสเป็นเวลานาน และปริมาณความเข้มข้นที่สูง ความเสี่ยงหรือการพัฒนาของโรคต่อสุขภาพ ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

 

โรคจากการทำงานสามารถป้องกันได้อย่างไร

การป้องกันโรคจากการทำงานสามารถทำได้ เพื่อทำให้ผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่ปฏิบัติงาน โดยสามารถป้องกันได้ ดังนี้

  • เรียนรู้อันตรายในสถานที่ทำงาน เพื่อหาวิธีป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายนั้น
  • นายจ้างควรพัฒนาระบบความปลอดภัย โปรแกรม ข้อกำหนด และขั้นตอนการทำงาน ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานไม่ให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย และลูกจ้างควรปฏิบัติตาม
  • สื่อสารความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความเสี่ยงต่อพนักงาน ให้ข้อมูลที่เหมาะสม และอบรมให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถป้องกันตนเองจากอันตรายเบื้องต้นได้
  • ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อสอบสวนการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย ที่มีลักษณะบ่งชี้ว่าอาจเกี่ยวข้องกับการทำงาน  เช่น บอกกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพว่าทำงานที่ไหน ทำงานอะไร และเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใด เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

 

โรคจากการทำงานตาม ILO 

ILO ได้กำหนดโรคจากการทำงานไว้ จำนวนมาก ซึ่งแบ่งตามสิ่งที่ทำให้เกิดโรค ดังต่อไปนี้

1.โรคจากการทำงานที่เกิดจากการสัมผัสที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการทำงาน

1.1 โรคที่เกิดจากสารเคมี 41 โรคซึ่งจะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • โรคที่เกิดจากเบริลเลียมหรือสารประกอบ
  • โรคที่เกิดจากแคดเมี่ยมหรือสารประกอบ
  • โรคที่เกิดจากฟอสฟอรัสหรือสารประกอบ
  • โรคที่เกิดจากแมงกานีสหรือสารประกอบ
  • โรคที่เกิดจากตะกั่วหรือสารประกอบ
  • โรคที่เกิดจากปรอทหรือสารประกอบ
  • โรคที่เกิดจากสารหนูหรือสารประกอบ
  • โรคที่เกิดจากฟลูออรีนหรือสารประกอบ
  • โรคที่เกิดจากคาร์บอนไดซัลไฟด์
  • โรคที่เกิดจากเฮกเซน
  • และโรคอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก

Sudden Sensorineural Hearing Loss

1.2 โรคที่เกิดจากกายภาพ 7 โรค ได้แก่

  • ความบกพร่องทางการได้ยินที่เกิดจากเสียง
  • โรคที่เกิดจากการสั่นสะเทือน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ หลอดเลือดหรือเส้นประสาท
  • โรคที่เกิดจากอากาศอัด
  • โรคที่เกิดจากรังสี
  • โรคที่เกิดจากแสง (อัลตราไวโอเลต แสงที่มองเห็นได้ อินฟราเรด) รวมทั้งเลเซอร์
  • โรคที่เกิดจากการสัมผัสอุณหภูมิที่สูงเกินไป
  • โรคที่เกิดจากสารทางกายภาพอื่นๆ ในที่ทำงานที่ไม่ได้กล่าวถึง ตามข้างต้น

1.3 สารชีวภาพและโรคติดเชื้อหรือปรสิต 9 โรคได้แก่

  • บรูเซลโลซิส
  • ไวรัสตับอักเสบ
  • ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องของมนุษย์
  • บาดทะยัก
  • วัณโรค
  • กลุ่มอาการที่เป็นพิษหรืออักเสบที่เกี่ยวข้องกับสารปนเปื้อนจากแบคทีเรียหรือเชื้อรา
  • โรคแอนแทรกซ์
  • โรคฉี่หนู
  • โรคที่เกิดจากสารชีวภาพอื่นๆ ในที่ทำงาน ที่ไม่ได้กล่าวถึง

โรคระบบทางเดินหายใจ

2.โรคจากการทำงานตามระบบอวัยวะเป้าหมาย

2.1 โรคระบบทางเดินหายใจ 12 โรค เช่น

  • โรคปอดบวมที่เกิดจากฝุ่นแร่ไฟโบรเจนิค (ซิลิโคซิส แอนทราโคซิลิโคซิส ใยหิน)
  • วัณโรคซิลิโคทูเบอร์คูโลสิส
  • โรคปอดบวมที่เกิดจากฝุ่นแร่ที่ไม่ใช่ไฟโบรเจนิค
  • ไซด์โรซิส

โรคผิวหนัง

2.2 โรคผิวหนัง 4 โรค ได้แก่

  • ผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสและลมพิษที่เกิดจากการแพ้ จากกิจกรรมการทำงาน
  • การระคายเคืองผิวหนังที่เกิดจากกิจกรรมการทำงาน
  • โรคด่างขาวที่เกิดจากกิจกรรมการทำงาน
  • ไม่รวมโรคผิวหนังอื่นๆ ที่เกิดจากสารทางกายภาพ เคมี หรือชีวภาพในที่ทำงาน

2.3.ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก 8 โรคเช่น

  • Radial styloid tenosynovitis เนื่องจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ออกแรงอย่างหนัก บริเวณข้อมือ
  • โรคเอ็นอักเสบเรื้อรังและข้อมือ เนื่องจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ 
  • Olecranon bursitis เนื่องจากแรงกดบริเวณข้อศอกเป็นเวลานาน
  • Prepatellar bursitis เนื่องจากอยู่ในท่าคุกเข่าเป็นเวลานาน

2.4 ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม 2 โรค

  • ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง
  • ความผิดปกติทางจิตหรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ที่เกิดจากการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากกิจกรรมการทำงาน

3. มะเร็งจากการทำงาน 

3.1 มะเร็งที่เกิดจาก 21 สารตัวอย่างเช่น

  • แอสเบสตอส
  • เบนซิน
  • โครเมี่ยม 6
  • ไวนิล คลอไรด์
  • ส่วนประกอบนิคเกิล
  • แคดเมี่ยมและสารประกอบ

5.โรคอื่นๆ เช่น โรคของคนงานเหมือง

ซึ่งหากต้องการทราบรายชื่อโรคจากการทำงานทั้งหมด ตาม ILO สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ILO List of  Occupational Disease

 

หัวข้อการสอนเกี่ยวกับโรคจากการประกอบอาชีพ

  • สาเหตุของการเกิดโรคจากการทำงาน
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการทำงาน
  • การควบคุมโรคจากการทำงาน
  • การเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน โดยการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม และ การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง
  • ความสำคัญของการสวมใส่อุปกรณ์ PPE ตลอดระยะทำงานเพื่อป้องกันโรคจากการทำงาน

 

สรุป

จป วิชาชีพ ที่จะสอนคนงานเกี่ยวกับโรคจากการทำงานตามกฎหมายใหม่ก่อนเริ่มงาน และ ระหว่างทำงานนั้นจะต้องทำการประเมินความเสี่ยงเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้พนักงานในบริษัทของเราเกิดโรคจากการทำงาน การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงถือเป็นอีกวิธีที่จะช่วยติดตาม (Monitoring) สุขภาพของพนักงานที่มีแนวโน้มจะเกิดโรคจากการทำงานได้

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular