spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ออฟฟิศซินโดรม คือ ทุกเรื่องควรรู้เกี่ยว Office Syndrome วิธีป้องกันและรักษา

Office Syndrome วิธีป้องกันและรักษา

ชีวิตคนเราโดยส่วนใหญ่ใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการทำงานเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพ ยิ่งทำงานก็ยิ่งได้เงิน แต่รู้หรือไม่ครับว่ายิ่งทำงานมากขึ้นเท่าไหร่ก็มีโอกาสเจ็บป่วยมากขึ้นเท่านั้นถ้าคุณไม่ศึกษาและทำความรู้จัก ออฟฟิศซินโดรม อย่างดีพอ ในบทความนี้ Jorportoday จะมาเล่าถึงโรค Office Syndrome ว่ามีอาการอย่างไร ปัจจัยที่ส่งผล วิธีที่ช่วยป้องกัน และวิธีรักษาในกรณีที่ไม่ได้ป้องกันอย่างดีพอ ถ้าอยากปลอดภัยจากโรคนี้มาทำความรู้จักกันเลยครับ

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือโรคที่เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น หรืออธิบายง่ายๆ ว่าการปวดกล้ามเนื้อมัดเดิมที่ถูกใช้งานอย่างซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนในที่สุดกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง โดยปัจจัยในสถานที่ทำงานของคุณที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและเป็นสาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม สามารถระบุได้ดังนี้ 

  • งานที่พนักงานใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและเคลื่อนไหวร่างกายต่ำ
  • งานที่มีลักษณะของการทำงานที่มีความเครียดสูง
  • อาการไม่สบายจากการอยู่ในห้องปิดและต้องสัมผัสกับเครื่องปรับอากาศ (แอร์) เป็นระยะเวลานาน
  • ต้องทำงานในห้องที่แออัด แสงสว่างน้อย รวมถึงระบบระบายอากาศไม่ดี
  • อุปกรณ์การทำงานล้าสมัย และไม่เหมาะสมกับสรีรของร่างกาย

นอกจากปัจจัยในที่ทำงานแล้ว คุณควรทราบถึงอาการของออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น เพื่อที่จะสามารถประเมินสุขภาพของตัวเองได้ โดยอาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้ :

  • ปวดคอ หรือ ตึงบริเวณคอ
  • ปวดไหล่
  • ปวดหัว / เวียนหัวเป็นประจำ
  • เจ็บตา / ตาอักเสบ
  • อาการชาบริเวณข้อมือหรือเท้า
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • ความเหนื่อยล้า หรือ ความเหน็ดเหนื่อยแบบสุดขีด
  • เกิดความเศร้า หรือ มีภาวะซึมเศร้า
  • โรคอ้วน

ออฟฟิศซินโดรม

หากคุณรู้สึกมีอาการที่ผมได้ลิสต์มาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ มากกว่าหนึ่งอาการเป็นประจำ แนะนำให้คุณศึกษาเกี่ยวกับ ออฟฟิศซินโดรมให้มากขึ้นเพื่อที่จะสามารถป้องกันการลุกลาม หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาในกรณีที่เป็นอย่างต่อเนื่องยาวนาน

ออฟฟิศซินโดรมมีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร ?

  • สำหรับการทำงานกับจอคอมในระยะเวลานาน ดวงตาจะเป็นสิ่งแรกที่ได้รับผลกระทบ อาการตาล้าและตาแห้งจะเกิดขึ้นได้บ่อยมาก เนื่องจากการใช้สายตาจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ในระยะเวลานานและต่อเนื่อง ในระยะยาวอาจส่งผลให้หลอดเลือดของดวงตาอักเสบ
  • ปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึงส่วนใหญ่เริ่มจากคอ ไหล่ และหลัง ในหลายรายจะพบอาการเจ็บที่บริเวณข้อมือ ข้อซอกและเข่า
  • ในกรณีที่สถานที่ทำงานมีระบบระบายอากาศที่ไม่ดี อาจจะมาจากระบบที่ปิด เครื่องปรับอากาศที่ขาดการทำความสะอาดอย่างดีพอ สิ่งนี้อาจจะนำไปสู่การแพร่กระจายเชื้อโรค หรือเชื้อไวรัสอื่นๆได้
  • การนั่งเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้ส่งผลให้เกิดโรคริดสีดวงทวารได้
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นทั้งๆ ที่นิยสัยการกินประจำวันไม่เปลี่ยนแปลง ระยะยาวจะส่งผลให้เป็นโรคอ้วน
ออฟฟิศซินโดรม OFFICE SYNDROME
Office syndrome Infographics. health concept. infographic element. vector flat icons design illustration

แนะนำ 5 วิธีในการป้องกัน โรคออฟฟิศซินโดรม

มาถึงส่วนนี้คุณคงทราบแล้วว่าออฟฟิศซินโดรมมีสาเหตุมาจากอะไร อาการที่แสดงส่งผลเสียต่อร่างกายของเรามากแค่ไหน หรือตอนนี้อาจเริ่มมีสัญญาณของโรคนี้เกินขึ้นกับร่างกายบ้างแล้ว ดังนั้นถึงควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและบรรเทาสิ่งทื่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด

ในหัวข้อนีั้ผมจะมาแนะนำเคล็ดลับที่ช่วยหลีกเลี่ยงที่เกี่ยวข้องในระยะยาว

1.ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์สำนักงานของคุณให้เหมาะสม

ท่าทางในการทำงานเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดของโรคออฟฟิศซินโดรม ถ้าหลังและคอของคุณมีอาการเจ็บจากการนั่งในสำนักงาน อาจมีสาเหตุมาจากอุปกรณ์ของคุณอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง  การนั่งเก้าอี้ทำงานที่สูงเกินไปทำให้คุณต้องงอหลังและทำให้หลังตึง ถ้าเท้าของคุณไม่ได้วางบนพื้นอย่างมั่นคงก็จะส่งผลต่ออาการปวดขา จะเห็นว่าแค่อุปกรณ์สำนักงานไม่เหมาะสมนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพมากขนาดไหน อุปกรณ์ที่ควรพิจารณามีดังนี้ :

 

Ergonomic Office

1.1 เก้าอี้สำนักงานตามหลักสรีรศาสตร์

เก้าอี้ที่ถูกออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ของมนุษย์ มีการออกแบบที่เอื้ออำนวยและคำนึงถึงการรักษาสภาพของท่านั่งให้เหมาะสมกับลักษณะของร่างกายที่แตกต่างกัน เพื่อลดปัญหาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อจากการนั่งเป็นระยะเวลานาน ๆ เก้าอี้การยศาสตร์ถูกออกแบบมาใช้กับผู้ที่ต้องทำงานโดยการนั่งนาน ๆ ซึ่งก็คือคนทำงานในสำนักงานจึงมักเรียกว่า “Ergonomic Office Chair & Ergonomic Work Chair”

1.2 เมาส์ตามหลักสรีรศาสตร์

เมาส์แบบ Ergonomic หรือเมาส์แนวตั้ง (Vertical Mouse) เป็นเมาส์ที่ออกแบบมาให้ขณะใช้งานมือของเราวางเป็นแนวตั้ง อาจตั้งมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น ช่วยลดอาการปวดเมื่อยข้อมือเมื่อใช้งานเป็นเวลานาน ๆ นอกจากนี้ในบางรุ่นก็ยังออกแบบเป็นเมาส์ Trackball ที่ใช้นิ้วโป้งกลิ้งลูกบอลแทนการลากเมาส์ ทำให้ไม่ต้องลากมือไปมา ช่วยลดความเมื่อยล้าได้มากขึ้น

1.3 โต๊ะทำงานตามหลักสรีรศาสตร์

โต๊ะแบบ Ergonomic มักจะเป็นโต๊ะที่สามารถปรับระดับความสูงขึ้นลงได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ช่วยลดอาการปวดหัวไหล่ในกรณีที่โต๊ะสูงเกินไป และที่สำคัญช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับอริยาบทจากนั่งเป็นยืน เพื่อยืดเส้นยืดสายระหว่างการทำงานได้

“งานวิจัยต่างประเทศ เรื่องสุขภาพในการทำงานและการยศาสตร์ (Ergonomic Workplace)
พบว่าการเปลี่ยนอิริยาบถ มายืนทำงานสลับนั่งทำงานระหว่างวันอย่างสม่ำเสมอ ทุกๆ ชั่วโมง จะส่งผลดีต่อสุขภาพ
ช่วยลดอาการปวดหลัง ลดความเสี่ยงต่อโรคกลุ่มออฟฟิศซินโดรม โรคอ้วน โรคหัวใจ และหลอดเลือดได้”

1.4 ที่วางพักเท้า

ท่านั่งที่ถูกต้องนอกจากหลังต้องชิดพนักพิงแล้ว ยังต้องวางเท้าให้ราบไปกับพื้นทั้งสองข้าง ไม่ควรให้เท้าลอยเพราะทำให้น้ำหนักตกไม่ถึงพื้น แต่ตกอยู่ที่เบาะนั่งส่วนหน้าแทน หากนั่งแบบนี้นานๆ จะปวดล้า ชา เมื่อยน่อง และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ในกรณีที่นั่งเแล้วเท้าลอย ให้ใช้อุปกรณ์วางพักเท้าที่สามารถปรับระดับความสูงและปรับเอียงได้ เพื่อให้ระดับที่วางเท้าพอดีกับระยะเข่างอตั้งฉากหรือใกล้เคียงโดยไม่รู้สึกว่าต้องยกเข่าขึ้นสูงเกินไป จะช่วยลดการตึงตัวและความล้าของกล้ามเนื้อขา เสริมการไหลเวียนของระบบโลหิตให้ดีขึ้น

2.หยุดพัก

การหยุดพักทุกๆ ชั่งโมงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม ไม่ว่างานของคุณจะหนักแค่ไหนก็ตาม คุณก็ควรลุกออกจากโตีะทำงานหรือสเตชั่นของคุณอย่างน้อย 5 นาทีของทุกๆ ชั่วโมงเพื่อเป็นการปรับร่างกายของคุณเสียใหม่ ในช่วงเวลานี้คุณสามารถยืดกล้ามเนื้อ เดินเล่น หรือดื่มน้ำ อีกเรื่องคือระหว่างช่วงที่ทำงานที่ต้องใช้หน้าจอคุณควรละสายตาจากหน้าจอ 10 วินาทีของทุกๆ 15 นาที เพื่้อป้องกันความเสียหายของดวงตา

3.พักผ่อนให้เพียงพอ

การพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้คุณสามารถทำงานด้วยจิตใจที่ปลอดโปร่ง แจ่มใส และตระหนักถึงสิ่งรอบตัวมากยิ่งขึ้น กล้ามเนื้อของคุณจะผ่อนคลายมากขึ้นหลังจากที่คุณนอนหลับฝันดี 

4.นวดผ่อคลาย

การนั่งทำงานเป็นระยะเวลานานส่งผลให้ร่างกายและกล้ามเนื้อของเราตึงโดยที่เราไม่รู้ตัว โชคดีของประเทศไทยที่เราสามารถหาร้านนวดได้ไม่ยากนัก เลือกร้านนวดที่คุณชื่นชอบและลองจัดสรรเวลาไปนวดหลังจากช่วงเวลาของการทำงานที่ยาวนาน การนวดช่วยคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและช่วยลดความเครียด หลังจากนวดเสร็จคุณรู้สึกได้ถึงความผ่อนคลายและความสดชื่นตลอดทั้งสัปดาห์

5.เพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย

ภาวะขาดน้ำเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอช่วยให้เลือดในร่างกายไหลเวียนได้ดี สิ่งนี้ช่วยปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อของคุณได้จากการส่งพลังงานให้ความกล้า่มเนื้อของคุณอย่างเพียงพอ นอกจากนี้น้ำยังทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นสำหรับข้อต่อของคุณ ซึ่งช่วยป้องกันการอักเสบ ดังนั้นผมจะอยากแนะนำให้คุณดื่มน้ำในปริมาณขั้นต่ำ 1.5- 2 ลิตรต่อวันเพื่อปัองกันโรคออฟฟิศซินโดรมครับ

โรคออฟฟิศซินโดรม

วิธีรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

สำหรับคนที่มีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมมาอย่างยาวนาน การป้องกันอย่างที่ผมได้กล่าวมาอาจจะไม่ทันการ การปรึกษาแพษย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยทำการประเมินและรักษาได้อย่างถูกต้อง โดยปัจจุบันมีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1.การรักษาด้วยการฝั่งเข็ม

การฝั่งเข็มแบบตะวันตก เป็นการฝั่งเข็มเฉพาะจุดที่เป็นปมกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง ซึ่งเป็นบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงและก่อให้เกิดอาการปวด การฝั่งเข็มจะทำให้เกิดการคลายตัวของปมกล้ามเนื้อและมีการเรียงตัวใหม่ของใยกล้ามเนื้อ และฝั่งเข็มแบบตะวันออก เป็นการฝั่งเข็มเพื่อปรับสมดุลของร่างกาย ทั้งหยินและหยาง

2.รักษาด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า

เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) เป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้เครื่องมือในการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มากระตุ้นระบบประสาท ซึ่งการรักษาช่วยลดอาการปวด อาการชา และการอักเสบ จากการทำงานที่ผิดปกติของปลายประสาทให้ดีขึ้น

3.คลื่นกระแทกช็อคเวฟ

คลื่นกระแทกช็อคเวฟ (Shockwave Therapy) โดยใช้คลื่นกระแทกบนกล้ามเนื้อที่มีอาการปวด ช่วยลดอาการปวดและกระตุ้นเนื้อเยื่อให้มีการซ่อมแซมและสร้างเสริม โดยเฉพาะกรณีอาการปวดที่เรื้อรังของระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ

4.เครื่องเลเซอร์ความแรงสูง ( High intensity Laser therapy )

เครื่องเลเซอร์ความแรงสูง จะช่วยลดการอักเสบ และอาการปวดบริเวณตำแหน่งที่ปวดได้ และขณะให้การรักษาก็จะไม่มีอาการเจ็บบริเวณตำแหน่งที่ทำการรักษาด้วย จึงมักจะใช้ในระยะเฉียบพลันที่อาจจะมีอาการปวดค่อนข้างมาก

5.เทคโนโลยีจัดกระดูกสันหลัง

เทคโนโลยีจัดกระดูกสันหลังปัจจุบัน มีเตียงจัดกระดูกสันหลังที่หมุนได้สามมิติ เหมาะสำหรับรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดกระดูกของผู้ที่มีปัญหากระดูกสันหลังคด

6.การรักษาโดยใช้ความเย็นจัด

การรักษาโดยใช้ความเย็นจัด (Whole Body Cryotherapy หรือ Ice lab) เพื่อกระตุ้นให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายตอบสนองต่อความเย็นจัดถึง -110 C เป็นเวลา 3 นาที โดยกระตุ้นร่างกายให้ปรับตัวสู้กับความปวดและความเครียด

7.รักษาด้วยการครอบแก้ว

การครอบแก้ว ช่วยในการคลายกล้ามเนื้อที่มีอาการตึงตัว กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ด้วยวิธีใช้แก้วที่ภายในเป็นสูญญากาศครอบและเดินแก้วไปตามแนวของกล้ามเนื้อ จะให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เป็นการปรับการไหลของเลือดลมไม่ให้อุดตัน บรรเทาอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อหลัง กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ทำให้แข็งแรงและมีพละกำลังมากขึ้น

สรุป

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือสิ่งที่มาคู่กับการทำงานยิ่งต้องทำงานหนักอย่างต่อเนื่องยาวนานเท่าไหร่ โรคนี้ก็ไล่ตามคุณได้เร็วขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยเป็นข้อมูลสำหรับการประเมินอาการ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมการใช้ชีวิตเพื่อห่างไกลจากโรคนี้ครับ

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular